อนุรักษ์และส่งเสริมมรดกเพลงกวานเหาะริมฝั่งแม่น้ำเกิ่ว

(VOVworld) – เพลงพื้นเมืองกวานเหาะของเวียดนามได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติโดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกเมื่อปี 2009 ในเขตที่ราบลุ่มตอนเหนือริมฝั่งแม่น้ำเกิ่วในจังหวัดบั๊กยาง ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่มีบรรยากาศวัฒนธรรมพื้นเมืองที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ บรรดาศิลปินกวานเหาะทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายกำลังพยายามรักษาอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกนี้ให้คงอยู่ยั่งยืนในชีวิตสมัยใหม่


(VOVworld) – เพลงพื้นเมืองกวานเหาะของเวียดนามได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติโดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกเมื่อปี 2009 ในเขตที่ราบลุ่มตอนเหนือริมฝั่งแม่น้ำเกิ่วในจังหวัดบั๊กยาง ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่มีบรรยากาศวัฒนธรรมพื้นเมืองที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ บรรดาศิลปินกวานเหาะทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายกำลังพยายามรักษาอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกนี้ให้คงอยู่ยั่งยืนในชีวิตสมัยใหม่

อนุรักษ์และส่งเสริมมรดกเพลงกวานเหาะริมฝั่งแม่น้ำเกิ่ว - ảnh 1
ในตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านหิวหงิ มักจะได้ยินเสียงร้องเพลงทำนองพื้นเมืองกวานเหาะที่ไพเราะที่ดังมาจากบ้านหลังท้ายซอยในหมู่บ้าน

เมื่อถึงบ่ายวันเสาร์ทุกสัปดาห์ในตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านหิวหงิ อำเภอเหวียดเอียนมักจะได้ยินเสียงร้องเพลงทำนองพื้นเมืองกวานเหาะที่ไพเราะที่ดังมาจากบ้านหลังท้ายซอยในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นที่ชุมนุมของสมาชิกสโมสรการร้องเพลงกวานเหาะหมู่บ้านหิวหงิ ในวันธรรมดา สมาชิกแต่ละคนประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน เช่น บางคนเป็นเกษตรกร แม่ค้าพ่อค้าหรือข้าราชการที่เกษียณอายุแต่มีอย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือรักและหลงไหลในเพลงกวานเหาะเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อได้สวมใส่ชุดอ๊าวตื้อเทินหรือชุดเสื้อยาวสี่ส่วนและงอบกวายทาว ร้องเพลงโต้ตอบกัน พวกเขาก็ได้กลายเป็นฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่มีเสน่ห์ อ่อนช้อย คุณยายเหงียนถิโม อายุ 80 ปีเผยว่า เพราะเกิดและเติบโตในผืนแผ่นดินของเพลงกวานเหาะ ดังนั้นลีลาทำนองของเพลงพื้นเมืองนี้ได้ซึมซับเข้าในจิตใจเมื่อไหร่ก็ไม่รู้แต่ที่แน่นอนก็คือเธอสามารถร้องได้อย่างไพเราะเพราะพริ้ง“ตอนเป็นเด็ก ดิฉันตามไปดูพี่สาวร้องเพลงกวานเหาะ พี่ๆร้องอะไรฉันก็ร้องตาม แต่ในช่วงนั้นไม่มีสโมสร เดี๋ยวนี้มีแล้ว เพลงกวานเหาะทำนองโบราญ เช่น เหม่ยเจิ่วหรือเชิญกินหมากพลู โด๊ดดิ๋งญางเจิ่มหรือการจุดธูป เป็นต้น ยากกว่ากวานเหาะสมัยใหม่และมีความหมายอย่างลึกซึ้งมาก”

คุณยายเหงียนถิโมยิ้มอย่างมีความสุขพร้อมอธิบายว่า การร้องเพลงกวานเหาะต้องมีเทคนิกต้องมีพลังเสียงที่หนักแน่นและก้องกังวาล แต่ตอนนี้เธอแก่แล้วไม่สามารถร้องได้กังวาลเหมือนคนรุ่นใหม่แต่ก็พยายามมีส่วนร่วมอนุรักษ์เพื่อให้คนรุ่นหลังสืบทอดการร้องเพลงกวานเหาะนี้ต่อไป นายเจิ่นวันเท้ หัวหน้าสโมสรกล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า หิวหงิเป็น 1 ใน 5 หมู่บ้านกวานเหาะโบราณของอำเภอเหวียดเอียน และเป็น 1 ใน 49 หมู่บ้านในเขตกิงบั๊กที่ได้รับการรับรองจากยูเนสโกในครั้งแรก ทำนองและเนื้อร้องที่นี่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งมีการผสมระหว่างความสนุกสนานของเพลงแจ่วกับความไพเราะเสนาะโสตของเพลงวี้หยัม ความลุ่มลึกของเพลงกาจู่และความเป็นธรรมชาติของเพลงพื้นเมืองอื่นๆ แม้เพลงกวานเหาะสมัยใหม่จะร้องง่ายกว่า เนื้อร้องก็มีเนื้อหาที่ตรงไปตรงมาและมีดนตรีประกอบแต่ศิลปินในหมู่บ้านยังคงอนุรักษ์การร้องเพลงกวานเหาะแบบเดิม โดยพยายามสะสมและสืบทอดเพลงกวานเหาะโบราณให้แก่คนรุ่นหลัง ซึ่งช่วยให้สมาชิกในสโมสรหลายคนสามารถร้องเพลงโบราณได้มากถึงร้อยบท

อนุรักษ์และส่งเสริมมรดกเพลงกวานเหาะริมฝั่งแม่น้ำเกิ่ว - ảnh 2

ในหลายปีมานี้ นายเถกับภรรยาและศิลปินหลายคนในหมู่บ้านได้เปิดชั้นสอนให้แก่คนรุ่นหลังทุกเพศทุกวัยที่หลงไหลการร้องเพลงกวานเหาะ โดยเฉพาะเด็กๆและยังมีบางคนแม้ยังอ่านไม่ออกแต่ก็สามารถร้องตามบางบทได้แล้ว บางครอบครัวมี 3 ถึง 4 รุ่นสามารถร้องเพลงกวานเหาะได้ “คนรุ่นใหม่ในหมู่บ้านชอบการร้องและเข้าถึงความลึกซึ้งของกวานเหาะ พวกเขาสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ฟังสองสามครั้งก็สามารถร้องได้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม คนรุ่นใหม่ยังคงต้องพยายามฝึกฝนต่อไปเพื่อให้สามารถร้องได้ดีและยังเป็นผู้สานต่อ”

นอกจากนี้ ทางสโมสรยังร่วมกันร้องเพลงกวานเหาะกับหมู่บ้านใกล้เคียงและเข้าร่วมงานมหกรรมเพลงพื้นเมืองกวานเหาะระดับจังหวัดและประเทศ โดยเฉพาะศิลปินบางคนยังได้นำเพลงกวานเหาะไปแสดงในต่างประเทศอีกด้วย นายด่าวจ่องกา ประธานสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเหวียดเอียน จังหวัดบั๊กยาง ซึ่งเป็นศิลปินที่มีประสบการณ์ของอำเภอได้เผยว่า ในเวลาที่ผ่านมา ที่อำเภอได้เปิดการสอนร้องเพลงกวานเหาะกว่า 100 ชั้นเรียนเพื่อให้เพลงกวานเหาะคงอยู่ในชุมชนและกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป นายด่าวจ่องกาเผยว่า “ปัจจุบันนี้ ขบวนการร้องเพลงกวานเหาะได้ขยายผลแต่ก็ต้องพยายามให้เข้าสู่ส่วนลึกและมีคุณภาพ เน้นการร้องเพลงกวานเหาะโบราณ ต้องอนุรักษ์มรดกนี้พร้อมกับการพัฒนาการท่องเที่ยวของท้องถิ่นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้น”

ศิลปินรุ่นแล้วรุ่นเล่าที่อาศัยตามหมู่บ้านชนบทริมฝั่งแม่น้ำเกิ่วกำลังส่งต่อมรดกการร้องเพลงกวานเหาะเพื่อให้คนรุ่นหลังอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์อันล้ำค่านี้ของประชาชาติเวียดนาม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด