เพลงพื้นเมืองทำนองวี้และหยัมได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของมนุษยชาติ

( VOVWOworld )-เพลงพื้นเมืองทำนองวี้และหยัมของจังหวัดเหง่อานและห่าติ่งมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่มีใครรู้ แต่ทำนองและลีลาของเพลงพื้นเมืองเหล่านี้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและเป็นเครื่องมือสื่อสารความรักระหว่างหนุ่มสาวที่ยังคงพัฒนาจนถึงปัจจุบัน  เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพลงพื้นเมืองประเภทนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของมนุษยชาติ ซึ่งเป็นมรดกลำดับที่ ๙ ของเวียดนามที่ได้รับการรับรองจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือยูเนสโก



( VOVWOworld )-เพลงพื้นเมืองทำนองวี้และหยัมของจังหวัดเหง่อานและห่าติ่งมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่มีใครรู้ แต่ทำนองและลีลาของเพลงพื้นเมืองเหล่านี้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและเป็นเครื่องมือสื่อสารความรักระหว่างหนุ่มสาวที่ยังคงพัฒนาจนถึงปัจจุบัน  เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพลงพื้นเมืองประเภทนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของมนุษยชาติ ซึ่งเป็นมรดกลำดับที่ ๙ ของเวียดนามที่ได้รับการรับรองจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือยูเนสโก

เพลงพื้นเมืองทำนองวี้และหยัมได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของมนุษยชาติ - ảnh 1

เพลงพื้นเมืองทุกประเภทของเวียดนามมาจากการทำงานและการผลิต รวมทั้งเพลงพื้นเมืองวี้และหยัมด้วย  เพลงพื้นเมืองวี้และหยัมมักจะได้รับการร้องในงานของชุมชนชาวเหง่อานและห่าติ่งและซึมซับเข้าในหัวใจของพวกเขาจึงถือเป็นอัตลักษณ์ของชาวแคว้นเหง่ก็ว่าได้  โดยเริ่มแรกคำร้องและทำนองยังเรียบง่ายจากการร้องของสาวปั่นด้าย ขณะปลูกข้าวและทอผ้า เมื่อกาลเวลาผ่านไปเพลงพื้นเมืองทำนองวี้และหยัมก็พัฒนาในระดับที่สูงขึ้นทั้งด้านคำร้องที่สละสลวย ทำนองที่หวานซึ้งชวนฟัง   ศ.เจิ่นกวางห่าย ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีพื้นเมืองเวียดนาม  ท่านเป็นชาวเวียดนามที่กำลังอาศัยในฝรั่งเศสเห็นว่า ควรประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนเข้าใจคุณค่าและอัตลักษณ์ของเพลงพื้นเมืองวี้และหยัมมากขึ้น ศ.ห่ายกล่าวว่า  เรารู้จักร้องเพลงของค่ายหว่ายหรือผ้าและค่ายน้อนหรืองอบเท่านั้น ส่วนเพลงพื้นเมืองของจังหวัดเหง่อานและห่าติ่งนั้นไม่แพร่หลาย มีน้อยคนนักที่เข้าใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของเพลงพื้นเมืองวี้และหยัม  การร้องเพลงวี้และหยัมคือการร้องโต้ตอบกันที่มาจากกิจวัตรประจำวันและผูกพันกับชีวิตของชาวบ้านเช่น การทอผ้า การทำงอบและเกี่ยวข้าว  เพลงทำนองวี้และหยัมสะท้อนความหลากหลายด้านดนตรีพื้นเมืองของเวียดนามและสามารถใช้เครื่องดนตรีหลากหลายประเภทที่มีบันไดเสียง ๕ เสียง ๔ เสียงและ ๓ เสียง ซึ่งเป็นบันไดเสียงที่เป็นอัตลักษณ์ของเวียดนาม

วี้เป็นการร้องอิสระ คนร้องสามารถร้องยาวหรือสั้นแบบด้นสดๆ  เสียงสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับกลอนที่มีคำมากหรือน้อย  ส่วนหยัมเป็นการร้องที่มีจังหวะบังคับ  มีจังหวะหนักและเบา  การร้องหยัมนั้นเป็นการเล่าเรื่องในใจ การสั่งสอนและอธิบายเรื่องราว  และยังมีประเภทตลกเยาะเย้ย ตลอดจนประเภทร้องส่งความรักถึงกัน  การร้องเพลงพื้นเมืองวี้และหยัมไม่เหมือนกันแต่มักจะร้องในขณะทำงานและทำการผลิตต่างๆ ร้องในหมู่บ้านศิลปาชีพ ขณะว่างจากการทำนา ขณะพายเรือ เหวี่ยงแหริมแม่น้ำ เข้าป่าเก็บฟืนหรือในงานเทศกาลต่างๆ  ศ.เจิ่นกวางห่ายเปิดเผยต่อไปว่า คำร้องสะท้อนความสามารถของเวียดนามที่สามารถร้องเพลงโดยเนื้อร้องคือกลอนที่มีสัมผัสในและนอกหรือคำพังเพย

เพลงพื้นเมืองวี้และหยัมมีคุณค่าทางศิลปะแห่งมนุษยชาติจึงสามารถโน้มน้าวกรรมการที่เคร่งครัดของคณะกรรมการตรวจสอบเอกสารแห่งอนุสัญญาปี ๒๐๐๓  ตัวแทนของคณะกรรมการตรวจสอบเอกสารย้ำว่า มรดกนี้ตอบสนองมาตรฐานของยูเนสโกคือ มีพลังชีวิตแพร่หลายในชุมชนชาวเวียด ได้รับการปฏิบัติในกิจกรรมต่างๆในชีวิตเช่น การปลูกข้าว ทอผ้าและกล่อมลูก

เพลงพื้นเมืองทำนองวี้และหยัมได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของมนุษยชาติ - ảnh 2

นายมาร์ค จากอฟส์ ตัวแทนคณะเบลเยี่ยมซึ่งเป็นหนึ่งใน ๒๔ ประเทศสมาชิกของคณะกรรมการร่วมรัฐบาลของอนุสัญญาปี ๒๐๐๓ได้แสดงความคิดเห็นว่า “  มรดกของเวียดนามดีมาก ข้อมูลน่าสนใจที่มีคุณค่าพิเศษ  นี่คือเอกสารชุดสำคัญที่น่าศึกษาวิจัย ขอขอบคุณเวียดนาม

บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านมรดกเห็นว่า เพลงพื้นเมืองวี้และหยัมมีพลังชีวิตที่ยั่งยืนและเป็นความภาคภูมิใจของคนจังหวัดเหง่อานและห่าติ่ง คำร้องมาจากชีวิตจริงและเรียบง่ายดังนั้นการอนุรักษ์คงไม่ยากนักเหมือนศิลปะประเภทอื่นๆที่ถือเป็นศิลปะชั้นสูงและการแสดงก็ต้องเตรียมการอย่างพิถีพิถัน   ท่านเหงวียนชี้เบ่น อดีตหัวหน้าสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะเวียดนามและเป็นกรรมการสภามรดกแห่งชาติเห็นว่า การอนุรักษ์ต้องเริ่มจากศิลปินอาวุโสก่อน  “ มาตรการที่มีประสิทธิภาพคือ ศิลปินอาวุโส ท่านเหล่านี้จะเป็นคนอนุรักษ์มรดกนามธรรม ผู้เสพก็ต้องเป็นศิลปินอาวุโสและผู้สร้างสรรค์ผลงานก็คือศิลปินอาวุโสด้วย  การประกวดต้องสามารถเลือกศิลปินอาวุโสที่สามารถร้องเพลงเหล่านี้ได้  สิ่งที่สำคัญคือ ศิลปินอาวุโสเหล่านี้จะสอนให้แก่รุ่นหลังๆโดยใช้วิธีใหม่ๆคือบันทึกเสียงและภาพให้นักเรียนแทนการสอนปากต่อปากแบบเก่า  ”

ศ.เหงวียนชี้เบ่นเห็นว่า เวียดนามควรเรียนรู้ประสบการณ์ของประเทศต่างๆเช่นญี่ปุ่นในการอนุรักษ์มรดกนามธรรมคือ การออกใบอนุญาตและอำนวยความสะดวกให้บรรดาศิลปินอาวุโสในการประกอบอาชีพและสามารถดำรงชีพได้  ทั้งนี้จึงจะสามารถอนุรักษ์มรดกต่างๆไปสู่คนรุ่นต่อไปได้อย่างยั่งยืน ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด