แหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อยกับการผสมวัฒนธรรมในยุคต่างๆ

(VOVWORLD) - แหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อยประกอบด้วยบ๋ายก๋อย บ๋ายหล่อยและบ๋ายโฟยโฟ้ยในตำบลซวนเวียน อำเภองีซวน จังหวัดห่าติ๋ง ที่นี่เป็นแหล่งฝังศพโบราณที่มีลักษณะพิเศษของเวียดนามเพราะมีหลักฐานเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในช่วงก่อนคริสตกาล

แหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อยกับการผสมวัฒนธรรมในยุคต่างๆ - ảnh 1สิ่งของวัตถุที่ขุดค้นในแหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อย

 

 แหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อยตั้งอยู่ที่บริเวณเนินทรายของภูเขาห่งหลิงและอยู่ใกล้แม่น้ำลา ซึ่งเป็นเส้นแบ่งทางธรรมชาติระหว่างจังหวัดเหงะอานกับจังหวัดห่าติ๋ง เป็นแหล่งฝังศพขนาดใหญ่ที่รวมรูปแบบการฝังศพ 2 รูปแบบคือการฝังกลบในดินในยุควัฒนธรรมดงเซินและการฝังในโลงไหยุควัฒนธรรมซาหวิ่ง สุสานแห่งนี้สร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล โดยจุดเด่นของแหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อยคือมีการค้นพบสิ่งของวัตถุในยุควัฒนธรรมดงเซินในสุสานไหแบบซาหวิ่งและยังพบสิ่งของวัตถุที่เป็นเอกลักษณ์ยุควัฒนธรรมซาหวิ่งในหลุมฝังศพแบบกลบดินยุคดงเซิน นาย เจิ่นฟีกง รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ห่าติ๋งได้เผยว่า“ตามนักโบราณคดี แหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อยและบ๋ายหล่อยมีอายุตั้งแต่ 2000-2500ปี โดยที่บ๋ายก๋อย มีการผสมระหว่างวัฒนธรรมดงเซินและวัฒนธรรมซาหวิ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นจากสิ่งของวัตถุที่ค้นพบ เช่น ขันเซรามิกของวัฒนธรรมซาหวิ่งที่มีลวดลายของวัฒนธรรมดงเซิน หรือ ขันเซรามิกสลักลวดลายวัฒนธรรมดงเซินแต่เป็นเครื่องปั้นดินเผาของยุควัฒนธรรมซาหวิ่ง ”

ไหดินเผาที่ค้นพบในแหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อยมีรูปลูกท้อและรูปไข่ มีขนาดเล็กกว่าไหดินเผาเคลือบที่ค้นพบในแหล่งโบราณคดียุควัฒนธรรมซาหวิ่งในท้องถิ่นต่างๆและมีลักษณะเหมือนไหดินเผาเคลือบที่ค้นพบในแหล่งโบราณคดีก่อโวยในจังหวัดกว๋างนามและโด่นหร่างในจังหวัดเถื่อเทียนเว้ สำหรับฝาปิดมีรูปแบบต่างๆที่หลากหลาย เช่น รูปกรวยและรูปฝาชี เป็นต้น สำหรับการฝังศพในไหขนาดใหญ่นั้น มีการค้นพบสิ่งของวัตถุต่างๆที่ฝังตามผู้ตาย รวมทั้งเถ้ากระดูกในไหบางอัน นาย เหงวียนแหมงทั้ง หัวหน้าแผนกวิจัยแหล่งโบราณคดีของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งเข้าร่วมโครงการขุดค้นในแหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อยได้เผยว่า“การค้นพบไหและฝาปิดในบริเวณแหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อยทำให้ความเข้าใจเกี่ยวกับเส้นแบ่งและแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมดงเซินและวัฒนธรรมซาหวิ่งเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจากการขุดค้นครั้งที่สาม สามารถยืนยันได้ว่า กลุ่มชาวซาหวิ่งห์ได้เดินทางมาตั้งถิ่นฐานก่อนและได้รับการผสมผสานกับวัฒนธรรมดงเซินในเขตใกล้เคียง วัฒนธรรมดงเซินและวัฒนธรรมซาหวิ่งมีอายุตั้งแต่ 2000-2500ปี”

แหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อยกับการผสมวัฒนธรรมในยุคต่างๆ - ảnh 2การจำลองหลุมฝังศพ 

หลุมฝังศพมีรูปแบบการฝังดินในยุควัฒนธรรมดงเซิน ที่แหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อย หลุมฝังศพมีอายุน้อยกว่าสุสานไห โดยใช้เศษเซรามิกเพื่อวางรอบศพและยังมีการฝังของใช้ของผู้ตาย นี่คือวิธีการฝังศพที่คล้ายกับที่แหล่งโบราณคดีในหมู่บ้านหวากในจังหวัดเหงะอาน ซึ่งอยู่ใกล้แหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อยและเป็นแหล่งโบราณคดีทางน้ำของวัฒนธรรมดงเซิน เครื่องเคลือบดินเผาที่ถูกฝังไปพร้อมกับผู้ตายนั้นมีเอกลักษณ์วัฒนธรรมดงเซิน รวมทั้งโถ หม้อและชามที่เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมซาหวิ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและการแลกเปลี่ยนระหว่างชาวซาหวิ่งห์กับชาวดงเซินในแหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อย นาย เหงวียนวันดว่าน ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติได้กล่าวถึงข้อใหม่ในโครงการวิจัยแหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อยว่า“นับเป็นครั้งแรกที่ค้นพบร่องรอยวัฒนธรรมซาหวิ่ง ซึ่งอาจมีถิ่นกำเนิดที่จังหวัดห่าติ๋งแต่ไม่มีหลักฐานรับรองอย่างชัดเจน  แหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อยตั้งอยู่ในเขตรอยต่อที่มีการแลกเปลี่ยนระหว่างวัฒนธรรมดงเซินกับวัฒนธรรมซาหวิ่ง ซึ่งเป็นจุดเด่นด้านวัฒนธรรมและสะท้อนให้เห็นจากรูปแบบการฝังศพและสิ่งของวัตถุต่างๆที่ฝังตามผู้ตาย ที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของชาวซาหวิ่งห์และชาวดงเซิน ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่การสร้างสรรค์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติเวียดนาม”

การขุดค้นในแหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อยได้รับการปฏิบัติมาเป็นเวลาหลายปี บรรดานักโบราณคดีได้เผยว่า ในเวลาข้างหน้า ต้องขยายงานดังกล่าวเพื่อทำการวิจัยแหล่งโบราณคดีแห่งนี้อย่างสมบูรณ์ สิ่งของวัตถุที่ขุดค้นได้จากแหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อยกำลังถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติในกรุงฮานอยและจะนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ห่าติ๋งในเดือนพฤษภาคมปี 2021 ซึ่งด้วยคุณค่าวัฒนธรรมที่หลากหลายและโดดเด่น เมื่อปี 2014 กระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวได้รับรองแหล่งโบราณคดีบ๋ายก๋อยให้เป็นเขตโบราณสถานระดับชาติ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด