1ปีแห่งการควบคุมภาวะเงินเฟ้อในเวียดนาม

การควมคุมภาวะเงินเฟ้อถือเป็นเป้าหมายหลักในการบริหารเศรษฐกิจมหภาคของ รัฐบาลเวียดนามในปี 2011 ซึ่งถึงแม้ภาวะเงินเฟ้อจะสูงกว่าร้อยละ 18.5มากกว่าเป้าหมายที่รัฐสภาได้วางไว้เเต่ถ้ามองอย่างละเอียดถี่ถ้วนก็จะพบว่า ในช่วงปลายปี อัตราเงินเฟ้อได้เริ่มลดลงและเศรษฐกิจเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น
            ภาวะเงินเฟ้อเริ่มรุนแรงมากขึ้นนับตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2010 ซึ่งดัชนีผู้บริโภคหรือซีพีไอได้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมปี 2010 และในตลอด 5 เดือนก่อนหน้านั้น ตัวเลขดังกล่าวเฉลี่ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.3 เท่านั้น  ส่วนใน 4 เดือนแรกของปี 2011 ซีพีไอได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเดือนเมษายนได้เพิ่มถึงร้อยละ 9.64 ซึ่งถือว่ามากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2008 ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อในปี 2011 ให้อยู่ที่ร้อยละ 7 ได้ ดังนั้นจึงได้มีการปรับอัตราควบคุมเงินเฟ้อใหม่ให้อยู่ที่ร้อยละ 11.75 ถึงไม่เกินร้อยละ 15 แต่พอถึงเดือนสิงหาคมปี 2011 ซีพีไอได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15.68 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 18     จากสถานการณ์ดังกล่าว ดร. Vu Dinh Anh หัวหน้าสถาบันวิจัยการตลาดและราคา สังกัดกะทรวงคลังเวียดนามได้วิเคราะห์ว่า “ เราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการควบคุมภาวะเงินเฟ้อให้อยู่ที่ร้อยละ 7 หรือไม่เกินร้อยละ15 ได้เนื่องจากขาดประสิทธิภาพในการพยากรณ์  ซึ่งทำให้เราต้องปรับดัชนีดังกล่าวให้สอดคล้องกับความเป็นจริงอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าเราได้ปฏิบัติมาตรการที่รัดกุมนับตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธุ์แล้ว แต่ก็ไม่สามารถเห็นผลอย่างทันทีเนื่องจากต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการปฏิบัตินโยบายควบคุมภาวะเงินเฟ้อ
            1ปีแห่งการควบคุมภาวะเงินเฟ้อในเวียดนาม - ảnh 1

              ในสภาวการณ์ที่ต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงและความไร้เสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธุ์ รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศมติที่ 11 ว่าด้วยการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ปรับเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาคและรักษาสวัสดิการสังคม  โดยควบคุมเงินเฟ้อด้วยการใช้มาตรการที่รัดกุมในด้านการเงินและนโยบายการคลัง ซึ่งได้แก่ การลดเป้าหมายการเพิ่มสินเชื่อของระบบเศรษฐกิจจากร้อยละ 30 ในปีที่แล้วให้เหลือเพียงร้อยละ 20 และเป็นร้อยละ 12 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 15 ปี ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ก็อยู่ในระดับสูง คือร้อยละ 20 ถึง 25 ต่อปี  การใช้มาตรการที่รัดกุมดังกล่าวได้ช่วยให้การควบคุมภาวะเงินเฟ้อมีประสิทธิภาพ ซึ่งดัชนีซีพีไอได้ลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมและใน 4 เดือนสุดท้ายของปี 2011 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นต่ำกว่าร้อยละ 1 เท่านั้น  นาย Le Dang Doanh ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจเผยว่า “ถ้าหากมองผลการควบคุมภาวะเงินเฟ้อในตลอด 1 ปีที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่า มติที่ 11 ของรัฐบาลได้วางแนวทางอย่างถูกต้องจึงทำให้การควบคุมภาวะเงินเฟ้อประสบผลสำเร็จเป็นที่น่ายินดี โดยเฉพาะในด้านการเงินและสินเชื่อ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องควบคุมการลงทุนภาครัฐ การบริหารสถานประกอบการภาครัฐและการใช้จ่ายภาครัฐให้ประหยัดและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยกระดับประสิทธิภาพในการลงทุนเพื่อลดผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ

           1ปีแห่งการควบคุมภาวะเงินเฟ้อในเวียดนาม - ảnh 2

            แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรลุเป้าหมายการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ เวียดนามจำเป็นต้องลดอัตราจีดีพีจากร้อยละ 7 เหลือร้อยละ 6 และต้องรับมือกับปัญหาต่างๆ เช่น การใช้นโยบายที่รัดกุมในด้านสินเชื่อและการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยธนาคาร ซึ่งจะส่งผลให้สถานประกอบการประสบความลำบาก ส่วนองค์กรสินเชื่อก็ต้องรับมือปัญหาหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นและสภาพคล่องที่ลดลง  ในการวิเคราะห์การบริหารนโยบายมหภาคในปี 2011 ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจหลายคนเห็นว่า การควบคุมภาวะเงินเฟ้อได้กลายเป็นภาระอันหนักหน่วงของนโยบายการเงิน จึงต้องปฏิบัติอย่างระมัดระวัง ส่วนนโยบายการคลังก็ยังขาดประสิทธิภาพและไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ นาย Sanjay Kalra ตัวแทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ประจำเวียดนามเสนอว่า ควรมีการประสานอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างนโยบายการเงินกับนโยบายการคลังเพื่อสามารถบรรลุเป้าหมายการควบคุมภาวะเงินเฟ้อและปรับเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคในระยะกลางและระยะยาว “ มติที่ 11 ของรัฐบาลเวียดนามได้รับการปฏิบัติไปแล้วและสามารถรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคได้ แต่ผมคิดว่า รัฐบาลเวียดนามควรมีนโยบายที่เข้มแข็งมากขึ้นและต้องประสานนโยบายการเงินกับนโยบายการคลังเข้าด้วยกันเพื่อลดรายจ่ายภาครัฐ สร้างความสมดุลของการชำระเงินและรักษาอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในปัจจุบัน  นอกจากนี้ ต้องบริหารนโยบายการคลังทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว

            ถึงแม้ว่า อัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้แต่การลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงปลายปีได้เป็นนิมิตหมายให้แก่การบรรลุเป้าหมายการควบคุมภาวะเงินเฟ้อของรัฐบาลเวียดนามในปีต่อๆไป รวมทั้งการควบคุมเงินเฟ้อในปี 2011 ให้อยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 10 แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญยังแสดงความคิดเห็นว่า เพื่อปรับความมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคและควบคุมภาวะเงินเฟ้ออย่างยั่งยืน เวียดนามไม่เพียงแต่ต้องปฏิบัติมาตรการควบคุมภาวะเงินเฟ้ออย่างสมบูรณ์เท่านั้น หากยังต้องปฏิบัติมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออีกด้วย โดยต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวดต่อการลงทุนภาครัฐและการใช้เงินลงทุนดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด./.

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด