AMM 55: สามัคคี มีความรับผิดชอบในความร่วมมือและรักษาบทบาทการเป็นศูนย์กลาง

(VOVWORLD) - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหรือ AMM ครั้งที่ 55 กำลังมีขึ้น ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา นอกจากการยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามแผนการสร้างสรรค์ประชาคมและวิสัยทัศน์อาเซียนหลังปี 2025 แล้ว อาเซียนยังส่งเสริมความรับผิดชอบ ธำรงความสามัคคีและรักษาบทบาทการเป็นศูนย์กลางในความร่วมมือ สร้างสรรค์และรักษาสันติภาพ
AMM 55: สามัคคี มีความรับผิดชอบในความร่วมมือและรักษาบทบาทการเป็นศูนย์กลาง - ảnh 1บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน

 

บนเจตนารมณ์ "การปฏิบัติงานของอาเซียน: รับมือความท้าทายร่วมกัน" นอกเหนือจากความร่วมมือภายในกลุ่มแล้ว การประชุม AMM ครั้งที่ 55 ยังเน้นรับมือความท้าทายร่วมกันในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในภูมิภาคและโลกกำลังมีความผันผวนอย่างซับซ้อนและคาดเดาไม่ได้

ทัศนะของอาเซียนเกี่ยวกับปัญหาระดับภูมิภาคและโลก

ในเวลาที่ผ่านมา อาเซียน รวมทั้ง แต่ละประเทศสมาชิกได้กำหนดเรื่องการวางตัวเป็นกลางและถือผลประโยชน์ของอาเซียนเป็นหลัก ด้วยทัศนะที่ชัดเจนดังกล่าว อาเซียนจึงมีจุดยืนของตนเองในปัญหาระดับภูมิภาคและโลกอยู่เสมอ ในความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนต่างๆ อาเซียนเสนอให้หุ้นส่วนใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบของความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในทุกด้านอย่างเต็มที่ ร่วมมือกับอาเซียนเพื่อสร้างสรรค์ประชาคม และมุ่งมั่นเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน หุ้นส่วนเสนอมาตรการความร่วมมือที่กว้างขวางและหลากหลายเพื่อช่วยให้อาเซียนสร้างสรรค์ประชาคม เร่งฟื้นฟูและมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในจำนวนความคิดริเริ่มเหล่านี้ในเวลาผ่านมาได้ปรากฏเนื้อหาเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาว เช่น การแลกเปลี่ยนทางการค้า ความเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค การลดช่องว่าง นวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล พลังงาน การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาแห่งสีเขียวและยั่งยืน อีกทั้ง ประเทศต่างๆ ได้กล่าวถึงมาตรการที่กำลังดำเนินการอยู่ เช่น ความร่วมมือด้านสาธารณสุข ความมั่นคงทางทะเล การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ และความมั่นคงทางอินเตอร์เน็ต

ในการประชุมครั้งนี้ จากปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น อาเซียนได้ยืนยันอีกครั้งถึงทัศนะที่เสมอต้นเสมอปลาย เกี่ยวกับปัญหาทะเลตะวันออก เมียนมาร์ ยูเครน คาบสมุทรเกาหลีและความตึงเครียดระหว่างประเทศใหญ่ๆ อาเซียนยืนยันอีกครั้งถึงทัศนะและเรียกร้องให้ทุกฝ่ายให้ความเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ กฎบัตรสหประชาชาติ อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปีหรือ UNCLOS 1982 และสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ TAC ประเทศและฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องธำรงการสนทนา สร้างความไว้วางใจ ถือสันติภาพเป็นเป้าหมาย ให้ความเคารพกฎหมาย ใช้ความอดกลั้น หลีกเลี่ยงไม่ปล่อยให้ความขัดแย้งบานปลายจนกลายเป็นการปะทะ อาเซียนยังได้ร่วมกับหุ้นส่วนในการดำเนินกิจกรรมเพื่อปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อเกี่ยวกับเมียนมาร์ กระบวนการจัดทำหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายหรือซีโอซีเพื่อมุ่งสู่การสร้างสรรค์ทะเลตะวันออกให้กลายเป็นทะเลแห่งสันติภาพ เสถียรภาพ ร่วมมือและพัฒนา

อาเซียนได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวในช่องแคบไต้หวัน แสดงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของความไร้เสถียรภาพ ผลกระทบที่ร้ายแรงและคาดเดาไม่ได้ต่อภูมิภาค โดยเรียกร้องให้ใช้ความอดกลั้นอย่างเต็มที่ ปฏิบัติตามหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติและ TAC ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ยืนยันอีกครั้งถึงการสนับสนุนนโยบาย “ประเทศจีนเดียว” ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือ การอยู่ร่วมกันอย่างสันติและการแข่งขันที่โปร่งใสเพื่อเป้าหมายสันติภาพ ความมั่นคง เสถียรภาพ การพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน

AMM 55: สามัคคี มีความรับผิดชอบในความร่วมมือและรักษาบทบาทการเป็นศูนย์กลาง - ảnh 2พิธีลงนามในเอกสารขยายวงศ์ TAC สำหรับเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และกาตาร์ (dangcongsan.vn)

อาเซียนยืนหยัดความสามัคคีและสร้าง "แบรนด์"

สามารถยืนยันได้ว่า อาเซียนเป็นหุ้นส่วนที่ขาดไม่ได้ในฟอรัมพหุภาคีระดับสูงในภูมิภาค บทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนยังคงได้รับการให้ความเคารพเสมอ อาเซียนและหุ้นส่วนสนทนาที่สำคัญ เช่น สหรัฐ จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้จัดตั้งช่องทางการเจรจาสุดยอดทวิภาคีหรือ ASEAN+1 ซึ่งหุ้นส่วนต่าง ๆ ได้ให้การรับรองบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในกลไกความร่วมมือในภูมิภาค ล่าสุด ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐ ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน ได้ยืนยันว่า การประชุมนี้เป็น "เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์" ซึ่งจะเปิด "ศักราชใหม่" ให้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่าย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิธีการเข้าถึงและวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมของวอชิงตันต่ออาเซียน ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้ยืนยันอีกครั้งถึงคำมั่นที่จะสนับสนุนและให้ความเคารพบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน มีความประสงค์ที่จะร่วมมือกับอาเซียนเพื่อยกระดับความสัมพันธ์หุ้นส่วนขึ้นสู่ระดับใหม่และร่วมมือแก้ไขความท้าทายที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ กลไกที่นำโดยอาเซียน เช่น ฟอรั่มภูมิภาคอาเซียนหรือ ARF ความร่วมมืออาเซียน+3 การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกหรือ EAS การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนขยายวงหรือ ADMM+ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนขยายวงหรือ ADMM+ ฟอรั่มความมั่นคงทางทะเลแห่งอาเซียนขยายวงหรือ EAMF โดยมีการเข้าร่วมของประเทศที่มีผลประโยชน์ในภูมิภาคต่างรับทราบถึงบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน

หลักการฉันทามติมีบทบาทสำคัญเป็นอันดับต้นๆต่อกระบวนการจัดตั้งและพัฒนาของอาเซียน และเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับความร่วมมือของอาเซียนในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์และการมีเสียงพูดเดียวกันได้สร้างจุดเด่นให้แก่อาเซียนในเรื่องของความร่วมมือที่เข้มแข็ง ช่วยให้อาเซียนกลายเป็นแรงผลักดันสำหรับความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค การประชุม AMM ครั้งที่ 55 ยังคงส่งเสริมความรับผิดชอบ ธำรงความสามัคคีและรักษาบทบาทการเป็นศูนย์กลางในความร่วมมือ การสร้างสรรค์และการรักษาสันติภาพ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด