COC คือมาตรการแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออกอย่างสันติ
Huyền VOV5 -  
(VOVworld) – การจัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือ COCระหว่างอาเซียนกับจีนกำลังมีสัญญาณที่น่ายินดีโดยเมื่อเร็วๆนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองฝ่ายได้พบปะกัน ณ ประเทศไทยและต่างยืนยันถึงความตั้งใจที่จะเริ่มกระบวนการนี้โดยเร็ว แต่ประชามติเห็นว่า ต้องใช้เวลานาน เอกสารทางนิตินัยฉบับนี้จึงจะได้กลายเป็นความจริง
(VOVworld) – การจัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือ COCระหว่างอาเซียนกับจีนกำลังมีสัญญาณที่น่ายินดีโดยเมื่อเร็วๆนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองฝ่ายได้พบปะกัน ณ ประเทศไทยและต่างยืนยันถึงความตั้งใจที่จะเริ่มกระบวนการนี้โดยเร็ว แต่ประชามติเห็นว่า ต้องใช้เวลานาน เอกสารทางนิตินัยฉบับนี้จึงจะได้กลายเป็นความจริงและเป็นการเริ่มต้นสำคัญในกระบวนการแสวงหามาตรการความมั่นคงในทะเลตะวันออกที่มีการผันผวนอย่างซับซ้อนในเวลาที่ผ่านมา
|
COC คือมาตรการแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออกอย่างสันติ ( Photo:Internet ) |
ล่าสุดเมื่อวันที่๓๐ตุลาคมในแถลงการณ์ภายหลังการประชุมอย่างไม่เป็นทางการก่อนการประชุมผู้นำอาเซียน บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอาเซียนและจีนต่างยืนยันถึงความสำคัญของการปฏิบัติแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆในทะเลตะวันออกหรือDOCที่ได้รับการอนุมัติเมื่อปี๒๐๐๒อย่างเคร่งครัดและร่วมกันพยายามเริ่มการหารือเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือCOC ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว หัวหน้าคณะตัวแทนประเทศเจ้าภาพไทยเผยว่า ทุกฝ่ายได้มีความเห็นพ้องกันและมีความสนใจร่วมกันในการผดุงรักษาสันติภาพ และเสถียรภาพในทะเลตะวันออกเพราะความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีนไม่เพียงแต่นำมาซึ่งผลประโยชน์ให้แก่ทั้งสองฝ่ายเท่านั้นหากยังเป็นเสาหลักสำคัญให้แก่สันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคอีกด้วย ส่วนเมื่อวันที่๓๐ตุลาคม ท่านสุรินทร์ พิศสุวรรษ เลขาธิการอาเซียนได้ยืนยันว่า ทั้งจีนและอาเซียนกำลังพยายามหาทางคลี่คลายความตึงเครียดลงอย่างรวดเร็วหลังจากที่เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมเนื่องจากปัญหาทะเลตะวันออกซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ๔๕ปีการก่อตั้งองค์กรนี้ ดังนั้น ขณะนี้จึงถือเป็นโอกาสเพื่อให้อาเซียนผลักดันการเจรจาCOC กับจีนเพื่อวางระเบียบการผดุงรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ก่อนหน้านั้น รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ก็ได้ย้ำว่า ความเห็นพ้องในการเริ่มการเจรจาCOC เป็นการเริ่มต้นที่ดี เป็นประโยชน์ และแสดงให้เห็นถึงความพยายามของทุกฝ่ายต่อการแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออกอย่างสันติ ปัจจุบัน บรรดาประเทศอาเซียนได้เสร็จสิ้นการเตรียมพร้อมสำหรับCOC แล้วและเตรียมนำไปหารือกับจีน ต่อจากนั้นจะยื่นเสนอให้ที่ประชุมผู้นำอาเซียนพิจารณาซึ่งจะจัดขึ้น ณ ประเทศกัมพูชาในปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ แนวคิดเกี่ยวกับCOCของภูมิภาคได้ถูกระบุในแถลงการณ์อาเซียนปี๑๙๙๒ แต่ต้องเสียเวลา๑๐ปีเพื่อทำการรณรงค์ และเจรจา มาจนถึงปี๒๐๐๒ ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและจีนจึงสามารถอนุมัติDOCและต้องใช้เวลาอีกเกือบ๑๐ปีคือเดือนกรกฎาคมปี๒๐๑๑ ในการประชุม ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและจีนได้อนุมัติหลักการปฏิบัติDOCซึ่งแม้ว่านี่ถือเป็นก้าวพัฒนาในกระบวนการควบคุมการพิพาทแต่DOCไม่สามารถป้องกันความตึงเครียดในทะเลตะวันออกได้เพราะ แต่ไหนแต่ไรมา ทะเลตะวันออกมีความสำคัญเป็นพิเศษในด้านเศรษฐกิจ สถานะยุทธศาสตร์ต่อประเทศต่างๆในภูมิภาคและปัจจุบันมีความสำคัญเกินขอบเขตภูมิภาคและสร้างความสนใจให้แก่หลายประเทศ เนื่องจากเป็นเขตทะเลแห่ง“ทองคำ”ดังนั้นทะเลตะวันออกจึงมีความล่อแหลมต่อความไร้เสถียรภาพที่อาจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาถ้าหากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่สนใจต่อกฏหมายสากลและขาดความเคารพประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ ต้องทำอย่างไรเพื่อให้ทะเลตะวันออกกลายเป็นเขตทะเลที่สันติภาพและความร่วมมือซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เพียงแต่ประเทศที่มีทะเลและไม่มีทะเลในภูมิภาคให้ความสนใจเท่านั้นหากรวมทั้งประเทศที่มีผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
จากการปฏิบัติDOCใน๑๐ปีที่ผ่านมา ตัวDOCได้แสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่องเพราะนี่มิใช่สนธิสัญญาสากลและไม่มีความผูกพันทางนิตินัยแต่เป็นเพียงพันธกรณีทางการเมืองระหว่างประเทศต่างๆเท่านั้นอีกทั้งไม่มีระเบียบการปฏิบัติที่เคร่งครัด ดังนั้น ความประสงค์ที่จะมีเอกสารที่มีความผูกพันทางนิตินัยที่สูงกว่าเพื่อแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออกจึงเป็นความต้องการที่แน่นอนระหว่างประเทศอาเซียนกับจีนในระยะปัจจุบัน อย่างไรก็ดี บรรดาผู้สันทัดกรณีเห็นว่า เพื่อให้การเจรจาเกี่ยวกับCOCก้าวไปสู่ผลสำเร็จจำเป็นต้องมีกระบวนการสร้างความเชื่อใจในระยะยาวของทั้งสองฝ่าย อีกทั้งอาเซียนและจีนควรมีความเห็นพ้องกันในปัญหาใหญ่๓ประการคือ การกำหนดเขตพิพาทและไม่พิพาท มีข้อกำหนดที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับปฏิบัติการที่ต้องห้าม กลไกการตรวจสอบและการแก้ไขการพิพาท ส่วนการแก้ไขอุปสรรคในการจัดทำร่างCOC จำเป็นมีความร่วมมือของทุกฝ่ายที่มีผลประโยชน์ในทะเลตะวันออกบนพื้นฐานของกฏหมายสากล รวมทั้งอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฏหมายทางทะเลปี๑๙๘๒ ถ้าทุกฝ่ายไม่สามารถเห็นพ้องกันในเนื้อหาเหล่านี้ได้ COC ก็ยังคงเป็นแค่พันธกรณีทางการเมืองเหมือนDOCเท่านั้น ปีนี้ อาเซียนและจีนฉลองครบรอบ๑๕ปีการสถาปนาความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนซึ่งประชามติตั้งความหวังว่า ทั้งสองฝ่ายควรมีการเริ่มต้นเพื่อออกแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการจัดทำCOCโดยเร็วเพื่อยื่นเสนอต่อการประชุมผู้นำอาเซียนที่จะจัดขึ้น ณ ประเทศกัมพูชาในเร็วๆนี้ซึ่งเป็นก้าวเดินที่สำคัญเพื่อมุ่งสู่สันติภาพอย่างถาวรในทะเลตะวันออก./.
Huyền VOV5