COP-21 ยังไม่สามารถตกลงกันเกี่ยวกับหน้าที่ สิทธิผลประโยชน์ก่อนโค้งสุดท้าย

(VOVworld)การประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 21 หรือ COP 21 ที่มีขึ้น ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายนกำลังย่างเข้าสู่โค้งสุดท้าย ถึงแม้ได้มีสัญญาณที่น่ายินดี แต่ 195 ประเทศต้องปล่อยวางผลประโยชน์ของตนก่อนเพื่อบรรลุข้อตกลงร่วมกันในวันที่ 11 ธันวาคม 


(VOVworld) – การประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 21 หรือ COP 21 ที่มีขึ้น ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายนกำลังย่างเข้าสู่โค้งสุดท้าย ถึงแม้ได้มีสัญญาณที่น่ายินดี แต่ 195 ประเทศต้องปล่อยวางผลประโยชน์ของตนก่อนเพื่อบรรลุข้อตกลงร่วมกันในวันที่ 11 ธันวาคม 

COP-21 ยังไม่สามารถตกลงกันเกี่ยวกับหน้าที่ สิทธิผลประโยชน์ก่อนโค้งสุดท้าย - ảnh 1
บรรดาผู้นำของประเทศที่เข้าร่วมการประชุม COP21 (Reuters)

หลังจากประชุมมาเป็นเวลากว่า 9 วันจนถึงขณะนี้ก็เริ่มมีสัญญาณที่น่ายินดีหลายอย่างในการประชุมโดย 195 ประเทศได้เห็นพ้องที่จะอนุมัติร่างเอกสารเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์หลังจากยื่นเสนอต่อที่ประชุม COP 17 ณ เมือง ดูร์บาน ประเทศแอฟริกาใต้เมื่อกว่า 4 ปีก่อน แต่ร่างเอกสารฉบับนี้จะไม่สามารถยืนยันถึงอนาคตที่สดใสมากกว่านี้ให้แก่มนุษยชาติได้ถ้าหากในวันสุดท้ายของการประชุม COP 21 ในวันที่ 11 ธันวาคม ทุกประเทศไม่สามารถจัดทำข้อตกลงที่มีความผูกมัดทางนิตินัยในระยะยาวได้

ปัญหาที่ร้อนแรง
ร่างข้อตกลงที่ได้บรรลุได้ยืนยันว่าจะควบคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้ร้อนเกิน 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมแต่สิ่งที่สำคัญคือข้อตกลงต้องมีความผูกมัดเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวและมีความยุติธรรมต่อทั้ง 195 ประเทศในขณะที่ปริมาณการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกระหว่างประเทศต่างๆยังคงมีความแตกต่างกันมาก ตลอดจนระดับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและประเทศยากจน ดังนั้น ต้องแสวงหามาตรการเพื่อปฏิบัติเป้าหมายนี้
ปัญหาที่สร้างความขัดแย้งอันยิ่งใหญ่ในการประชุมครั้งนี้ ตลอดจนทำให้การประชุมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่สหประชาชาติเป็นผู้จัดขึ้นตั้งแต่ปี 1995 จนถึงปัจจุบันไม่สามารถประสบผลได้ก็คือความขัดแย้งเกี่ยวกับสิทธิผลประโยชน์และหน้าที่ระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและประเทศที่ยากจน หน้าที่การสมทบเงินของประเทศต่างๆ ปัญหาเงินช่วยเหลือประเทศยากจนเพื่อต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและข้อเรียกร้องของประเทศที่กำลังพัฒนาที่อยากได้สิทธิ์ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าประเทศที่ร่ำรวยเพื่อเป้าหมายการขยายตัวด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ประเทศยากจนยังเรียกร้องให้ประเทศที่ร่ำรวยต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนเพราะได้ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจนับตั้งแต่หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมเพื่อสร้างความร่ำรวยให้แก่ประเทศตน ในขณะเดียวกัน สหรัฐและประเทศพัฒนาได้แสดงความเห็นว่า เศรษฐกิจที่เพิ่งเกิดใหม่ เช่นจีนต้องมีปฏิบัติการมากขึ้นเพราะประเทศเหล่านี้กำลังใช้ปริมาณเชื้อเพลิงฟอสซิลในระดับสูงเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วของตน
COP-21 ยังไม่สามารถตกลงกันเกี่ยวกับหน้าที่ สิทธิผลประโยชน์ก่อนโค้งสุดท้าย - ảnh 2
กรุงปักกิ่งกำลังต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม

ต่องเร่งทำเลย
ปัจจุบัน ประชาคมโลกกำลังพยายามจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงกว่า 2 องศาเซลเซียสก่อนปลายศตวรรษนี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันว่า ถ้าไม่สามารถควบคุมระดับอุณหภูมินี้ได้ โลกจะต้องเผชิญกับภัยพิบัติที่รุนแรงและไม่สามารถแก้ไขได้ องค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศคือสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1 แสน 4 หมื่นคนต่อปีและตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในอีก 30 ปีข้างหน้า ในขณะเดียวกัน ธนาคารโลกได้พยากรณ์ว่า ภาวะโลกร้อนจะทำให้ประชาชน 100 ล้านคนตกเข้าสู่ภาวะหิวโหย ขาดแคลนอาหาร ยารักษาโรคและสิ่งของที่จำเป็นในการดำรงชีวิตก่อนปี 2030 อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นก็เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้น้ำแข็งละลาย ภัยธรรมชาติมีความรุนแรงมากขึ้นและถีขึ้น ในตลอดกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ปัญหาน้ำท่วมได้ส่งผลกระทบต่อประชาชน 2.3 พันล้านคนในเอเชีย ปรากฏการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงซึ่งก็มีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากกว่านี้ได้ทำให้เกิดภัยแล้งครั้งประวัติศาสตร์ในหลายพื้นที่ทั่วโลก คาดว่า ภัยแล้งได้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 แสน 4 หมื่น 8 พันคนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป ส่วนปัญหาไฟป่าก็ส่งผลกระทบต่อประชากร 1 แสน 8 พันคนและสร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่ากว่า 1 หมื่น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ตัดสินใจชะตากรรมของมนุษย์
ขอบเขตและความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้และประเทศต่างๆต่างตระหนักได้ดีถึงปัญหานี้ ดังนั้นการเปลี่ยนจิตสำนึกให้กลายเป็นการปฏิบัติเป็นสิ่งที่สำคัญซึ่งปัญหานี้ได้ถูกระบุในระเบียบวาระการประชุม COP ครั้งก่อนๆ แต่ทุกความคาดหวังต่างถูกทำลายในการหารือนัดสุดท้ายซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อการประชุมครั้งต่อๆมา ดังนั้น ทุกความคาดหวังต่างถูกรอคอยในการประชุมครั้งนี้ ที่ชัดเจนก็คือ โลกของมนุษย์กำลังเผชิญกับการผันผวนที่ซับซ้อน เช่นการก่อการร้าย การโยกย้ายถิ่นฐานและสงครามซึ่งทำให้ทุกประเทศยากเน้นใช้พลังทุกแหล่งให้แก่เป้าหมายต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่ประชาคมโลกยังมีความคาดหวังว่า ด้วยจิตสำนึกเกี่ยวกับความเร่งด่วนในความพยายามต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ข้อตกลงฉบับต่างๆในการประชุม COP 21 จะไม่เพียงแต่มีลักษณะทางการทูตเท่านั้นหากเป็นความตั้งใจอย่างแน่วแน่และมาตรการที่แท้จริงของทุกประเทศซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจเพื่ออนาคตของมนุษยชาติบนโลกใบนี้.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด