กระชับความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เวียดนาม – เยอรมนี

(VOVWORLD) - ตามคำเชิญของประธานประเทศเวียดนาม หวอวันเถืองและภริยา ประธานาธิบดีเยอรมนีแฟรงก์-วอลเตอร์ ชไตน์ไมเออร์ และภริยา เอลเคอ บูเดนเบ็นเดอร์  จะเดินทางมาเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการในระหว่างวันที่ 23-24 มกราคม ซึ่งถือเป็นการเยือนที่จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในเวลาที่จะถึง
กระชับความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เวียดนาม – เยอรมนี - ảnh 1ประธานาธิบดีเยอรมนีแฟรงก์-วอลเตอร์ ชไตน์ไมเออร์ และภริยา เอลเคอ บูเดนเบ็นเดอร์ (สถานทูตเยอรมนีประจำเวียดนาม)

นี่คือการเยือนเวียดนามของประธานาธิบดีเยอรมนีในรอบ 17 ปี และมีขึ้นภายหลังการเยือนเวียดนามของนาย โอลัฟ ช็อลทซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนีเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2022 และเป็นการเยือนเวียดนามของผู้นำยุโรปคนแรกในปี 2024

ความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์กำลังได้รับการปฏิบัติอย่างรอบด้านและมีประสิทธิภาพ

เวียดนามและเยอรมนีสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 23 กันยายนปี 1975 และในกรอบการเยือนเวียดนามของนาง อังเกลาแมร์เคิล อดีตนายกรัฐมนตรีเยอรมนีเมื่อเดือนตุลาคมปี 2011 ทั้งสองประเทศได้ยกระดับความสัมพันธ์ขึ้นเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์มิตรภาพและความร่วมมือระหว่างสองประเทศยังคงได้รับการทำนุบำรุงและนับวันกว้างลึก รอบด้านและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในช่วงหลายปีมานี้ รวมทั้งในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด -19 ทังสองประเทศยังคงกระชับความสัมพันธ์ในทุกด้าน  ความสัมพันธ์ทางการทูตและการเมือง ตั้งแต่ระดับผู้นำระดับสูงไปจนถึงระดับท้องถิ่นและประชาชนถือเป็นผลสำเร็จที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์

ในด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน เยอรมนีเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนามในสหภาพยุโรป ส่วนเวียดนามเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ที่สุดของเยอรมนีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มูลค่าการค้าต่างตอบแทนได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยบรรลุ 1 หมื่น 2 พัน 6 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปี 2021 เยอรมนีเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับที่ 18 จากจำนวน 143 ประเทศและดินแดนที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม รวมยอดเงินลงทุนจดทะเบียนเกือบ 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในด้านการศึกษาและฝึกอบรม  ปัจจุบัน มีนักศึกษาเวียดนามกว่า 7,000 คนกำลังศึกษาในเยอรมนี โครงการมหาวิทยาลัยเหวียดดึ๊กที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมนีและรัฐ Hessen กำลังดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีส่วนช่วยฝึกอบรมแหล่งบุคลากรคุณภาพสูงให้แก่เวียดนาม ส่วนชมรมชาวเวียดนามที่อาศัยในประเทศเยอรมนีมีประมาณ 200,000 คน โดยได้ปรับตัวเข้ากับสังคมของเยอรมนีอย่างกว้างลึกและมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของเยอรมนีและความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเป็นอย่างมาก

บนเวทีโลก เวียดนามและเยอรมนีต่างเป็นสมาชิกที่เข้มแข็งและมีความรับผิดชอบของประชาคมระหว่างประเทศ โดยต่างแลกเปลี่ยนคุณค่าขั้นพื้นฐาน ความสนใจและผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ที่คล้ายคลึงกันบนเวทีภูมิภาคและโลก ทั้งสองฝ่ายต่างสนับสนุนกันและประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพในฟอรั่มระหว่างประเทศ รวมทั้งองค์กรสหประชาชาติ กลุ่มจี 20 ฟอรั่มความร่วมมือเอเชีย – ยุโรปหรือ ASEM และกลุ่มจี 7 ตลอดจนร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพในฐานะที่ต่างเป็นสมาชิกของคณะกรรมการไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เมื่อปี 2022 ในฐานะประธานหมุนเวียนของกลุ่มจี 7 เยอรมนีได้เลือกเวียดนามเป็นหุ้นส่วนปรับเปลี่ยนพลังงานที่เป็นธรรมกับจี 7 และเมื่อเร็วๆนี้ เยอรมนีได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกของสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติอีกวาระ ส่วนเวียดนามก็ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติวาระปี 2023-2025 ซึ่งเปิดโอกาสแห่งความร่วมมือและการประสานงานในฟอรั่มที่สำคัญนี้

เปิดโอกาสความร่วมมือมากมาย

ด้วยความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่กำลังพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การเยือนเวียดนามครั้งนี้ของประธานาธิบดีเยอรมนี แฟรงก์-วอลเตอร์ ชไตน์ไมเออร์ จะเปิดโอกาสแห่งความร่วมมือมากมาย บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อสังเกตว่า การฟื้นฟูเศรษฐกิจในเวียดนามสูงกว่าภูมิภาคและโลก ดังนั้น ตลาดของทั้งสองประเทศ รวมทั้งการค้าและการลงทุนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างเข้มแข็ง นักลงทุนเยอรมนีถือเวียดนามเป็นตลาดชั้นนำที่น่าสนใจสำหรับการย้ายฐานการลงทุนและการค้า

นอกจากนั้น การขยายความร่วมมือระหว่างสองประเทศยังมีศักยภาพอีกมาก เช่น การศึกษา การฝึกสอนอาชีพ การจัดสรรแรงงานฝีมือดี พลังงานหมุนเวียน เภสัชภัณฑ์ การแปรรูปสินค้าการเกษตร อุตสาหกรรมการแปรรูป โดยเฉพาะความร่วมมือด้านพลังงานถือเป็นด้านที่น่าสนใจมากที่สุด เวียดนามมีความได้เปรียบในด้านทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม รวมทั้งมีพื้นที่ทะเลที่ยาวจากเหนือจรดใต้ ซึ่งมีศัยกภาพสูงสำหรับความร่วมมือกับบริษัทพลังงานเยอรมนีที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด เช่น การผลิตพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์หรือการผลิตไฮโดรเจน ส่วนเยอรมนีกำลังผลักดันกระบวนการปรับเปลี่ยนสู่พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านนี้ รวมทั้งเทคโนโลยีการผลิตและใช้ไฮโดรเจน ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสแห่งความร่วมมือมากมายระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะในขณะที่กลุ่มจี 7 ได้เลือกเวียดนามเป็นหุ้นส่วนระดับโลกในการแลกเปลี่ยนพลังงานที่เป็นธรรม การพัฒนาอย่างเข้มแข็งของเทคโนโลยีแห่งสีเขียว เทคโนโลยีดิจิทัล เทคโนโลยีผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ของเยอรมนี นโยบายการพัฒนาอย่างสมดุลและการอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งคำมั่นของเวียดนามในการประชุม COP26 ถือเป็นปัจจัยที่เอื้ออำให้เวียดนามและเยอรมนีขยายความร่วมมือในการลงทุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเยือนเวียดนามครั้งนี้ของประธานาธิบดีเยอรมนีแฟรงก์-วอลเตอร์ ชไตน์ไมเออร์ จะช่วยธำนุบำรุงและกระชับความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น มีส่วนร่วมเพิ่มความเข้าใจ ความไว้วางใจทางการเมืองและสร้างพลังขับเคลื่อนต่อด้านสำคัญให้แก่ความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างสองประเทศ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด