กุศโลบายในการครอบครองเขตทะเลตะวันออกสร้างภัยคุกคามในหลายด้านต่อภูมิภาคและโลก

(VOVWORLD) - การที่เรือสำรวจไหหยาง 8 และเรือคุ้มกันของจีนได้รุกล้ำเขตทะเลของเวียดนามอย่างต่อเนื่องยังคงทำให้ประชาคมระหว่างประเทศไม่พอใจและประท้วงการกระทำดังกล่าว ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวของจีนไม่เพียงแต่สร้างภัยคุกคามต่อภูมิภาคและโลก หากยังส่งผลกระทบในทางลบต่อจีนอีกด้วย 
กุศโลบายในการครอบครองเขตทะเลตะวันออกสร้างภัยคุกคามในหลายด้านต่อภูมิภาคและโลก - ảnh 1 เรือลาดตระเวณของเวียดนามในทะเลตะวันออก (Photo Vnplus)

หลังจากที่ข้อเรียกร้องของจีนต่อสิ่งที่เรียกว่า “เส้นประ 9 เส้นที่อ้างอิงประวัติศาสตร์” ได้ถูกศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮกปฏิเสธไม่รับรองเมื่อปี 2016 จีนยังคงพยายามเสนอข้ออ้างใหม่เพื่อมุ่งแปรคำเรียกร้องที่ไร้เหตุผลนี้ให้เป็นสิ่งที่มีความถูกต้อง โดยการที่จีนส่งกลุ่มเรือสำรวจไหหยาง 8 รุกล้ำเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนามอย่างต่อเนื่องนั้นก็แสดงออกถึงความจงใจในการทำให้เขตที่ไม่มีการพิพาทที่อยู่ลึกเข้าในไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนามกลายเป็นเขตที่มีการพิพาท เพิ่มการแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเขตทะเลที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศริมฝั่งทะเลเพื่อนบ้านเพื่อมุ่งปฏิบัติกุศโลบายในการครอบครอบเขตทะเลตะวันออกเพียงผู้เดียว

จีนและกลยุทธ์ที่พร้อมทำให้ความตึงเครียดทวีความรุนแรงมากขึ้น

นาย Lucio Blanco Pitlo นักวิจัยของกองทุนเส้นทางพัฒนาเอเชีย – แปซิฟิกและศูนย์วิจัยสาธารณรัฐเกาหลีของมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์เผยว่า ในความเป็นจริง จีนกำลังขยายปฏิบัติการแทรงแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจทางทะเลที่ชอบด้วยกฎหมายของบรรดาประเทศริมฝั่งทะเลเพื่อนบ้านที่ไม่เพียงแต่มีเวียดนามเท่านั้น หากยังมีประเทศต่างๆ เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซียและอินโดนีเซียด้วย พร้อมทั้งได้แสวงหามาตรการกดดันให้กลุ่มบริษัทและเครือบริษัทต่างชาติยุติการขุดเจาะไม่เพียงแต่ในเขตเส้นประ 9 เส้นที่จีนเรียกร้องอธิปไตยเพียงผู้เดียวอย่างอุกอาจเท่านั้น หากยังรวมถึงในเขตทะเลใกล้เคียงอีกด้วย ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นโมฆะและไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ “ประชาคมระหว่างประเทศไม่อาจยอมรับคำเรียกร้องที่ไร้เหตุผลและเป็นโมฆะของจีนไม่ว่าจะเป็นคำประกาศเกี่ยวกับเส้นประ 9 เส้นหรือสิ่งที่เรียกว่า “ตื๊อซา” จีนออกคำเรียกร้องเพียงฝ่ายเดียวโดยไม่สนใจถึงปฏิกิริยาของประชาคมระหว่างประเทศ การที่จีนส่งเรือสำรวจเข้าไปในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนามเป็นการละเมิดอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลหรือ UNCLOS ปี 1982 และกฎหมายเวียดนามอย่างรุนแรง การกระทำดังกล่าวของจีนได้แสดงให้เห็นว่า จีนพร้อมทำให้ความตึงเครียดทวีความรุนแรงมากขึ้นและยอมเสี่ยงกับการกระทำดังกล่าวของตน”

เมื่อปี 2016 จีนได้ประกาศอย่างอุกอาจว่า แนวปะการังสการ์โบโรห์ของฟิลิปปินส์อยู่ในเขต “จุงซา” ของจีน ซึ่งก็ได้ถูกศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก ประกาศตัดสินเป็นโมฆะตาม UNCLOS ปี 1982 ในกรณีที่ฟิลิปินส์ฟ้องร้องจีนเมื่อปี 2016 และมีการประกาศเห็นชอบกับการอธิบายและการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับนี้ในทะเลตะวันออก เกี่ยวกับประเด็นนี้ เอกอัครราชทูตฝ่ามกวางวิงห์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามยืนยันว่า “หนึ่งคือ การรุกล้ำเขตทะเลที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของเวียดนามและเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนามเป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้ สองคือ คำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการเมื่อปี 2016 ช่วยให้ทุกคนมีความเข้าใจและบังคับใช้ UNCLOS ปี 1982 ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น นี่จะเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายสากล ซึ่งทุกปฏิบัติการที่ละเมิดกฎหมายสากลต้องถูกปฏิเสธ”

กลยุทธ์ที่อาจส่งผลกระทบย้อนกลับ

การที่จีนรุกล้ำเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนามอย่างต่อเนื่องและขยายปฏิบัติการแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจทางทะเลที่ชอบด้วยกฎหมายของเวียดนามนั้นอยู่ในแผนกุศโลบายที่ทำให้เขตที่อยู่ลึกเข้าไปในอาณาเขตของเวียดนามที่ไม่มีการพิพาทให้กลายเป็นเขตที่มีการพิพาทแต่อย่างไรก็ตาม จากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ กลยุทธ์นี้ของจีนอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อจีนเอง เพราะว่า การกระทำดังกล่าวจะทำให้ประชาคมระหว่างประเทศให้ความสนใจถึงปัญหานี้มากขึ้นและสนับสนุนบรรดาประเทศริมฝั่งทะเลเพื่อยับยั้งความทะเยอทะยานของจีน นอกจากนี้ การกระทำของจีนได้ทำให้อาเซียนยิ่งมีความมุ่งมั่นมากขึ้นในการยุติความพยายามของจีนที่ขัดขวางกลุ่มบริษัทต่างชาติไม่ให้ประกอบธุรกิจกับบรรดาประเทศริมฝั่งทะเลในภูมิภาคนี้ นาย Lucio Blanco Pitlo แสดงความคิดเห็นว่า “ปฏิบัติการต่างๆของจีนในทะเลตะวันออกไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบในทางลบต่อผลประโยชน์ของจีนเท่านั้น หากยังส่งผลกระทบถึงความปรารถนาเกี่ยวกับสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคอีกด้วย ถ้าหากจีนมีความกังวลว่า ความร่วมมือด้านการค้าทางทะเลอาจจะส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของจีนนั้น แต่จีนเองก็ต้องตระหนักเช่นกันว่า อาเซียนก็มีความกังวลอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการสูญเสียสิทธิการเป็นเจ้าของและต้องพึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งมากเกินไป จีนต้องให้ประเทศเพื่อนบ้านพิจารณาข้อเสนอของจีนหรือร่วมมือกับจีนตามรูปแบบ “สองฝ่ายต่างมีประโยชน์ร่วมกัน” ไม่ใช่วิธีบังคับให้อาเซียนปฏิบัติตามข้อบังคับของจีนด้วยมาตรการกดดันเหมือนในปัจจุบัน”

การให้ความเคารพกฎหมายและปฏิบัติตามกฎหมายสากลคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็กหรือใหญ่ โดยเฉพาะจีนในฐานะเป็นประเทศใหญ่ ก็ยิ่งจะต้องมีความรับผิดชอบเพื่อมีส่วนร่วมต่อสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมายสากลและตาม UNCLOS เวียดนามและอาเซียนให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์กับจีน ร่วมกันพยายามเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนาในภูมิภาค ส่วนจีนองก็มักจะพูดอยู่เสมอว่า มีความประสงค์มุ่งสู่สันติภาพ มีความปรารถนาที่จะร่วมมือและเป็นหุ้นส่วนกับประเทศต่างๆ และนี่เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้จีนพิสูจน์สิ่งที่พูดไว้อย่างจริงจัง แต่ปฏิบัติการต่างๆของจีนในปัจจุบันกลับเดินสวนกับคำพูดของจีน ทำลายความไว้วางใจและส่งผลกระทบในทางลบต่อภูมิภาคและโลก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด