การทำประชาพิจารณ์แสดงให้เห็นถึงแนวคิด “ถือประชาชนเป็นรากฐาน”

(VOVworld) – ในการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญแห่งรัฐสภาครั้งที่ 38 ที่เสร็จสิ้นลงเมื่อบ่ายวันที่ 15 พฤษภาคม ร่างกฎหมายการการทำประชาพิจารณ์ได้ถูกหยิบยกขึ้นหารือเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่มีลักษณะชี้ขาดของประชาชนในกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นการยืนยันว่า เสียงของประชาชนที่ได้รับการรับฟังและให้ความเคารพ การร่างและการบังคับใช้กฎหมายการทำประชาพิจารณ์คือการแปรสิ่งที่ถูกระบุในรัฐธรรมนูญและแนวคิด “ถือประชาชนเป็นรากฐาน” อย่างเป็นรูปธรรม


(VOVworld) – ในการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญแห่งรัฐสภาครั้งที่ 38 ที่เสร็จสิ้นลงเมื่อบ่ายวันที่ 15 พฤษภาคม ร่างกฎหมายการการทำประชาพิจารณ์ได้ถูกหยิบยกขึ้นหารือเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทที่มีลักษณะชี้ขาดของประชาชนในกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นการยืนยันว่า เสียงของประชาชนที่ได้รับการรับฟังและให้ความเคารพ การร่างและการบังคับใช้กฎหมายการทำประชาพิจารณ์คือการแปรสิ่งที่ถูกระบุในรัฐธรรมนูญและแนวคิด “ถือประชาชนเป็นรากฐาน” อย่างเป็นรูปธรรม
การทำประชาพิจารณ์แสดงให้เห็นถึงแนวคิด “ถือประชาชนเป็นรากฐาน” - ảnh 1
การประชุมคณะกรรมาธิการสามัญแห่งรัฐสภาครั้งที่ 38

การทำประชาพิจารณ์เป็นวิธีที่ให้ประชาชนได้แสดงถึงความมุ่งมั่นและอำนาจของตนโดยตรงต่อปัญหาสำคัญๆของประเทศในแต่ละระยะ ร่างกฎหมายการทำประชาพิจารณ์จะถูกหยิบยกขึ้นหารือในการประชุมรัฐสภาครั้งที่ 9 สมัยที่ 13 ในเร็วๆนี้
การทำประชาพิจารณ์ได้รับการปฏิบัติในทางเป็นจริง

ไม่ใช่เฉพาะปัจจุบันที่ปัญหาการทำประชาพิจารณ์ถูกหยิบยกขึ้นหารือ แต่รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามปี 1946 ได้ยืนยันถึงบทบาทและหน้าที่ของประชาชนที่“มีสิทธิอนุมัติรัฐธรรมนูญและปัญหาที่เกี่ยวข้องถึงชะตากรรมของชาติ” รัฐธรรมนูญปี 2013 ได้ระบุว่า “ประชาชนมีสิทธิลงคะแนนเมื่อรัฐทำประชาพิจารณ์” การร่างกฎหมายทำประชาพิจารณ์มีวัตถุประสงค์เพื่อแปรข้อต่างๆในรัฐธรรมนูญเวียดนามให้เป็นรูปธรรม
ในหลายปีมานี้ ประชาชนได้เข้าร่วมกิจกรรมสังคมมากขึ้นผ่านรูปแบบที่หลากหลายโดยสามารถเข้าร่วมโดยตรงหรือผ่านช่องการวิจารณ์นโยบาย แสดงความคิดเห็นต่อการร่างเอกสารทางกฎหมาย แสดงความคิดเห็นต่อปัญหาการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
ความคิดเห็นของประชาชนได้รับการรับฟังและคัดเลือกซึ่งได้มีส่วนร่วมต่อการปรับปรุงงานด้านการบริหารภาครัฐและการร่างกฎหมายให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น แม้กระทั่งมีลักษณะชี้ขาดต่อแนวทางและนโยบายที่เป็นรูปธรรมของกระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่น จากความคิดเห็นของประชาชนทำให้มีการยกเลิกการประกาศใช้เอกสารทางกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริง มีการยุติการปฏิบัติแนวทางและนโยบายที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่ตรงกับความปรารถนาของประชาชน จนถึงปัจจุบัน แนวทางและนโยบายที่เกี่ยวข้องซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงถึงชีวิตปัจจุบันและอนาคตของประชาชนล้วนถูกนำมารับฟังความคิดเห็นของประชาชน
แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่เข้มแข็งและอำนาจของประชาชน

การทำประชาพิจารณ์หรือการลงคะแนนโดยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเข้าร่วมการลงคะแนนโดยตรงเพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านข้อเสนอพิเศษข้อใดข้อหนึ่ง ในประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ของประชาชาติ เมื่อต้องการเสียงส่วนมาก ความเห็นที่เป็นเอกฉันท์ พลังความเข้มแข็งและการตัดสินใจต่อปัญหาสำคัญๆก็จะมีการนำมารับฟังความคิดเห็นและสถานการณ์ที่เป็นจริงได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความถูกต้องของการตัดสินใจนั้น ปัจจุบัน ประชาชนมีสิทธิอย่างเต็มที่ การทำประชาพิจารณ์ยังกลายเป็นปัญหาสำคัญไม่ใช่แค่ประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ยังมีถึง 167 ประเทศจากจำนวนทั้งหมด 214 ประเทศและดินแดนได้ประกาศใช้กฎหมายหรือข้อกำหนดทางนิตินัยเกี่ยวกับการทำประชาพิจารณ์
การทำประชาพิจารณ์ช่วยให้ประชาชนแสดงความมุ่งมั่นและอำนาจของตนในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศอย่างเป็นฝ่ายรุกและกว้างลึก ท่าน เหงียนซิงหุ่ง ประธานรัฐสภาได้ยืนยันว่า “ทำประชาพิจารณ์คือความคิดเห็นของประชาชนมีลักษณะชี้ขาด มิใช่รัฐสภา นี่คือหลักการ” เมื่อประชาชนมีเสียงพูดมากขึ้นก็จะมีส่วนร่วมทำให้กลไกการบริหารของรัฐและทางการทุกระดับได้รับการเสริมสร้างทั้งโปร่งใสและมีภาวะวิสัยมากขึ้น สร้างความไว้วางใจต่อประชาชน สร้างความเป็นเอกฉันท์ในสังคมและแก้ไขข้อสงสัยในหมู่ประชาชน
การทำประชาพิจารณ์คือการปฎิบัติประชาธิปไตย ให้ความเคารพสิทธิความเป็นเจ้าของของประชาชนอย่างแท้จริง มีประชาธิปไตยในด้านเศรษฐกิจและการเมือง นี่คือการแปรแนวคิด “ถือประชาชนเป็นรากฐาน” ของประธานโฮจิมินห์ผ่านการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในการร่างกฎหมายและด้านอื่นๆซึ่งการร่างกฎหมายการทำประชาพิจารณ์เป็นตัวอย่างชัดเจน./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด