การประชุม COP 22 แปรข้อตกลงปารีสเป็นการปฏิบัติ

(VOVworld) – การประชุมสุดยอดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือ COP ครั้งที่ 22 กำลังมีขึ้น ณ เมืองมาร์ราคิช ประเทศโมร็อกโก โดยมีคณะผู้แทนจากเกือบ 200 ประเทศเข้าร่วม นี่คือการประชุมที่มีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะกำหนดการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมของประเทศที่เข้าร่วมการรับมือกับปัญหาโลกร้อน แสวงหาความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติข้อตกลงปารีสเพื่อแปรข้อตกลงปารีสให้กลายเป็นการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

(VOVworld) – การประชุมสุดยอดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือ COP ครั้งที่ 22 กำลังมีขึ้น ณ เมืองมาร์ราคิช ประเทศโมร็อกโก โดยมีคณะผู้แทนจากเกือบ 200 ประเทศเข้าร่วม นี่คือการประชุมที่มีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะกำหนดการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมของประเทศที่เข้าร่วมการรับมือกับปัญหาโลกร้อน แสวงหาความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติข้อตกลงปารีสเพื่อแปรข้อตกลงปารีสให้กลายเป็นการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

การประชุม COP 22 แปรข้อตกลงปารีสเป็นการปฏิบัติ - ảnh 1
ในการประชุม COP ครั้งนี้ ทุกฝ่ายที่เข้าร่วมจะหารือเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังสร้างความขัดแย้ง (AFP)

ในการประชุม COP ครั้งนี้ ทุกฝ่ายที่เข้าร่วมจะหารือเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังสร้างความขัดแย้ง ตั้งแต่เรื่องแหล่งพลังงานหมุนเวียน รวมไปถึงโควต้าการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก แต่เป้าหมายหลักคือการปฏิบัติข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ลงนามที่กรุงปารีสในการประชุม COP 21 เมื่อปี 2015 หรือเรียกย่อว่าข้อตกลงปารีส โดยข้อตกลงปารีสคือพื้นฐานทางนิตินัยของโลกเกี่ยวกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มุ่งสู่การขยายตัวของเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เพิ่มความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน
ข้อตกลงปารีส พื้นฐานทางนิตินัยของโลกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ข้อตกลงปารีสมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายนหลังจาก 100 ประเทศที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกคิดเป็นร้อยละ 68 ของโลกให้สัตยาบัน ซึ่งตัวเลขนี้ได้สูงกว่าข้อกำหนดคือมีอย่างน้อย 55 ประเทศให้สัตยาบัน ก่อนหน้านั้น ในการประชุม COP 21 ณ กรุงปารีส 171 ประเทศและองค์การได้ลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งถือเป็นข้อตกลงที่มีความเข้มแข็งที่สุดเท่าที่เคยมีการเจรจากันมาโดยมี 29 มาตราที่เน้นแก้ไขเนื้อหาอย่างรอบด้านของกรอบข้อตกลงของสหประชาชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะการแก้ไขความแตกต่างเกี่ยวกับความรับผิดชอบระหว่างประเทศพัฒนากับประเทศที่กำลังพัฒนา และได้รับการสร้างสรรค์บนพื้นฐานที่ประเทศต่างๆร่วมกันให้คำมั่นปฏิบัติความพยายามให้ดีที่สุด
เนื้อหาหลักของข้อตกลงปารีสคือการควบคุมไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสและพยายามจำกัดไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส มีโควต้าการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ซึ่งเท่ากับระดับที่พืช ดินและมหาสมุทรสามารถดูดซับได้ตามธรรมชาติ ทุกๆ 5 ปีจะพิจารณาระดับส่วนร่วมของประเทศต่างๆต่อการลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกเพื่อให้ประเทศต่างๆสามารถรับมือกับความท้าทาย ประเทศพัฒนาให้การช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาผ่านการจัดสรรเงินทุนเพื่อให้ประเทศเหล่านี้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน นอกจากนั้น ทุกฝ่ายต้องสร้างสรรค์และปฏิบัติแผนการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของประเทศ รวมทั้งระบุอย่างละเอียดต่อด้านที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆในการรับมือ ให้การช่วยเหลือที่จำเป็นและแผนการปฏิบัติ นอกจากนั้น ข้อตกลงยังเสนอกลไกถ่ายทอดเทคโนโลยีและเพิ่มความสามารถให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี พหุภาคีและภูมิภาคเพื่อผลักดันการปฏิบัติเนื้อหาต่างๆของข้อตกลง
จนถึงขณะนี้ มีกว่า 100 ประเทศที่ได้ให้สัตยาบันข้อตกลงฉบับนี้ ที่น่าสนใจคือเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา จีนและสหรัฐซึ่งเป็น 2 ประเทศที่ปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกมากที่สุดได้ยื่นเอกสารเพื่อให้สัตยาบันข้อตกลงปารีสอย่างเป็นทางการ ซึ่งได้ส่งผลอย่างเข้มแข็งต่อการตัดสินใจให้สัตยาบันข้อตกลงฉบับนี้ของหลายประเทศ เนื่องจากนี่คือครั้งแรกที่ตัวแทนของประเทศพัฒนาและประเทศที่กำลังพัฒนายืนยันถึงความตั้งใจไม่ให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นกว่า 2 องศาเซลเซียสในปลายศตวรรษนี้
การประชุม COP 22 แปรข้อตกลงปารีสเป็นการปฏิบัติ - ảnh 2
ประธานการประชุม COP22 Salaheddine Mezouar (AFP)

แปรคำมั่นเป็นปฏิบัติการ
ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดเพื่อให้ข้อตกลงฉบับนี้เกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรมคือประเทศต่างๆจะปฏิบัติคำมั่นของตนแค่ไหน ซึ่งก็มีหลายความคิดเห็นว่า การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันถึงแม้มีการเข้าร่วมของหลายประเทศ แต่ปัจจัยชี้ขาดขึ้นอยู่กับประเทศที่ปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกมากที่สุด ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการแค่บรรลุความเห็นพ้องทางการเมืองและยากที่จะปฏิบัติในทางเป็นจริงเหมือนพิธีสารเกียวโตเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกที่ลงนามก่อนหน้านั้น COP 22 จึงย้ำถึงการแปรข้อกำหนดในข้อตกลงให้เป็นรูปธรรม โดยทุกฝ่ายที่เข้าร่วมข้อตกลงต้องเน้นถึงปัญหาเทคนิคเพื่อจัดทำกระบวนการ ระเบียบการและแนะนำการปฏิบัติข้อตกลงนี้ นอกจากนั้น เป้าหมายต่อไปของ COP 22 คือตีความระดับส่วนร่วมของประเทศที่กำลังพัฒนาต่อข้อตกลงปารีสให้ชัดเจน
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศคือปัญหาชี้ขาดต่อการคงอยู่ ซึ่งต้องมีความมุ่งมั่นและความพยายามของทุกประเทศในการรับมือกับปัญหานี้ ทุกประเทศมีเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมืองและสังคมที่แตกต่างกันจึงต้องมีวิธีการที่แตกต่างกันในการรับมือ ถ้าหากไม่สามารถบรรลุความเห็นพ้องต้องกันวิธีการแก้ไขก็จะไม่สามารถสร้างพลังร่วมที่เข้มแข็งได้ ข้อตกลงปารีสคือเครื่องมือเพื่อให้ทุกประเทศร่วมกันปฏิบัติเพื่อสร้างเป็นพลังรวมนั้น หลังความล้มเหลวของพิธีสารเกียวโตปี 1997 และการประชุม COP 15 ที่เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กเมื่อปี 2009 ถึงเวลาแล้วที่ประเทศต่างๆต้องแสวงหาความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติข้อตกลงปารีสเพื่อผลักดันกระบวนการลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกโดยเร็วและเปิดการรณรงค์รับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในทั่วโลก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด