การประชุมผู้นำอียูและปัญหาที่ร้อนระอุของยุโรป

(VOVworld) – วันที่ 25 มิถุนายน 27 ผู้นำของสหภาพยุโรปหรืออียูได้เริ่มประชุมในกรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาที่ร้อนแรงซึ่งสร้างความแตกแยกภาย ในกลุ่มในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เช่น วิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซ คำเรียกร้องปฏิรูปกลไกของอังกฤษและการไม่ร่วมมือกับรัสเซียหรือปัญหาผู้อพยพ ที่กำลังทำให้อียูตกเข้าสู่ภาวะลำบาก

(VOVworld) – วันที่ 25 มิถุนายน 27 ผู้นำของสหภาพยุโรปหรืออียูได้เริ่มประชุมในกรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาที่ร้อนแรงซึ่งสร้างความแตกแยกภายในกลุ่มในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เช่น วิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซ คำเรียกร้องปฏิรูปกลไกของอังกฤษและการไม่ร่วมมือกับรัสเซียหรือปัญหาผู้อพยพที่กำลังทำให้อียูตกเข้าสู่ภาวะลำบาก

การประชุมผู้นำอียูและปัญหาที่ร้อนระอุของยุโรป - ảnh 1
การประชุมผู้นำอียู (AFP)

วิกฤตหนี้สาธารณะกรีซคือหัวข้อร้อนแรงที่สุดที่ถูกนำมาหารือก่อนการประชุม และเป็นหัวข้อหลักในการประชุมผู้นำยุโรป  หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมผู้นำเขตยูโรโซนฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา นาย ฌอง-โคลด ยุงเคอร์  ประธานอียูได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับความคืบหน้าในการเจรจาระหว่างกรีซกับกลุ่มเจ้าหนี้ รวมทั้งอียู ธนาคารกลางยุโรปหรืออีซีบีและกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ นาย ยุงเคอร์ ได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายต้องเร่งหาโอกาสเจรจา จนถึงขณะนี้ ปัญหาเกี่ยวกับวงเงินช่วยเหลือมูลค่า 7.2 พันล้านเหรียญยูโร่ หรือประมาณ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐยังไม่สามารถแก้ไขได้  อียูได้เรียกร้องให้กรีซผลักดันการปฏิรูปใหม่ตามข้อเสนอของเจ้าหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะตกเข้าสู่การผิดนัดชำระหนี้
กรีซร้อนแรงในทุกนาที

ขณะนี้ ประเทศสมาชิกอียู โดยเฉพาะเยอรมนีซึ่งเป็นเศรษฐกิจนำหน้าของภูมิภาคกำลังสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลกรีซอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเจ้าหนี้ของกรีชแสดงความเห็นว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันของกรีชไม่มีนโยบายที่ชัดเจนและขาดความสร้างสรรค์ในการเจรจา และเผยว่า “อยากให้กรีซอยู่ในเขตยูโรโซน แต่ไม่ต้องปฏิบัติทุกมาตรการ” ดังนั้นพวกเขาจึงยืนหยัดที่จะไม่ประนีประนอม ซึ่งหมายความว่ากรีซสามารถถูกบีบออกจากเขตยูโรโซนได้ ถ้าหากรัฐบาลกรีซไม่ยอมทำการปฏิรูปที่เคร่งครัดตามข้อเสนอของกลุ่มเจ้าหนี้
แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนการประชุมผู้นำอียูไม่กี่ชั่วโมง ประเทศสมาชิกอียูได้ส่งข้อเสนอที่สามารถช่วยประนีประนอมต่อกรีซ ถ้าหากข้อเสนอบางส่วนของประเทศสมาชิกอียูได้ผล การประนีประนอมนี้ก็อาจช่วยเป็นข้อตกลงเพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้แก่กรีชได้ในเวลาอันสั้น แต่การบรรลุข้อตกลงระยะสั้นนี้จะช่วยให้กรีชหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ต้องออกจากเขตยูโรโซนเท่านั้น มิใช่ช่วยให้ประเทศนี้แก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะที่สูงถึง ร้อยละ 177 ของจีดีพีได้

การประชุมผู้นำอียูและปัญหาที่ร้อนระอุของยุโรป - ảnh 2
นายกรัฐมนตรีกรีซและประธานอีซี(AP)

ทำให้พันธมิตรการเงินมีความลึกซึ้งมากขึ้น
วิกฤตหนี้สาธารณะในกรีซ ตลอดจนในหลายประเทศสมาชิกก่อนหน้านั้นได้ส่งผลกระทบต่อความคาดหวังเกี่ยวกับอียูที่มีความเจริญรุ่งเรืองในทศวรรษข้างหน้า แต่การถกเถียงที่ยืดเยื้อเป็นเวลานานเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือ การดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดหรือการผ่อนปรนมาตรการทางเศรษฐกิจได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่ไม่ดีของสหภาพยุโรป บรรดาผู้นำอียูได้แสดงความเชื่อมั่นว่า เสถียรภาพของเขตยูโรโซนขึ้นอยู่กับกระบวนการผสมผสานที่ต้องลึกซึ้งมากขึ้น ตลอดจนการวางเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมในระยะยาวมากขึ้น ดังนั้นในการประชุมผู้นำอียูครั้งนี้ บรรดาผู้นำของประเทศสมาชิกได้เน้นหารือเกี่ยวกับแผนการโดยละเอียดว่าด้วยการผสมผสานเข้ากับเขตยูโรโซนโดยประธานอียู ฌอง-โคลด ยุงเคอร์และประธานธนาคารกลางยุโรป Mario Draghi เป็นผู้เสนอ รวมทั้งเน้นถึงแผนการพัฒนาพันธมิตรธนาคารที่มีข้อกำหนดใหม่อย่างสมบูรณ์และออกพันธบัตรรัฐบาล ตลอดจนหารือเกี่ยวกับการปรับปรุงสนธิสัญญายุโรปซึ่งเป็นเอกสารทางนิตินัยสูงสุดของกลุ่มนี้
ถึงแม้เป็นตลาดที่มีเอกภาพ แต่จนถึงขณะนี้ อียูยังคงมีระบบการเงิน 2 ระบบคือระบบสกุลเงินยูโรและระบบสกุลเงินท้องถิ่นของบางประเทศ เช่นเงินปอนด์ของอังกฤษ เงินสโครนของเดนมาร์กและสกุลเงินซโลว์ทิ ของโปแลนด์ บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้เสนอความเห็นว่า เพื่อให้อียูกลายเป็นเขตที่มีเอกภาพและมีความเจริญรุ่งเรือง ประเทศสมาชิกควรผนวกเข้าเป็นกลุ่มการเงินเพราะการบรรลุร่างระเบียบการเงินอียูนั้นทำได้ยาก เนื่องจากตลาดย่อยๆ ยังคงมีข้อกำหนดด้านการเงินของตน
ปฏิรูปกลไกหรือให้อังกฤษออกจากเขตยูโรโซน

นอกจากปัญหาการแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะในกรีซและการผลักดันการผสมผสานของอียูแล้ว ปัญหาสมาชิกภาพของอังกฤษก็เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเช่นกัน
ปัญหานี้มีความร้อนระอุมากขึ้นเมื่อนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอนและพรรคอนุรักษ์นิยมของเขาต้องเผชิญกับความท้าทายในการเลือกตั้งสภายุโรปเมื่อปี 2014 และการเลือกตั้งในอังกฤษที่พึ่งผ่านพ้นไป การผสมผสานที่นับวันเพิ่มขึ้นของเขตยูโรโซนได้สร้างความท้าทายต่อหน่วยงานอุตสาหกรรมและการเงินของอังกฤษซึ่งต้องมีมาตรการทางนิตินัยเพื่อรักษาสิทธิของสมาชิกอียูที่ไม่อยู่ในเขตยูโรโซน การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนอังกฤษเมื่อเร็วๆนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ชาวอังกฤษส่วนใหญ่ต้องการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป แต่คาดว่า ความต้องการนี้ของอังกฤษจะต้องเผชิญกับการตำหนิจากประเทศสมาชิกในกลุ่ม นาย โฮเซ มานูเอล บาร์โรโซ  ประธานคณะกรรมการยุโรปได้กล่าวว่าอังกฤษใจแคบเพราะเสนอข้อคิดริเริ่มดังกล่าวเพื่อปกป้องผลประโยชน์ส่วนตัว
ก่อนการประชุมผู้นำอียู นายกรัฐมนตรีอังกฤษ คาเมรอน ได้เดินทางไปยังประเทศต่างๆในยุโรปเพื่อเรียกร้องให้มีการหารือเกี่ยวกับปัญหานี้ในระเบียบวาระการประชุม การที่ประเทศสมาชิกถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปถือเป็นปัญหาที่อ่อนไหว ไม่ว่าจะถอนตัวหรือไม่แต่คำประกาศของนายกรัฐมนตรีอังกฤษก็ได้สะท้อนให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่สหภาพยุโรปจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการแยกตัวออกจากกลุ่มของอังกฤษได้
นอกจากนั้น ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหลายประเทศในอียู เช่นการอพยพและความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับรัสเซียก็จะถูกนำมาหารือในการประชุมผู้นำครั้งนี้ แม้ระเบียบวาระการประชุมเต็มไปด้วยความคาดหวังแต่ผลงานที่บรรลุอาจไม่ตรงตามเป้าหมายที่ได้วางไว้./.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด