การฟื้นตัวของตลาดแรงงานเวียดนามมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ

(VOVWORLD) -แรงงานเป็นปัจจัยชี้ขาดในการผลิตประกอบธุรกิจและของระบบเศรษฐกิจ ในการประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ “พัฒนาตลาดแรงงานอย่างคล่องตัว ทันสมัย ยั่งยืนและผสมผสาน” ภายใต้อำนวยการของนายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ที่มีขึ้นในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาได้เสนอมาตรการสำคัญๆเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้ตลาดแรงงานเวียดนามให้มากที่สุด ในหลายปีที่ผ่านมา ตลาดแรงงานเวียดนามมีการพัฒนาอย่างน่าประทับใจ ซึ่งนับวันผสมผสานและเข้าถึงตลาดแรงงานของภูมิภาคและโลกมากขึ้น

การฟื้นตัวของตลาดแรงงานเวียดนามมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ - ảnh 1นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง เป็นประธานในการประชุมพัฒนาตลาดแรงงานอย่างคล่องตัว ทันสมัย สมบูรณ์ ยั่งยืน มีประสิทธิภาพและผสมผสานเข้ากับกระแสโลกเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม (Trần Hải/ nhandan.vn)

สัญญาณแห่งการฟื้นฟูของตลาดแรงงาน

กระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมเวียดนามรายงานว่า ตลาดแรงงานเวียดนามใน 7 เดือนแรกของปี 2022 ยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 แต่ไม่รุนแรงเหมือนช่วงก่อน ในไตรมาสแรกของปีนี้ มีประชาชนอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปประมาณ 16.9 ล้านคนได้รับผลกระทบในทางลบแต่ถึงไตรมาสที่ 2 ได้ลดลงเหลือประมาณ 8 ล้านคนเท่านั้น ในขณะที่ อัตราแรงงานที่ตกงานก็ลดลงเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนๆ

ปัจจุบันนี้ ตลาดแรงงานเวียดนามกำลังฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านปริมาณแรงงานและงานทำ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างแรงงานดำเนินการตามแนวทางที่ดี คุณภาพของงานทำได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นและเงินเดือนก็เพิ่มขึ้น

ใน 6 เดือนแรกของปี 2022 เวียดนามมีแรงงาน 51.4 ล้านคน เพิ่มขึ้น 400,000 คนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในเขตตัวเมืองและลดลงในเขตชนบท โดยอัตราผู้ใช้แรงงานที่เข้าร่วมตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 ได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อโควิด -19 ได้รับการควบคุม แรงงานก็กลับมาหางานทำมากขึ้น รายได้เฉลี่ยของแรงงานเวียดนามใน 6 เดือนแรกของปี 2022 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ในขณะเดียวกัน นโยบายสร้างงานทำและสนับสนุนการพัฒนาตลาดแรงงานต่างๆ ได้รับการปฏิบัติอย่างพร้อมเพรียงและต่อเนื่อง โดยเฉพาะนโยบายฟื้นฟูตลาดแรงงานหลังวิกฤตโควิด -19 ในการปฏิบัติมติ 68 และมติ 116 ของรัฐบาล ทั่วประเทศสามารถสงวนเงินทุนกว่า 82 ล้านล้านด่งเพื่อสนับสนุนผู้ใช้แรงงานกว่า 7 แสนราย รวมไปถึงแรงงานและกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เกือบ 50 ล้านคน และปัจจุบันนี้ ท้องถิ่นต่างๆกำลังปฎิบัติมติที่ 08 ของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการปฏิบัตินโยบายสนับสนุนเงินค่าที่พักให้แก่แรงงานรวมเป็นเงินประมาณ 6.6 ล้านล้านด่ง

ผลักดันตลาดแรงงานเพื่อการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน

ยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจสังคมในระยะ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2021-2030 ของเวียดนามได้กำหนดรูปแบบการพัฒนาเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาด้วยอุตสาหกรรมที่ทันสมัยภายในปี 2030 และประเทศพัฒนาภายในปี 2045 โดยย้ำอีกครั้งว่า การพัฒนาแหล่งบุคลากรเป็น 1 ใน 3 ยุทธศาสตร์เชิงก้าวกระโดด

ในเวลาข้างหน้า เวียดนามจะปรับปรุงกลไก นโยบายกฏหมายอย่างพร้อมเพรียงเพื่อช่วยให้ตลาดแรงงานพัฒนาตามแนวทางที่คล่องตัว ทันสมัย สมบูรณ์ ยั่งยืน มีประสิทธิภาพและผสมผสานเข้ากับกระแสโลกเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การผลิต เน้นพัฒนาแรงงานฝีมือดี ผลักดันการสร้างงานทำที่ยั่งยืนและมีรายได้สูง ผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศและเพิ่มการเชื่อมโยงในตลาดแรงงานทั้งภายในและต่างประเทศ

ในสภาวการณ์แห่งโลกาภิวัติ เวียดนามจะพัฒนาตลาดแรงงาน โดยเน้นในด้านหลักๆที่กำลังให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เช่น การปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล การปรับเปลี่ยนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังเน้นลงทุนในด้านกลไกนโยบายและแหล่งพลังเพื่อสร้างสรรค์ระบบข้อมูลและพยากรณ์ตลาดแรงงานหลากหลายระดับ ตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับประเทศ ดังนั้น การผลักดันการจัดทำนโยบายงานทำบนหลักการณ์แห่งการพยากรณ์ วิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ การเป็นฝ่ายรุกและสอดคล้องกับกลไกเชิงตลาดจะมีส่วนร่วมผลักดันการสร้างงานทำใหม่ งานทำด้านนวัตกรรม งานทำที่มีคุณภาพสูง งานทำที่ยั่งยืนและงานทำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงพลังงาน การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหางานทำให้แก่กลุ่มเสี่ยงหรือแรงงานในเขตห่างไกลความเจริญและเขตทุรกันดาน

ควบคู่กันนั้น เวียดนามยังให้ความสนใจต่อการโยกย้ายของแรงงานและงานทำตามภูมิศาสตร์ ผลักดันการเชื่อมโยงของตลาดงานทำระหว่างเขตต่างๆในประเทศ สร้างกลไกอุปทานและอุปสงค์แบบอัตโนมัติระหว่างตลาดภายในประเทศกับตลาดต่างประเทศ เน้นฝึกอบรมทักษะความสามารถต่างๆ เช่น ภาษาต่างประเทศให้แก่แรงงานเพื่อผสมผสานเข้ากับตลาดแรงงานโลก

ทั้งนี้ด้วยเป้าหมายตลาดแรงงานต้องสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมอย่างเต็มความสามารถ ดังนั้น เวียดนามตั้งใจสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากศักยภาพของตลาดแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อกระบวนการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วและยั่งยืน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด