การสัมมนาเกี่ยวกับผลกระทบจากการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างเทียมในทะเลตะวันออก

(VOVworld) – การสัมมนาระหว่างประเทศในหัวข้อ “การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างทียมในทะเลตะวันออกและผลกระทบต่อสันติภาพ ความมั่นคง เศรษฐกิจและการค้าของภูมิภาค”ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ณ นครโฮจิมินห์โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย นักวิชาการทั้งภายในและต่างประเทศประมาณ 200 คนเข้าร่วมโดยได้ตีความข้อกำหนดของอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลหรือยูเอ็นซีแอลโอเอสปี 1982เกี่ยวกับการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างเทียมในทะเล รวมทั้งในทะเลตะวันออก


(VOVworld) – การสัมมนาระหว่างประเทศในหัวข้อ “การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างทียมในทะเลตะวันออกและผลกระทบต่อสันติภาพ ความมั่นคง เศรษฐกิจและการค้าของภูมิภาค”ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ณ นครโฮจิมินห์โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย นักวิชาการทั้งภายในและต่างประเทศประมาณ 200 คนเข้าร่วมโดยได้ตีความข้อกำหนดของอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลหรือยูเอ็นซีแอลโอเอสปี 1982เกี่ยวกับการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างเทียมในทะเล รวมทั้งในทะเลตะวันออก

การสัมมนาเกี่ยวกับผลกระทบจากการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างเทียมในทะเลตะวันออก - ảnh 1การสัมมนาเกี่ยวกับผลกระทบจากการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างเทียม
ในทะเลตะวันออก

บรรดานักวิชาการจากหลายประเทศและเวียดนามได้ทำการวิเคราะห์ วิจัยและประเมินข้อกำหนดของอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลหรือยูเอ็นซีแอลโอเอสปี 1982 ตลอดจนการที่จีนก่อสร้างเกาะเทียมบางแห่งในทะเลตะวันออกซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบที่คาดไม่ถึง
เขตปลอดภัยที่เหมาะสม
จากการเคลื่อนไหวล่าสุดของจีนในทะเลตะวันออกจึงเป็นปัญหาทางนิตินัยที่เกี่ยวข้องถึงเกาะเทียมและเกาะเทียมสามารถสร้างสิทธิอะไรในทะเล ไม่เพียงแต่เป็นปัญหาทางทฤษฎีเท่านั้นหากยังเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจจากประชามติในปัจจุบันอีกด้วย ดร. โงหิวเฟือก หัวหน้าภาควิชากฎหมายสาธารณะสากล คณะกฎหมายสากลของมหาวิทยาลัยกฎหมายนครโฮจิมินห์ได้แสดงความเห็นว่า การก่อสร้างเกาะเทียมในเขตทะเลต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของยูเอ็นซีแอลโอเอสปี 1982 เพื่อค้ำประกันสิทธิเสรีภาพในการเดินเรือ การบิน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลและการวิจัยวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับทะเลของประเทศอื่นๆ พร้อมทั้งย้ำว่า เกาะเทียมไม่มีน่านน้ำ ไม่มีเขตติดกับเขตน่านน้ำ เขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีป เช่นเดียวกับความคิดเห็นของดร. โงหิวเฟือก ศาสตราจารย์ ดร. Erik Franckx อนุญาโตตุลาการของศาลอนุญาโตตุลาการประจำสหประชาชาติ ณ กรุงเฮกได้ยืนยันว่า ตามข้อกำหนดของยูเอ็นซีแอลโอเอสปี1982 รัศมีเขตปลอดภัยของเกาะเทียมต้องไม่เกิน 500 เมตรนับจากฝั่งของเกาะ นอกจากนั้น อำนาจในเขตปลอดภัยดังกล่าวต้องให้ความเคารพกิจกรรมการเดินเรือระหว่างประเทศ“ได้มีการระบุอย่างชัดเจนในกฎหมายทะเลสากลว่า ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนดของกฎหมายทางทะเลระหว่างประเทศปี 1982 ในธรรมชาติมีหน้าผา โขดหินและเกาะที่พวกเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพได้เพราะส่งผลกระทบตามข้อกำหนดของกฎหมายสากลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ข้อกำหนดที่ 2 ที่ผมอยากย้ำถึงและเป็นเนื้อหาของการสัมมนาครั้งนี้คือการก่อสร้างเกาะเทียมไม่สามารถสร้างสิทธิใหม่ๆและยังคงต้องถือเป็นเกาะเทียมตามข้อกำหนดของกฎหมายสากล”

การสัมมนาเกี่ยวกับผลกระทบจากการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างเทียมในทะเลตะวันออก - ảnh 2
การที่จีนปรับปรุงเกาะต่างๆดังกล่าวถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของเวียดนาม อำนาจอธิปไตยและอำนาจศาลของเวียดนาม

ผลกระทบในทางลบ

ศาสตราจารย์ ดร. มายห่งกวี่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยกฎหมายนครโฮจิมินห์ได้แสดงความเห็นว่า จีนไม่มีสิทธิ์ก่อสร้างเกาะเทียมบนหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ พร้อมทั้งชี้ชัดว่า จีนได้ใช้ความรุนแรงเพื่อโจมตีและยึดโขดหินบางแห่งในหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ที่อยู่ในอธิปไตยของเวียดนาม กฎหมายสากลไม่เคยรับรองอธิปไตยให้แก่ดินแดนยึดครองด้วยการใช้ความรุนแรง ดังนั้น การก่อสร้างเกาะเทียมต่างๆของจีนในหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรตลีย์จึงเป็นสิ่งที่ละเมิดกฎหมายสากล โดยเฉพาะยูเอ็นซีแอลโอเอสปี 1982 การที่จีนทำการก่อสร้างเป็นพื้นที่บริเวณกว้างเพื่อเปลี่ยนแปลงโขดหินที่ยึดครองมาอย่างผิดกฎหมายในหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ให้กลายเป็นเกาะเทียมได้สร้างอุปสรรคและคุกคามต่อเสรีภาพในการเดินเรือ การบินและการค้าในภูมิภาคและโลก เพราะเพื่อเป้าหมายปกป้องเกาะเทียมที่ผิดกฎหมาย จีนได้ประกาศจัดตั้งเขตทะเล 12 ไมล์ทะเลรอบๆเกาะเทียม อีกทั้งยังห้ามเรือและเครื่องบินของประเทศอื่นเข้ามาในเขตทะเลและเขตน่านฟ้าเหนือเกาะเทียมนั้น นักกฎหมาย ดั่งวันมิง อุปนายกสมาคมนักกฎหมายเขต 11 นครโฮจิมินห์ได้แสดงความเห็นว่าจีนอยากให้ปัญหาที่ไม่ไช่การพิพาทกลายเป็นปัญหาการพิพาทจึงได้ปรับปรุงโขดหินให้กลายเป็นเกาะต่างๆเพื่อประกาศอธิปไตยของตนเหนือเกาะเหล่านี้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่เส้นประ 9 เส้นของจีน นอกจากเวียดนามที่ได้ออกมาคัดค้านจีนแล้ว กลุ่มประเทศจี7 รวมทั้งสหรัฐก็ได้ประท้วงการกระทำของจีนเช่นกัน การที่จีนปรับปรุงเกาะต่างๆดังกล่าวถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของเวียดนาม อำนาจอธิปไตยและอำนาจศาลของเวียดนาม
การก่อสร้างเกาะเทียมของจีนบนหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ยังส่งผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล ดร. ฝ่ามวันหวอ รองคณะบดีคณะกฎหมายการค้าของมหาวิทยาลัยกฎหมายนครโฮจิมินห์แสดงความเห็นว่า การกระทำของจีนละเมิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ขัดกับเจตนารมณ์ในหลักการข้อที่ 2 ของแถลงการณ์สต็อกโฮล์ม ตลอดจนไม่สอดคล้องกับหลักการข้อที่ 7 ของแถลงการณ์รีโอเดจาเนโรเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา นอกจากนั้น การทำลายแนวปะการังจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลคือการละเมิดหน้าที่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามมาตรา 192และมาตรา 193 ของยูเอ็นซีแอลโอเอสปี 1982 ในขณะเดียวกัน ศาตราจารย์ ดร. Jay Batongbaca ผู้อำนวยการสถาบันความสัมพันธ์การเดินเรือและกฎหมายทะเลฟิลิปปินส์ได้แสดงความเห็นว่า กิจกรรมการปรับปรุงเกาะของจีนในทะเลตะวันออกได้รับการปฏิบัติอย่างรวดเร็วและน่ากลัวซึ่งส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลและสร้างความท้าทายโดยตรงต่อการแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออกอย่างยุติธรรมและไม่ลำเอียง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด