การเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์จุดประกายความหวังเกี่ยวกับสันติภาพ

(VOVworld)– แม้ยังจะมีขวากหนามมากมายบนเส้นทางที่ก้าวไปสู่มาตรการ๒รัฐอยู่ร่วมกันอย่างสันติแต่การเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่เพิ่งเสร็จสิ้นลง ณ กรุงวอชิงตันได้จุดประกายความหวังให้แก่ชาวอิสราเอล ปาเลสไตน์และประชาคมระหว่างประเทศเกี่ยวกับสันติภาพที่แท้จริงในตะวันออกกลาง
(VOVworld) – ในการเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่เพิ่งเสร็จสิ้นลง ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐหลังจากที่ทำการเจรจามาเป็นเวลา๒วัน แม้ยังจะมีขวากหนามมากมายบนเส้นทางที่ก้าวไปสู่มาตรการ๒รัฐอยู่ร่วมกันอย่างสันติแต่การเจรจาสันติภาพครั้งนี้ได้จุดประกายความหวังให้แก่ชาวอิสราเอล ปาเลสไตน์และประชาคมระหว่างประเทศเกี่ยวกับสันติภาพที่แท้จริงในตะวันออกกลาง
การเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์จุดประกายความหวังเกี่ยวกับสันติภาพ - ảnh 1
นาง ทซิพี ลิฟนี่รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมและหัวหน้าคณะเจรจาของอิสราเอล นายจอห์น เคอร์รีรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐและนายซาเอ็บ เอรากัต หัวหน้าคณะเจรจาของปาเลสไตน์( Photo:dongnai)

(VOVworld) –  หลังจากเสร็จสิ้นการเจรจาที่มีนาง ทซิพี ลิฟนี่ รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมและหัวหน้าคณะเจรจาของอิสราเอล และนายซาเอ็บ เอรากัต หัวหน้าคณะเจรจาของปาเลสไตน์เข้าร่วม นายจอห์น เคอร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐได้ประกาศว่า การเจรจาได้ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่ายินดีโดยได้ดำเนินไปในบรรยากาศแห่งการสร้างสรรค์และตรงไปตรงมาและทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องกันว่า จะหารือเกี่ยวกับทุกปัญหาที่เกี่ยวข้องถึงข้อตกลงสันติภาพ รวมทั้งปัญหาพื้นฐานอื่นๆ ที่เป็นรูปธรรมคือ ในรอบ๒สัปดาห์ที่จะถึง อิสราเอลและปาเลสไตน์เห็นพ้องกันว่า จะพบปะกันเพื่อเริ่มการเจรจาอย่างเป็นทางการพร้อมทั้งยืนยันว่า จะพยายามบรรลุข้อตกลงในทุกด้านให้ได้ภายใน๙เดือน  แม้ว่า การพบปะเป็นเวลา๒วันจะเป็นเพียงการเริ่มต้นเพื่อวางแผนการเจรจาที่มีกรอบกว้างขึ้นต่อไป แต่บรรดานักวิเคราะห์เห็นว่า มีสัญญาณมากมายที่สร้างความหวังเกี่ยวกับความคืบหน้าสันติภาพในภูมิภาค ก่อนการเจรจา ทั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ต่างมีก้าวเดินที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาที่ดีและความประสงค์ที่จะแสวงหาสันติภาพ ควบคู่กับคำประกาศของนายกรัฐมนตรีอิสราเอลเบนจามิน เนทันยาฮูที่ว่า การรื้อฟื้นการเจรจากับปาเลสไตน์เป็นวิธีการที่จะทำให้อิสราเอลสามารถอยู่รอดได้ ส่วนทางการTel Avivก็ได้ปล่อยนักโทษปาเลสไตน์กว่า๑๐๐คนและจะไม่ออกใบอนุญาตเพื่อก่อสร้างเขตที่ตั้งถิ่นฐานให้แก่ชาวยิวในดินแดนฝั่งตะวันตกของชาวปาเลไสตน์ซึ่งเป็นหนึ่งในการกระทำที่ทำลายความไว้วางใจระหว่างสองฝ่ายเพื่อแลกกับการที่ฝ่ายปาเลสไตน์จะไม่มีปฏิบัติการทางการทูตเพื่อต่อต้านอิสราเอลในทุกองค์การระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ปาเลสไตน์ยังลดเงื่อนไขล่วงหน้าเกี่ยวกับการระงับการก่อสร้างเขตตั้งถิ่นฐานและการที่อิสราเอลต้องยอมรับแนวพรมแดนก่อนปี๑๙๖๗เป็นพื้นฐานของการเจรจาเกี่ยวกับแนวพรมแดน
สัญญาณที่๒ที่สร้างความหวังให้แก่ประชามติคือ การเจรจาครั้งนี้จะสงวนเวลาค่อนข้างยาวเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถหารือกันซึ่งต่างจากการเจรจาที่ล้มเหลวเมื่อปี๒๐๑๐ที่นายมาห์มุด อับบาส ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ได้ยอมทำการเจรจาเมื่อใกล้จะถึงกำหนดการ๑๐เดือนของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูเกี่ยวกับการระงับการก่อสร้างเขตตั้งถิ่นฐานและการเจรจานั้นก็ได้เสร็จสิ้นลงอย่างรวดเร็ว แต่ครั้งนี้ ทุกฝ่ายให้คำมั่นว่า จะสงวนเวลา๙เดือนให้แก่การเจรจาซึ่งเพียงพอเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายพยายามไปสู่ข้อตกลงสันติภาพ  ทั้งสองฝ่ายยังให้คำมั่นว่า จะหารืออย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับปัญหาสำคัญทั้งหมดซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น สุดท้ายต้องกล่าวถึงบทบาทการเป็นคนกลางของสหรัฐโดยการเจรจาระหว่างอิสราเอลกับปาเสสไตน์หยุดชะงักมาหลายครั้งแล้วและการสนทนาเมื่อเดือนกันยายนปี๒๐๑๐ได้ประสบความล้มเหลวเนื่องจากอิสราเอลปฏิเสธระงับการก่อสร้างเขตตั้งถิ่นฐาน ด้วยเหตุนี้ การสนทนาครั้งใหม่พร้อมกับผลสำเร็จที่น่ายินดีได้สร้างความหวังเกี่ยวกับสันติภาพซึ่งถือเป็นความปรารถนาอย่างแรงกล้าในตะวันออกลาง  ความสำเร็จนี้มาจากความพยายามอย่างสูงสุดของนายจอห์น เคอร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ  ในการเยือนเขตดินแดนที่ร้อนระอุนี้เป็นครั้งที่๖ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นับตั้บแต่รับตำแหน่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ รัฐมนตรีจอห์น เคอร์รี มีตารางเวลาที่แน่นขนัดและการพบปะกับเจ้าหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายได้นำไปสู่ข้อตกลงดังความคาดหมายซึ่งจากอิทธิพลในภูมิภาค โดยเฉพาะ ต่อพันธมิตรที่ใกล้ชิดสนิทสนมอย่างอิสราเอล มีหลายเหตุผลที่ทำให้เชื่อได้ว่า ทางการของประธานาธิบดีบารัก โอบามาจะไม่หยุดอยู่แค่การรื้อฟื้นข้อตกลงเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลางเท่านั้นหากยังมีความพยายามมากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างเสถียรภาพในภูมิภาคที่เกี่ยวพันถึงผลประโยชน์ของสหรัฐ ซึ่งในนั้นสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ถือเป็นปัญหาสำคัญที่สุด          
ถึงอย่างไรก็ดี ประชามติเห็นว่า จุดเปลี่ยนครั้งประวัติศาสตร์นี้มิใช่จุดหมายปลายทางสุดท้ายเพื่อสร้างสันติภาพและทุกฝ่ายยังต้องมีความพยายามอีกมากเพราะยังมีความท้าทายมากมายที่ต้องฟันฝ่า เช่น ความแตกแยกภายในปาเลสไตน์ระหว่างกลุ่มฮามาสที่กำลังควบคุมฉนวนกาซ่ากับทางการในฝั่งตะวันตกและความวิตกกังวลเกี่ยวกับความทะเยอทะยานทางผลประโยชน์ของทุกฝ่ายเมื่อรื้อฟื้นการเจรจาเป็นต้น ดังนั้น ความเป็นไปได้ที่จะบรรลุผลงานที่เป็นรูปธรรมที่ทั้งสองฝ่ายสามารถยอมรับได้เพื่อไปสู่สันติภาพอย่างถาวรยังคงอยู่ยาวไกล  อย่างไรก็ตาม ประชามติยังคงตั้งความหวังต่อความสำเร็จของกระบวนการสันติภาพที่เพิ่งได้รับการรื้อฟื้นโดยสหรัฐเป็นคนกลาง หลังจากที่ต้องอยู่ในเงามืดมาหลายปี ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด