การเดินขบวนประท้วงในตุรกีถือเป็นสัญญาณเตือนภัย

(VOVWorld) –  จากที่เคยเป็นประเทศที่ถือว่า ประสบความสำเร็จในการใช้รูปแบบการเมืองอิสลาม แต่ปัจจุบัน ตุรกีกำลังเกิดความไม่สงบเนื่องจากการเดินขบวนประท้วงรัฐบาลในกว่า๑๐วันที่ผ่านมาและมีความเสี่ยงจะลุกลามขยายวงกว้างออกไป แม้ว่า นายกรัฐมนตรีเรเซฟ ตอยยิบ เออร์โดแกนได้มีท่าทีผ่อนปรนแล้วก็ตามแต่โอกาสแสวงหามาตรการต่างๆเพื่อยุติการพิพาทโดยทันทียังมีขวากหนามขวางกั้นมากมายเนื่องจากความไร้เสถียรภาพภายในประเทศนี้

(VOVWorld) –  จากที่เคยเป็นประเทศที่ถือว่า ประสบความสำเร็จในการใช้รูปแบบการเมืองอิสลาม แต่ปัจจุบัน ตุรกีกำลังเกิดความไม่สงบเนื่องจากการเดินขบวนประท้วงรัฐบาลในกว่า๑๐วันที่ผ่านมาและมีความเสี่ยงจะลุกลามขยายวงกว้างออกไป แม้ว่า นายกรัฐมนตรีเรเซฟ ตอยยิบ เออร์โดแกนได้มีท่าทีผ่อนปรนแล้วก็ตามแต่โอกาสแสวงหามาตรการต่างๆเพื่อยุติการพิพาทโดยทันทียังมีขวากหนามขวางกั้นมากมายเนื่องจากความไร้เสถียรภาพภายในประเทศนี้
การเดินขบวนประท้วงในตุรกีถือเป็นสัญญาณเตือนภัย - ảnh 1
การชุมนุมประท้วงที่ จัตุรัสทักซิม( Photo:Reuters)

เหตุการณ์ล่าสุดคือ ภายหลังการประชุมคณะรัฐบาล๖ชั่วโมง วันที่๑๑ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีเรเซฟ ตอยยิบ เออร์โดแกนได้ตกลงที่จะพบปะกับแกนนำของกลุ่มผู้ประท้วงเพื่อรับฟังความคิดเห็นและยุติความวุ่นวายของประเทศในหลายวันที่ผ่านมา แม้จะมีปฏิบัติการไกล่เกลี่ยแล้วแต่รัฐบาลของนายเรเซฟ ตอยยิบ เออร์โดแกนก็ยังคงแถลงว่า จะไม่ปล่อยให้เกิดการเดินขบวนที่ผิดกฏหมายในดินแดนตุรกีอีกและความอดกลั้นมีขีดจำกัด แต่โดยไม่สนใจต่อคำเตือนนี้ เมื่อวันที่๑๑เดือนนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมในใจกลางกรุงอังการา ในขณะที่ยังมีผู้มาร่วมชุมนุมกันนับพันคนที่จัตุรัสทักซิมในอิสตันบูลโดยเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเรเซฟ ตอยยิบ เออร์โดแกนลาออกจากตำแหน่ง            การเดินขบวนประท้วงรัฐบาลครั้งนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากการชุมนุมของกลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ไม่ต้องการให้ทางการก่อสร้างศูนย์การค้าที่สวนสาธารณะเกซี ในอิสตันบูลซึ่งการประท้วงได้ยืดเยื้อจนทางการต้องใช้กำลังสลายกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งถือว่า ใช้กำลังเกินกว่าเหตุจนทำให้การประท้วงลุกลามไปทั่วประเทศ จนถึงปัจจุบัน สำนักงานและร้านค้า๒๘๐แห่งพร้อมรถยนต์ของตำรวจนับสิบคันใน๖๗เมืองทั่วประเทศถูกเผาทำลาย มีมูลค่าความเสียหายคิดเป็น๔๐ล้านเหรียญสหรัฐ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย๓คนและได้รับบาดเจ็บอีกกว่า๕พันคน  เมื่อกลับจากการเยือนอัฟริกา นายกรัฐมนตรีตุรกีได้พยายามโน้มน้าวให้ประชาชนเข้าใจว่า การจราจลที่กำลังเกิดขึ้นไม่ใช่ปรากฏการณ์ของประชาธิปไตย นายบูแลนต์ อารีนซ์ รองนายกรัฐมนตรีตุรกี ในนามรัฐบาลได้ออกมาขอโทษผู้เดินขบวนว่า รัฐบาลได้ถอดบทเรียนจากทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นและเรียกร้องให้พลเมืองมีความรับผิดชอบและยุติการเดินขบวน แต่การเดินขบวนก็ยังไม่มีสัญญาณที่จะยุติลง            การเดินขบวนได้แสดงให้เห็นถึงความผิดหวังที่นับวันยิ่งเพิ่มขึ้นของประชาชนค่อทางการของนายกรัฐมตรีเรเซฟ ตอยยิบ เออร์โดแกน ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ในหลายปีที่ผ่านมา ตุรกีได้มีการพัฒนาอย่างข้ามขั้นทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง สถานะของตุรกีนับวันยิ่งสูงเด่นเป็นที่ยอมรับบนเวทีโลกและภูมิภาค อย่างไรก็ดี ภายในประเทศตุรกี นโยบายพัฒนาอิสลามของพรรคยุติธรรมและการพัฒนาได้ถูกประท้วงอย่างรุนแรงจากฝ่ายเสรีนิยม โดยนโยบายต่างๆของรัฐบาล เช่น จำกัดการขายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จับกุมตัวนักข่าว นักเขียนและศิลปินอย่างไร้เหตุผลได้สร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชนโดยได้ตำหนิติติงว่า เป็นสัญญาณของการอนุรักษ์นิยม และล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัว พรรคฝ่ายค้านประเทศนี้ก็ใช้โอกาสนี้เพื่อกล่าวหาพรรคยุติธรรมและการพัฒนาซึ่งเป็นพรรครัฐบาลว่า กำลังมุ่งสู่รูปแบบรัฐอิสลามหัวอนุรักษ์นิยมเพื่อแทนที่รัฐฆราวาสนิยมปัจจุบัน ถ้าย้อนมองดูทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น เช่น ที่ตูนีเซีย และอียิปต์ ดูเหมือนว่า การแบ่งขั้วระหว่างชาวมุสลิมกับผู้เดินตามแนวทางฆราวาสนิยม โดยชาวอิสลามที่กุมอำนาจก็ถูกกล่าวหาว่า ไม่ปฏิบัติตามคำมั่นเกี่ยวกับการค้ำประกันสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพที่กำลังเกิดขึ้นอีกครั้งในประเทศที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับประชาธิปไตยอิสลามสายกลาง การเดินขบวนในตุรกีถือว่า เป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับความเฟ้อฝันว่าด้วยการมีบทบาทนำหน้าเพื่อก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงของผู้เดินตามแนวทางเสรีนิยมและฆราวาสนิยม  ความไม่สงบในปัจจุบันไม่เพียงแต่เป็นปฏิกิริยาของประชาชนต่อโครงการหรือกฎหมายที่สร้างความถกเถียงของรัฐบาลเท่านั้น แต่ในทางเป็นจริง ประเทศที่ถูกผลกระทบจาก“วสันต์ฤดูอาหรับ”  ถึงแม้จะมีเชื้อไฟเล็กๆแต่ก็สามารถทำให้ความไม่พอใจของประชาชนต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลที่กุมอำนาจมาอย่างยาวนานปะทุขึ้นมาได้

            ตามบรรดานักวิเคราะห์ ขณะนี้มีทางเลือก๓ ทางให้แก่ตุรกี ๑คือ นายกรัฐมนตรีเรเซฟ ตอยยิบ เออร์โดแกน ลาออกจากตำแหน่งและจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนด ๒คือ ผู้เดินขบวนอาจถูกตำรวจใช้ความรุนแรงเพื่อสลายการชุมนุม อย่างไรก็ดี ถ้าหากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเรเซฟ ตอยยิบ เออร์โดแกนมีความอดกลั้น ไม่จับกุมตัวและปราบปรามประชาชน รู้จักสนทนา กระแสคลื่นประท้วงก็จะคลี่คลายลง ๓คือ การปะทะที่ไม่สามารถแก้ไขได้ จะยืดเยื้อเหมือนซีเรีย ทั้งนี้และทั้งนั้น ประชามติระหว่างประเทศเห็นว่า ถ้าหากทางการอังการาไม่มีมาตรการที่จริงจังอย่างรวดเร็วเพื่อปลอบขวัญประชาชน บริบทวสันต์ฤดูอาหรับที่เคยเกิดขึ้นในหลายประเทศในภูมิภาค ก็จะอาจเกิดขึ้นในตุรกีอย่างหนีไม่พ้น./.

         


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด