การเยือนที่สร้างนิมิตหมายในการกลับมาของสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(VOVWORLD) - หลังจากเสร็จสิ้นการเยือนสิงคโปร์ในระหว่างวันที่ 22 ถึงวันที่ 24 สิงหาคม วันที่ 24 สิงหาคม รองประธานาธิบดีสหรัฐ กมลา แฮร์ริส ได้เดินทางมาเยือนเวียดนามเป็นเวลา 3 วัน นี่เป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกของนาง กมลา แฮร์ริสในฐานะรองประธานาธิบดีของทางการชุดใหม่ของสหรัฐ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคำมั่นที่ยาวนานของสหรัฐต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และการส่งเสริมความร่วมมือในหลายด้าน



การเยือนที่สร้างนิมิตหมายในการกลับมาของสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - ảnh 1รองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส ไปเยือนสิงคโปร์เมื่อวันที่ 22 สิงคโปร์ (AP)

การเยือนเวียดนามและสิงคโปร์ครั้งนี้ของรองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส มีขึ้นหลังจากที่รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐLloyd Austin เยือนสิงคโปร์ เวียดนามและฟิลิปปินส์เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม การที่เวียดนามและสิงคโปร์เป็นจุดหมายปลายทางของเจ้าหน้าที่ระดับสูงสหรัฐอีกครั้งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงนโยบายของทางการสหรัฐต่อคำมั่นเกี่ยวกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง รวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เจริญรุ่งเรืองและเสถียรภาพ

ยืนยันอีกครั้งถึงความสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในนโยบายอินโด-แปซิฟิก

นับตั้งแต่ขึ้นบริหารประเทศ ทางการของประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน ได้ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ในเอกสารแนะนำยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติฉบับชั่วคราวที่ได้รับการเผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคมปี 2021 ระบุว่าสหรัฐจะกระชับความสัมพันธ์หุ้นส่วนกับอินเดียให้ลึกซึ้งมากขึ้น ทำงานร่วมกับนิวซีแลนด์ สิงคโปร์ เวียดนามและประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยสหรัฐถือสิงคโปร์เป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดที่สุดในภูมิภาคนี้ ในขณะที่เวียดนามก็เป็นหุ้นส่วนความมั่นคงที่น่าสนใจและเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่ประเทศสิงคโปร์ นางกมลา แฮร์ริส ได้พบปะและแถลงข่าวร่วมกับนายกรัฐมนตรีลีเซียนลุง โดยยืนยันอีกครั้งถึงคำมั่นของสหรัฐในการร่วมมือกับพันธมิตรและหุ้นส่วนต่างๆในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเพื่อธำรงระเบียบระหว่างประเทศบนพื้นฐานของกฎระเบียบและเสรีภาพในการเดินเรือ รวมทั้งในทะเลตะวันออก นางกมลา แฮร์ริสยังกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของทางการประธานาธิบดีโจ ไบเดน ต่อภูมิภาคอีกด้วย

ส่วนที่เวียดนาม รองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส ได้พบปะกับนายกรัฐมนตรี ฝ่าม มิง ชิ้ง เพื่อหารือโดยตรงเกี่ยวกับเนื้อหาหลัก3 ประเด็นที่ทั้งสองประเทศต่างให้ความสนใจในปัจจุบัน ได้แก่ ความร่วมมือในการรับมือป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค ในการเยือน นางกมลา แฮร์ริสยังมีการพบปะกับผู้นำคนอื่นๆของเวียดนามด้วย

เวียดนาม - สหรัฐฯ มีผลประโยชน์ร่วมกันมากมาย

นับตั้งแต่บริหารประเทศเมื่อต้นปี 2021ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง เวียดนาม จนถึงขณะนี้ เวียดนามเป็นหนึ่งใน 7 ประเทศที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากสหรัฐมากที่สุด ก่อนหน้านั้น ในการเยือนเวียดนามของรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐลอยด์ ออสติน สหรัฐได้ให้คำมั่นว่าจะมอบตู้แช่แข็ง 77 ตู้เพื่อใช้เก็บวัคซีนโควิด-19 ให้แก่เวียดนามและเพื่อยืนยันถึงคำมั่นร่วมมือในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริสจะเข้าร่วมพิธีเปิดสำนักงาน CDC ของสหรัฐในกรุงฮานอย ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายแห่งความสำเร็จของความร่วมมือด้านสาธารณสุขเชิงป้องกันระหว่างสหรัฐกับเวียดนามในตลอดหลายปีที่ผ่านมาและแสดงให้เห็นว่าสหรัฐไว้วางใจให้เวียดนามเป็นศูนย์กลางสำหรับกิจกรรมของสำนักงาน CDC ของสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับเรื่องการค้า ก็เป็นอีกเนื้อหาหลักในกรอบการเยือนเวียดนามของนางกมลา แฮร์ริส ปัจจุบัน เวียดนามกำลังเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญในห่วงโซ่อุปทานระดับโลกและเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับที่ 13 ของสหรัฐ ถึงแม้เผชิญการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่มูลค่าการส่งออกของเวียดนามไปยังสหรัฐยังคงเติบโตอย่างเข้มแข็ง เวียดนามก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกเนื่องจากนักลงทุนต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาในเวียดนามเพื่อผลิตสินค้าส่งออกไปยังสหรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานบางส่วน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องจักรและเทคโนโลยี ดังนั้นการเยือนเวียดนามของนางกมลา แฮร์ริสจึงเป็นโอกาสของทั้งสองฝ่ายในการแสวงหามาตรการแก้ไขปัญหานี้

การเยือนสิงคโปร์และเวียดนามครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าทำเนียบขาวกำลังมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้คือการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหุ้นส่วนที่สำคัญเพื่อต่อสู้กับโควิด-19 ฟื้นฟูการเติบโตของเศรษฐกิจและแก้ไขความท้าทายในอนาคต  เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสิ่งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงทัศนะของสหรัฐในการให้ความสำคัญต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในนโยบายอินโด-แปซิฟิกที่เปิดกว้างและเสรี และเป็นการกลับมาให้ความสนใจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้ง ผ่านการเยือนระดับสูงพร้อมประเด็นที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆและการปฏิบัติที่ที่จริงจังมากขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด