การเยือนที่เต็มไปด้วยเป้าหมายของนายกรัฐมนตรีเยอรมนี

(VOVWORLD) -เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีเยอรมนี โอลัฟ ช็อลทซ์ ได้เดินทางไปเยือนประเทศอินเดียอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นประเทศที่นับวันมีสถานะที่สำคัญในภูมิภาคและโลก การเยือนครั้งนี้ของนายกรัฐมนตรีเยอรมนีมีขึ้นในสภาวการณ์ที่เยอรมนีและยุโรปกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายที่รุนแรงจึงมีความหมายที่สำคัญไม่เพียงแต่ต่อเยอรมนีเท่านั้นหากยังต่อทั้งยุโรปอีกด้วย

การเยือนที่เต็มไปด้วยเป้าหมายของนายกรัฐมนตรีเยอรมนี - ảnh 1นายกรัฐมนตรีเยอรมนี โอลัฟ ช็อลทซ์ และนายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทราโมดี (Photo: Indiaexpress)

นี่เป็นการเยือนอินเดียครั้งแรกของนาย โอลัฟ ช็อลทซ์ นับตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนีเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2021  ซึ่งการเยือนนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากประชามติโลกเนื่องจากมีขึ้นในสภาวการณ์ที่เยอรมนีและประเทศต่างๆในยุโรปกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครน ส่วนอินเดียก็ถือเป็นหุ้นส่วนสำคัญที่ฝ่ายต่างๆอยากเข้าใกล้เพื่อสร้างความสัมพันธ์

สภาวการณ์พิเศษ

บรรดานักวิเคราะห์ระหว่างประเทศเห็นว่า การเยือนครั้งนี้มีขึ้นในสภาวการณ์พิเศษเพราะประจวบกับโอกาสครบรอบ 1 ปีที่เกิดการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่กำลังส่งผลกระทบอย่างกว้างลึกต่อสสถานการณ์ภูมิศาสตร์การเมืองของโลก  โดยยุโรปเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักที่สุด แต่สิ่งที่น่าสนใจคือในวิกฤตนี้ เยอรมนีนับวันแสดงบทบาทและอิทธิพลที่ชัดเจน โดยเป็นหนึ่งในประเทศตะวันตกที่จัดสรรอาวุธและเงินมากที่สุดให้แก่ยูเครน ซึ่งข้อมูลที่สถาบันเศรษฐกิจโลก Kiel ของเยอรมนีได้เปิดเผยระบุว่า จนถึงขณะนี้ เยอรมนีได้ให้คำมั่นช่วยเหลือทางทหาร มูลค่ากว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ยูเครน

ในขณะเดียวกัน เยอรมนีกำลังปรับปรุงนโยบายการต่างประเทศอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะกับประเทศมหาอำนาจต่างๆ โดยผลักดันความสัมพันธ์กับพันธมิตรเก่าแก่คือสหรัฐและยุโรป ขยายช่องว่างกับรัสเซีย โดยเฉพาะด้านพลังงาน ควบคู่กันนั้น เยอรมนีก็กำลังผลักดันความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนเศรษฐกิจและตลาดใหญ่เพื่อลดการพึ่งพาจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีประชากรมากที่สุดในโลก

ในสภาวการณ์ดังกล่าว อินเดียก็กลายเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญเนื่องจากอินเดียไม่เพียงแต่เป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลกเท่านั้นหากยังมีสถานะทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองและที่น่าสนใจคือ อินเดียเป็นหนึ่งในประเทศที่ไม่สนับสนุนมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียที่เยอรมนีและประเทศตะวันตกกำลังปฏิบัติ โดยเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ อินเดียยังคงแสดงท่าทีงดออกเสียงในการลงคะแนนของสมัชชาใหญ่สหประชาชาติเกี่ยวกับมติที่เรียกร้องให้รัสเซียถอนทหารออกจากยูเครนทันที ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 12 ตุลาคมปี 2022 อินเดียก็งดออกเสียงต่อร่างมติที่คัดค้านรัสเซียผนวกภูมิภาค 4 แห่งที่ประกาศแยกตัวออกจากยูเครนเข้าเป็นดินแดนของตน  ในขณะเดียวกันอินเดียยังธำรงและขยายความสัมพันธ์ร่วมมือกับรัสเซีย โดยเฉพาะด้านพลังงาน ซึ่งมีส่วนช่วยให้รัสเซียมีพลังที่สำคัญเพื่อฟันฝ่าความยากลำบากจากมาตรการคว่ำบาตรของฝ่ายตะวันตก

ก้าวเดินเชิงยุทธศาสตร์กับเยอรมนี

ทั้งนี้ การเยือนอินเดียของนายกรัฐมนตรีเยอรมนีถือเป็นก้าวเดินเชิงยุทธศาสตร์พร้อมเป้าหมายอันทะเยอทะยาน โดยเน้นถึงการผลักดันความสัมพันธ์ร่วมมืออย่างกว้างลึกระหว่างเยอรมนีกับอินเดีย ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในการเจรจาระหว่างนายกรัฐมนตรีเยอรมนีกับนายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทรา โมดี เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ผู้นำทั้งสองท่านได้หารือเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคี ปัญหาที่ได้รับความสนใจร่วมกัน เช่น การปะทะในยูเครน สถานการณ์ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ต่อจากนั้น ผู้นำทั้งสองท่านได้พบปะกับตัวแทนสถานประกอบการทั้งสองประเทศ ในกรอบการเยือน นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้เดินทางไปเยือนเมืองบังกาลอร์ ซึ่งเป็น “ซิลิคอน วัลเลย์"ของอินเดีย

ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหลังการเจรจา นายกรัฐมนตรีเยอรมนี  โอลัฟ ช็อลทซ์ได้ยืนยันว่า ทั้งสองประเทศได้เห็นพ้องที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างอินเดียกับอียู  รวมทั้งการปฏิบัติระเบียการเพื่อมุ่งสู่การลงนามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสองฝ่าย นายกรัฐมนตรีเยอรมนียังชื่นชมการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและซอฟแวร์ในอินเดีย พร้อมทั้งย้ำว่า บริษัทต่างๆที่มีทักษะความสามารถกำลังประกอบธุรกิจในอินเดีย อีกทั้งแสดงความประสงค์ว่า เยอรมนีสามารถดึงดูดแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูงจากอินเดีย

ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ระหว่างประเทศ การส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้ากับอินเดียเป็นก้าวเดินเชิงยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนเป้าหมายอันทะเยอทะยานของนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้เยอรมนีและอียูใช้ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ-การค้าที่ยิ่งใหญ่จากอินเดียเท่านั้น หากยังช่วยเสริมสร้างและส่งเสริมสถานะของเยอรมนี ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในอียู ตอบสนองเป้าหมายเพิ่มความหลากหลายของตลาดของเยอรมนีและเสริมสร้างสถานะของนายกรัฐมนตรี โอลัฟ ช็อลทซ์ในเยอรมนีและอียู ตลอดจนเปิดโอกาสเพื่อส่งเสริมความใกล้ชิดระหว่างอินเดียกับอียูและฝ่ายตะวันตกมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดีบรรดานักวิเคราะห์เห็นว่า ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินประสิทธิภาพของแผนการดังกล่าว.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด