การเลือกตั้งสภาล่างรอบ2 ฝรั่งเศสสามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ต้องกังวล

(VOVWORLD) -ความพยายามของพรรคการเมืองต่างๆ โดยเฉพาะพรรคฝ่ายซ้ายในการเลือกตั้งสภาล่างฝรั่งเศสก่อนกำหนดรอบที่ 2 ที่มีขึ้นเมื่อวันที่v 7 กรกฎาคมได้ช่วยให้ประเทศฝรั่งเศสหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่น่ากังวลมากที่สุดคือพรรคเนชันแนล แรลลี (RN)ซึ่งเป็นฝ่ายขวาจัดครองอำนาจ แต่ในขณะเดียวกันการเลือกตั้งนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงความแตกแยกที่ร้าวลึกในระบบการเมืองของฝรั่งเศสที่เสี่ยงต่อการสร้างภาวะชะงักงันในระยะยาว
การเลือกตั้งสภาล่างรอบ2 ฝรั่งเศสสามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ต้องกังวล - ảnh 1(VNA)

ผลการเลือกตั้งรอบที่ 2 ที่ประกาศในเช้าวันที่ 8 เดือนนี้ปรากฎว่า พันธมิตรฝ่ายซ้ายแนวร่วมประชาชนใหม่ (NFP) ที่รวม 4 พรรคการเมืองได้คะแนนมาเป็นอันดับหนึ่งด้วย 182 ที่นั่งในรัฐสภาชุดใหม่วาระปี 2024-2029  กลุ่มพรรคการเมืองสายกลาง‘เอนเซมเบิล’ (EN) พันธมิตรการเมืองของนาย เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้อันดับ 2 ได้ 168 ที่นั่ง ส่วนพรรคเนชันแนล แรลลี (RN) มาเป็นอันดับ 3 ได้ 143 ที่นั่ง

การหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ย่ำแย่ที่สุด

การที่พรรค RN ได้อันดับที่ 3 นั้นได้ช่วยให้การเมืองฝรั่งเศสหลีกเลี่ยงบริบทที่น่ากังวลมากที่สุดคือฝ่ายขวาจัดได้ครองเสียงข้างมากในรัฐสภาฝรั่งเศสเพื่อขึ้นบริหารประเทศอีกครั้งนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยจำนวนที่นั่งที่พรรค RN ได้มาในการเลือกตั้งรอบที่ 2 ก็ถือเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดหลังจากที่ได้รับเสียงสนับสนุนกว่าร้อยละ 33 ในการเลือกตั้งรอบแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน เพราะได้มีการคาดการณ์ว่า พรรค RN อาจได้รับคะแนนเสียงอีกมากในการเลือกตั้งรอบที่ 2 แม้จะต้องเผชิญการขัดขวางจากพรรคอื่นๆ ในกลุ่มแนวร่วมริพับลิกันก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม การพ่ายแพ้ของพรรค RN ในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่า “กำแพงกีดขวาง” ที่เป็นกลไกการเลือกตั้ง 2 รอบ ซึ่งถูกระบุในรัฐธรรมนูญของระบอบรีพับลิกัน ได้เกิดผลยับยั้งพรรคการเมืองหัวรุนแรง เหมือนที่ได้เกิดขึ้นในรอบที่ 2 ของการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสเมื่อปี 2002 2017 และ 2022

ประสิทธิภาพของกลไก นี้ยิ่งโดดเด่นมากขึ้นเมื่อความพยายามขัดขวางพรรค RN ได้มีขึ้นเพียง 1 สัปดาห์หลังผลการเลือกตั้งรอบแรก ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างพรรคต่างๆ เช่น พรรคฝ่ายขวาเลเรปูว์บลีแก็ง (Les Républicains) ได้ประกาศว่า จะไม่เข้าร่วม ส่วนพันธมิตรฝ่ายซ้าย NFP และพรรคสายกลาง EN ของประธานาธิบดี เอ็ม มานูเอล มาครง แม้จะมีเป้าหมายร่วมกันคือขัดขวางพรรค RN ในการเลือกตั้งครั้งนี้แต่กลับไม่เป็นพันธมิตรกัน ถึงกระนั้น การที่มีผู้ลงสมัครของพรรค NFP และ EN ถึง 218 คน ถอนตัวออกจากการเลือกตั้งรอบที่ 2 ซึ่งสร้างเงื่อนไขสำหรับการแข่งขันระหว่างคู่แข่ง 3 ฝ่ายในการเลือกตั้งรอบที่ 2 นี้ช่วยให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฝรั่งเศสเทคะแนนโหวตให้แก่ผู้ลงสมัครของพรรคที่เป็นคู่แข่งของพรรค RN ส่วนนาย ฌ็อง-ลุก เมล็องชง (Jean-Luc Mélenchon) หัวหน้าพรรคลาฟร็องแซ็งซูมีซ (LFI) ซึ่งเป็นแกนหลักของพันธมิตร NFP ได้ชื่นชมว่า นี่คือชัยชนะของประชาชนฝรั่งเศสเนื่องจากมีผู้ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งถึงร้อยละ 67.5 ในการเลือกตั้งรอบที่ 2 นี้ ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1997 และแสดงให้เห็นว่า ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งฝรั่งเศสตระหนักได้ดีถึงความเสี่ยงที่ว่าพรรค RN อาจนำปัญหามาให้แก่ประเทศถ้าหากได้เป็นรัฐบาล

ภาวะชะงักงันที่ยืดเยื้อมานาน

ทั้งนี้ถึงแม้สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาที่น่ากังวลมากที่สุดได้แต่ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ยังสร้างความกังวลอื่นๆต่อฝรั่งเศส นั่นคือความแตกแยกแบ่งขั้วอย่างหนักในเวทีการเมืองของฝรั่งเศสในหลายปีมานี้ ทำให้ไม่มีพรรคหรือพันธมิตรใดได้รับเสียงสนับสนุนมากกว่าครึ่งหนึ่งคือ 289 เสียงจาก 577 เสียง ส่งผลให้ฝรั่งเศสต้องเผชิญกับภาวะที่เรียกว่า รัฐสภาแขวน (Hung Parliament) เมื่อทั้ง 3 กลุ่มการเมืองที่ได้ที่นั่งมากที่สุดในรัฐสภาชุดใหม่คือ NFP มี 182 ที่นั่ง EN มี 168 ที่นั่งและ RN มี 143 ต่างก็ไม่ยอมจับมือเป็นพันธมิตรกัน ส่วนพรรค LR ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวาเก่าแก่ ได้ที่นั่งแค่ 45 ที่นั่ง ซึ่งถือว่าน้อยเกินกว่าที่จะมีอำนาจต่อรองถ้าหากจับมือกับพันธมิตรกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด

บรรดาผู้สังเกตการณ์ได้ประเมินว่า ปัจจุบันนี้ ฝรั่งเศสไม่มีแผนการที่ดีใด ๆ สำหรับการจัดตั้งรัฐบาลพันธมิตรชุดใหม่เพื่อสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสถานการณ์นับวันซับซ้อนมากขึ้นเมื่อนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส กาเบรียล อัตตาล(Gabriel Attal) ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 8 เดือนนี้ ศ. Armin Steinbach ของมหาวิทยาลัยบริหารธุรกิจ HEC Paris ได้แสดงความคิดเห็นว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ฝรั่งเศสจะตกเข้าสู่ภาวะชะงักงันเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนก่อนที่พรรคฝ่ายค้านต่างๆ จะยอมประนีประนอมและร่วมเป็นพันธมิตร เพราะลักษณะดังกล่าวไม่ใช้วัฒนธรรมการเมืองของฝรั่งเศส ซึ่งนี่ก็สอดคล้องกับความคิดเห็นของนาง มารีน เลอ แปน (Marine Le Pen) หัวหน้าพรรค RN

“ประเทศฝรั่งเศสจะตกเข้าสู่ภาวะชะงักงันเนื่องจากความเห็นไม่ตรงกันของ 3 กลุ่มการเมืองที่มีบทบาทสำคัญพอ ๆ กันในรัฐสภา ซึ่งจะส่งผลให้เราต้องรับมือปัญหาผู้อพยพผิดกฎหมาย กำลังซื้อลดลงและความไร้เสถียรภาพด้านความมั่นคงในอีก 1 ปี ซึ่งเราต้องยอมรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น”

ปัญหาใหญ่อีกอย่างจากการเลือกตั้งนี้คืออำนาจของประธานาธิบดี เอ็ม มานูเอล มาครง ลดน้อยถอยลง โดยการที่นายมาครงได้ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 9 มิถุนายนโดยไม่ทาบทามความคิดเห็นจากพันธมิตรได้ทำลายพันธมิตรข้างมากที่สนับสนุนเขานับตั้งแต่ปี 2017 ส่งผลให้พรรคสายกลาง หายไป 82 ที่นั่งเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งเมื่อปี 2022 ที่ได้ 250 ที่นั่งและเหลือเพียงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับ 305 ที่นั่งเมื่อปี 2017 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นายมาครงขึ้นดำรงตำแหน่งครั้งแรกเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ความพยายามธำรงเสียงข้างมากของ EN ยากขึ้น ในการหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา พรรคการเมืองต่างๆ เช่น พรรค Horizonsของอดีตนายกรัฐมนตรี Édouard Philippe และ พรรค MoDemของอดีตรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม Francois Bayrou ต่างมีท่าทีไม่อยากร่วมมือกับนายมาครง ส่วนนายกรัฐมนตรี กาเบรียล อัตตาล ก็เผยว่า จะผลักดันความคิดริเริ่มด้านการเมืองของตนเองในเวลาที่จะถึง ทั้งนี้และทั้งนั้นได้ส่งผลให้อำนาจและความสามารถในการดำเนินงานของนายมาครงในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฝรั่งเศสต้องรับมือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ทั้งภายในประเทศและในด้านการต่างประเทศนั้นประสบความยากลำบากมากขึ้น.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด