การแข่งขันผลิตขีปนาวุธคือภัยคุกคามในอาเชียใต้

(VOVworld ) - การที่อินเดียและปากีสถานทดลองยิงขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์ประสบความสำเร็จหลายครั้งในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันได้สร้างความวิตกกังวลในประชาคมระหว่างประเทศระลอกใหม่  อันที่จริง นี่มิใช่การทดลองยิงขีปนาวุธครั้งแรกของสองประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียใต้  แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดความวิตกในประชาคมระหว่างประเทศในช่วงใกล้ๆนี้คือ การทดลองมีความถี่ขึ้นและเมื่อมีการทดลองยิงขีปนาวุธพิสัยไกลกว่าและมีสมรรถนะสูงกว่าของประเทศหนึ่งก็จะมีการทดลองยิงทันทีของอีกประเทศ

(VOVworld ) -  การที่อินเดียและปากีสถานทดลองยิงขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์ประสบความสำเร็จหลายครั้งในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันได้สร้างความวิตกกังวลในประชาคมระหว่างประเทศระลอกใหม่  อันที่จริง นี่มิใช่การทดลองยิงขีปนาวุธครั้งแรกของสองประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียใต้  แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดความวิตกในประชาคมระหว่างประเทศในช่วงใกล้ๆนี้คือ การทดลองมีความถี่ขึ้นและเมื่อมีการทดลองยิงขีปนาวุธพิสัยไกลกว่าและมีสมรรถนะสูงกว่าของประเทศหนึ่งก็จะมีการทดลองยิงทันทีของอีกประเทศ

การแข่งขันผลิตขีปนาวุธคือภัยคุกคามในอาเชียใต้ - ảnh 1
ขีปนาวุธพิสัยไกลอัคนี-๔ ( Agni-4 )

วันที่ ๑๙ กันยายน กองทัพอินเดียประกาศประสบความสำเร็จในการทดลองยิงขีปนาวุธพิสัยไกลอัคนี-๔ซึ่งสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ นับเป็นเป็นการทดลองยิงขีปนาวุธรุ่นนี้เป็นครั้งที่ ๓ และได้ถูกยิงจากฐานบนเกาะวิลเลอร์ นอกฝั่งทะเล รัฐโอริสสา ทางตะวันออกของอินเดีย  จรวดอัคนี-๔ พิสัยไกล ๔,๐๐๐ กิโลเมตร  ซึ่งเป็นจรวดพิสัยไกลสุดของอินเดียในขณะนี้ และสามารถส่งหัวรบนิวเคลียร์น้ำหนัก ๑ ตัน ฐานยิงได้ติดตั้งแผงป้องกันความร้อนทำให้หัวรบนิวเคลียร์สามารถทนได้ในอุณหภูมิกว่า ๓,๐๐๐ องศาเซลเซียส หลังจากทดลองยิงประสบความสำเร็จ  วันที่ ๒๑ กันยายน กองบัญชาการกองกำลังยุทธศาสตร์ของอินเดียกับนักวิทยาศาสตร์ขององค์การวิจัยและพัฒนากลาโหมอินเดียเตรียมทดลองยิงจรวดนำวิถีเนอร์บไฮย์ ในพิสัย ๑,๐๐๐ กิโลเมตรและสามารถปล่อยจากฐานยิงอเนกประสงค์  ก่อนหน้านั้น ปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อินเดียได้ทดลองยิงจรวจพื้นสู่พื้นปรีทวี-๒ ซึ่งสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นจรวดรุ่นแรกโดยอินเดียผลิตและเป็นหนึ่งในจรวด ๕ รุ่นที่ได้รับการพัฒนาตามโครงการพัฒนาขีปนาวุธนำวิถีของประเทศนี้  ส่วนต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อินเดียก็ได้ทดลองยิงขีปนาวุธอัคนี-๒ ซึ่งสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ ในพิสัยกว่า ๒,๐๐๐ กิโลเมตรได้สำเร็จ  นับเป็นการทดลองยิงขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์ที่ธรรมดาทั่วไป  แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ การทดลองยิงนี้มีขึ้นภายหลัง ๔๘ ชั่วโมงที่ปากีสถานประกาศประสบความสำเร็จในการทดลองยิงจรวดล่องหนรุ่นฮัตฟ์-๗ ซึ่งสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์  แม้สองประเทศไม่ยอมรับว่า มีการแข่งขันอาวุธรุ่นใหม่ แต่การที่หลังจากการทดลองยิงของประเทศหนึ่งก็จะมีการทดลองยิงที่คล้ายคลึงของอีกประเทศเพื่อเป็นการถ่วงดูลย์  ซึ่งตรงนี้แหละได้สร้างกระแสความวิตกเกี่ยวกับการแข่งขันอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียไต้

เป็นที่ยอมรับกันว่า ปากีสถานและอินเดียเป็นประเทศมหาอำนาจด้านนิวเคลียร์ของภูมิภาค  สองประเทศยังไม่เคยลงนามในสนธิสัญญาไม่เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์หรือเอ็นพีที  นับตั้งแต่สองประเทศประกาศมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองเมื่อปี ๑๙๙๘ นับแต่นั้นมา อินเดียและปากีสถานได้ทดลองอาวุธนิวเคลียร์หลายครั้ง แต่ช่างใกล้ๆนี้ การทดลองยิงถี่ขึ้น  แม้ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับปากีสถานในช่วงนี้ได้ดีขึ้น โดยสองฝ่ายได้มีการเจรจาที่มีลักษณะสร้างสรรค์  แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ทำให้เห็นว่า สองประเทศยังไม่ได้ไว้วางใจกันอย่างเต็มที่  ซึ่งเห็นได้ชัดว่า เมื่อกลางเดือนกันยายนนี้ สื่อต่างๆของอินเดียได้เสนอข่าวโดยอ้างรายงานขององค์การวิจัยของรัฐสภาสหรัฐว่า  ปากีสถานปรับปรุงคลังอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองและขยายขอบเขตการใช้อาวุธชนิดนี้ก็เพื่อรับมือกับอินเดียเป็นอันดับแรก  องค์กรดังกล่าวของรัฐสภาสหรัฐยังเห็นว่า ปากีสถานกำลังครอบครองหัวรบนิวเคลียร์อย่างน้อย ๙๐ – ๑๑๐ อัน ซึ่งสร้างความกังวลต่อประชามติระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก

ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้านนี้ไม่เคยราบรื่นในอดีต  โดยนับตั้งแต่ได้รับเอกราชปี ๑๙๔๗ สองฝ่ายได้ทำสงครามเฉพาะส่วน ๓ ครั้ง  ต่อมาสถานการณ์คงจะคลี่คลายจนกระทั่งหลังจากที่อินเดียทดลองยิงขีปนาวุธพิสัยไกล ซึ่งสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายนได้สร้างความวิตกให้กับปากีสถานและเกิดการทดลองยิงกับการแข่งขันอาวุธขึ้น  หลังจากนั้น ๑ เดือนกองทัพปากีสถานทดลองยิงขีปนาวุธนำวิถีพิสัยกลาง ๔ ครั้งประสบความสำเร็จ อันเป็นการยืนยันถึงความก้าวหน้าทางทหารของตน ไม่ว่าจะเป็นสมรรถภาพความสมดูลย์ระหว่างยุทธศาสตร์ทางบกและทางทะเลโดยใช้เทคโนโลยีนำวิถีที่แม่นยำที่น้อยประเทศในโลกพัฒนาได้  แต่มีคำถามออกมาว่า จะมีประเทศใหญ่อยู่เบื้องหลังการทดลองยิงเหล่านี้หรือไม่  คำถามนี้ยังไม่มีคำตอบ แต่นักวิเคราะห์สถานการณ์เห็นว่า  การที่วอชิงตันและนิวเดลลีขยายความสัมพันธ์ และอินเดียกำลังกลายเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนรายใหญ่ของสหรัฐในภูมิภาคเอเชียใต้ทำให้อิสลามาบัดไม่ค่อยพอใจ

นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่อการเกิดการปะทะจึงได้ออกมาเรียกร้องอินเดียและปากีสถานจำเป็นต้องเจรจาเกี่ยวกับความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาคเพื่ออำนวยเงื่อนไขแก่การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้ว โดยความสัมพันธ์ระหว่างนิวเดลลี่กับอิสลามาบัดได้ประสบผลพอสมควร อาทิ ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในการเจรจากับรัฐมนตรีต่างประเทศอินเดีย เอส เอ็ม คริซินา ณ อิสลามาบัด ประธานาธิบดีปากีสถาน เปเวซ มูชาราฟได้แสดงความเชื่อมั่นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับปากีสถานจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นและเดินตามเส้นทางที่สองฝ่ายเลือกไว้  สองฝ่ายได้กำหนดความร่วมมือทวิภาคี ๘ ด้านอาทิ การเกษตร การท่องเที่ยว การศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  อินเดียและปากีสถานยังเห็นพ้องที่จะพิจารณามาตรการสร้างความเชื่อมั่นด้านการตรวจสอบตามแนวชายแดนระหว่างสองประเทศ ยอมรับข้อตกลงหยุดยิงที่ได้รับการลงนามปี ๒๐๐๓ ตามแนวชายแดนนี้ ให้ความเคารพและเห็นด้วยกับการเพิ่มการสัญจรไปมาและการค้าขายตามแนวชายแดนดังกล่าว  ซึ่งถือเป็นความพยายามส่วนหนึ่งเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างสองประเทศ  กระแสประชามติหวังว่า ความคืบหน้าในความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศจะช่วยลดข้อครหาเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการแข่งกันผลิตขีปนาวุธในภูมิภาคเอเชียใต้ ./.


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด