ก้าวเดินใหม่ของกระบวนการ Brexit

(VOVWORLD) - เวลาผ่านไปเกือบ 2 ปีครึ่งนับตั้งแต่การลงประชามติครั้งประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 23 มิถุนายนปี2016 ณ ประเทศอังกฤษเกี่ยวกับการถอนตัวจากสหภาพยุโรปหรืออียู และกว่า 1 ปีที่ดำเนินการเจรจาอย่างลำบากซับซ้อน จนมีบางช่วงเหมือนจะต้องหยุดชะงักแล้วแต่ในที่สุด อังกฤษและอียูก็สามารถบรรลุความเห็นพ้องทางเทคนิคเกี่ยวกับร่างข้อตกลง Brexit ซึ่งถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อในกระบวนการเจรจาที่ดุเดือดและต้องใช้เวลานานระหว่างอังกฤษกับอียู
ก้าวเดินใหม่ของกระบวนการ Brexit - ảnh 1(Photo VNplus)

ปัญหาความชะงักงันที่ใหญ่ที่สุดระหว่างสองฝ่ายในกระบวนการ Brexit คือ “เส้นแบ่งพรมแดนถาวรทางบก” ระหว่างไอร์แลนด์เหนือแห่งอังกฤษกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ แต่ความขัดแย้งนี้ก็ได้รับการแก้ไขผ่านการเจรจาแบบกระสวยที่ตึงเครียดระหว่างสองฝ่ายในหลายวันที่ผ่านมา

ผลเบื้องต้นที่ไม่คาดคิด

ถึงแม้รายละเอียดของความตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับ Brexit ระหว่างอังกฤษและสหภาพยุโรปจะต้องรอการเปิดเผยในการประชุมของรัฐบาลอังกฤษในบ่ายวันที่ 14 พฤศจิกายนแต่แหล่งข่าวจากสำนักรัฐบาลอังกฤษได้เปิดเผยว่า ทั้งสองฝ่ายสามารถเห็นพ้องกันในรายละเอียดทางเทคนิค ซึ่งรวมถึงปัญหาที่ลำบากที่สุดในช่วงเวลาสุดท้ายนี้คือรายละเอียดการแบ่งเขตแดนระหว่างไอร์แลนด์เหนือกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์และเขตแบ่งด้านศุลกากร โดยตามนั้นจะไม่มีการตั้งเส้นแบ่งเขตแดนถาวรระหว่างไอร์แลนด์เหนือกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และนี่เสมือนเป็นผลพวงของการที่อังกฤษถอนตัวจากอียู

ซึ่งคำประกาศของสำนักรัฐบาลอังกฤษเกี่ยวกับการบรรลุความตกลงเบื้องต้นของ Brexit ถือเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดเพราะในการประชุมครั้งต่างๆระหว่างอังกฤษกับอียูเมื่อล่าสุดนี้ ก็ยังคงตกอยู่ในภาวะชะงักงัน โดยเฉพาะก่อนการผ่านความเห็นชอบความตกลงนี้เพียง 1 วัน เจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่มีใครกล้าที่จะยืนยันว่า จะสามารถบรรลุความตกลงฉบับนี้ได้ แม้กระทั่งในวันที่รัฐบาลอังกฤษประกาศบรรลุความตกลงฉบับเบื้องต้นแล้ว ทางฝ่ายคณะกรรมการยุโรปหรืออีซียังได้ประกาศการเตรียมพร้อมแผนสำรองหากสองฝ่ายไม่สามารถเห็นพ้องกันในเรื่องนี้ได้ โดยแผนสำรองนี้ได้เสนอการจำกัดปฏิบัติการฉุกเฉินในด้านที่ได้รับสิทธิพิเศษ อนุมัติ 2 ข้อเสนอด้านนิติบัญญัติเกี่ยวกับการปรับปรุงประเด็นเกี่ยวกับเรื่องวีซ่าในกฎหมายของอียูเพื่อเตรียมพร้อมให้แก่ Brexit และการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การควบคุมเขตชายแดน การตรวจสอบด้านศุลกากรและใบขับขี่ เป็นต้น และ ณ เวลาที่รัฐบาลอังกฤษได้เปิดเผยว่า สามารถบรรลุความตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับ Brexit ทางฝ่ายอียูก็ยังไม่แสดงท่าทีใดๆต่อข่าวดังกล่าว

แรงกดดันขั้นรุนแรงกำลังรออยู่

ทั้งนี้ กว่าที่จะมีการบรรลุความตกลงเบื้องต้นดังกล่าวทั้งสองฝ่ายก็จะต้องผ่านการเจรจาที่ยากลำบากเป็นเวลาเกือบ 2 ปีและยังเป็นปัญหาร้อนที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากสื่อมวลชนและเป็นที่ถกเถียงในหมู่ประชามติอังกฤษ แต่ความท้าทายต่อนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เทเรซา เมย์ ยังไม่มีอยู่แค่นี้เพราะขั้นตอนต่อไปก็คือรอให้รัฐบาลอังกฤษอนุมัติในการประชุมบ่ายวันที่ 14 พฤศจิกายน และที่ถือว่าซับซ้อนที่สุดคือการยื่นให้รัฐสภาอังกฤษพิจารณาอนุมัติ

ทว่ากระบวนการ Brexit  นั้นเต็มไปด้วยความยากลำบากก็จริงเพราะ Brexit ได้ส่งผลให้เกิดความแตกแยกที่ลึกซึ้งของการเมืองอังกฤษ โดยเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายนคือ 1 วันก่อนที่อังกฤษและอียูบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นนี้ นายกรัฐมนตรี เทเรซา เมย์ ต้องยกเลิกการประชุมครม.โดยด่วนเพื่อมีเวลาพิจารณาเห็นชอบเนื้อหาความตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไข Brexit ระหว่างอังกฤษกับอียู ก่อนหน้านั้น รัฐมนตรีช่วยคมนาคมอังกฤษ  Jo Johnson ก็ได้ขอลาออกจากตำแหน่งเพื่อคัดค้านแผนการ Brexit ของนาง เทเรซา เมย์ เพราะถือว่า “เป็นความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่” นาย Jo Johnson คือสมาชิกคนที่ 14 ในรัฐบาลอังกฤษลาออกจากตำแหน่งนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว หลังจากที่ข่าวการบรรลุข้อตกลงฉบับเบื้องต้นถูกเปิดเผย หัวหน้าของพรรคแรงงาน Jeremy Corbyn ได้ประกาศว่า ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบเนื้อหาความตกลฉบับนี้เพราะสงสัยว่า อาจไม่เอื้อประโยชน์ต่ออังกฤษ ส่วนอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ Boris Johnson ได้กล่าวตำหนิรัฐบาลอังกฤษ โดยถือว่า ความตกลงฉบับนี้ได้เดินออกนอกเส้นทางที่ตั้งไว้ไกลมากแล้วถึงแม้เขายังไม่ได้อ่านรายละเอียดก็ตาม

ทั้งนี้ อะไรเกิดก็ต้องเกิดแม้นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ยืนยันหลายครั้งว่า จะไม่ยอมแลกทุกอย่างเพื่อที่จะบรรลุข้อตกลงกับอียู

เหลือเวลาแค่ 5 เดือนก็จะถึงช่วงที่ Brexit มีผลบังคับใช้ และอังกฤษจะถอนตัวจากอียูในวันที่ 29 มีนาคมปี 2019 การที่ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องทางเทคนิคเกี่ยวกับร่างข้อตกลง Brexit คือก้าวเดินที่สำคัญในกระบวนการนี้และการออกแถลงการณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการค้าหลัง Brexit แต่อย่างไรก็ตาม กระบวนนี้จะเสร็จสิ้นดั่งความปรารถนาของทั้งอังกฤษและอียูได้หรือไม่ยังต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลและรัฐสภาอังกฤษ รวมทั้งบรรดาผู้นำอียูด้วย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด