ข้อคิดริเริ่มเพื่อสร้างโลกที่ดีกว่าขึ้นมาใหม่: เพื่อให้คำประกาศกลายเป็นปฏิบัติการ

(VOVWORLD) - เมื่อเร็วๆนี้ บรรดาผู้นำของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกหรือ G7 ได้เปิดตัวแผนการ”สร้างโลกที่ดีกว่าขึ้นมาใหม่”หรือ “Build Back Better World - B3W” เพื่อช่วยเหลือประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนที่ "กำหนดแนวทางคุณค่า มาตรฐานสูงและโปร่งใส"  แต่อย่างไรก็ตาม ความพยายามนี้กำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย และแผนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานจะได้รับการปฏิบัติในระดับใดยังคงเป็นเรื่องที่น่าขบคิด
ข้อคิดริเริ่มเพื่อสร้างโลกที่ดีกว่าขึ้นมาใหม่: เพื่อให้คำประกาศกลายเป็นปฏิบัติการ - ảnh 1การประชุมกลุ่มG7 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ณ ประเทศอังกฤษ (UK/Twitter)

แผนการ”สร้างโลกที่ดีกว่าขึ้นมาใหม่”เป็นโครงการที่มีขอบเขตทั่วโลก ตั้งแต่ลาตินอเมริกา แคริบเบียน แอฟริกา ไปจนถึงอินโดแปซิฟิก โดยแต่ละหุ้นส่วนของกลุ่ม G7 จะมีเป้าหมายทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน แต่ในภาพรวมนั้นความคิดริเริ่มจะครอบคลุมถึงประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางทั่วโลก

มุ่งสู่แผนการสร้างโลกที่ดีกว่าขึ้นมาใหม่

แผนการฟื้นฟูโลกได้รับการประกาศในกรอบของการประชุมสุดยอดกลุ่ม G7 เมื่อกลางเดือนมิถุนายน โดยมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานถือเป็นเสาหลักของโครงการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เศรษฐกิจที่กำลังเกิดใหม่และประเทศด้อยพัฒนาในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานบนหลักการ: โครงการลงทุนต้องมีความโปร่งใส เป็นโครงการทางการเงินที่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงทำให้ประเทศยากจนตกเข้าสู่ภาวะเป็นหนี้ ส่วนสำหรับ 3 ด้านที่กลุ่ม G7 ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆในการช่วยเหลือประเทศยากจน ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ สาธารณสุขและการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล โดยจะให้ความเคารพข้อตกลงด้านสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม

กลุ่ม G7 ให้คำมั่นที่จะผลักดันระเบียบวาระการประชุมนี้โดยมีความร่วมมือของประเทศอื่น ๆ และภายในระบบพหุภาคี ร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างๆของกลุ่มประเทศพัฒนาและเศรษฐกิจเกิดใหม่หรือG20 และองค์การระหว่างประเทศทุกแห่งเพื่อค้ำประกันอนาคตที่สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เสรี มีความยุติธรรมและปลอดภัยมากขึ้น

ข้อคิดริเริ่มเพื่อสร้างโลกที่ดีกว่าขึ้นมาใหม่: เพื่อให้คำประกาศกลายเป็นปฏิบัติการ - ảnh 2นาย บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ (ซ้าย) กับประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน ในการประชุมกลุ่ม G7 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน (REUTERS)

การปฏิบัติไม่ใช่เรื่องง่าย

แผนการ”สร้างโลกที่ดีกว่าขึ้นมาใหม่”เป็นข่าวดีสำหรับประเทศยากจน แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่เป็นรูปธรรม ตามความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ ข้อบกพร่องของแผนการ B3W คือฝ่ายต่างๆ ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการสนับสนุนโครงการนี้ การปฏิบัติแผนการ B3W ของกลุ่ม G7 ยังคงประสบอุปสรรคเนื่องจากเศรษฐกิจของกลุ่ม G7 ยังคงพยายามฟื้นฟูหลังวิกฤตโควิด-19 การลดความช่วยเหลือต่างประเทศของอังกฤษได้แสดงให้เห็นถึงความยากลำบากที่อังกฤษกำลังต้องเผชิญ และแสดงให้เห็นถึงความกังวลเกี่ยวกับความสามารถที่ประเทศต่างๆจะสามารถระดมเงินทุนได้อย่างเพียงพอเพื่อธำรงข้อคิดริเริ่มนี้ โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่โครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานต้องใช้เงินทุนจำนวนมากจากภาคเอกชนของประเทศสมาชิก จากปัญหาเหล่านี้ มีความเป็นไปได้ที่โครงการของ B3W จะคืบหน้าไปอย่างช้าๆ

สำหรับฝ่ายสหรัฐ วอชิงตันมีงบประมาณสำหรับความช่วยเหลือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้แก่ประเทศยากจน และทางการของประธานาธิบดี โจ ไบเดน กำลังรณรงค์ให้รัฐสภาเพิ่มงบประมาณสำหรับขั้นตอนนี้ โดยวอชิงตันจะพยายามระดมแหล่งพลังทางการเงินจากองค์กรทางการเงินต่างๆรวมถึงกลุ่มบริษัทการเงินพัฒนาระหว่างประเทศหรือ DFC สำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐหรือ USAID ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของสหรัฐหรือ EXIM กลุ่มบริษัท Millennium Challenge สำนักงานการค้าและการพัฒนาของสหรัฐ และหน่วยงานอื่นๆ เช่น กองทุนที่ปรึกษาการทำธุรกรรม เป็นต้น ประกาศจากทำเนียบขาวยืนยันว่า "นอกเหนือจากเงินหลายพันล้านดอลลาร์ที่สหรัฐได้ระดมเพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศผ่านองค์กรทวิภาคีและพหุภาคีที่มีอยู่และจะทำงานร่วมกับรัฐสภาเพื่อเสริมสร้างเครื่องมือทางการเงินเพื่อการพัฒนาของตน ด้วยความหวังว่า ภาคเอกชน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องของสหรัฐและหุ้นส่วนต่างๆของกลุ่ม G7 จะมีส่วนช่วยให้แผนการ B3W สามารถกระตุ้นเงินลงทุนหลายแสนล้านดอลลาร์สหรัฐในโครงสร้างพื้นฐานสำหรับประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางในปีต่อๆ ไป”

สำหรับประเทศกำลังพัฒนาและมีรายได้น้อยที่ต้องการเข้าร่วมโครงการอาจต้องยอมรับเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นและข้อกำหนดทางกฎหมายอื่นๆ ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับกลุ่ม G7 เมื่อต้องการโน้มน้าวให้หลายประเทศเข้าร่วมโครงการ กลุ่ม G7 จำเป็นต้องสื่อสารว่า โครงการนี้มีความผูกพันกับผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ของประเทศกำลังพัฒนา

การที่กลุ่ม G7 เปิดตัวแผนการ”สร้างโลกที่ดีกว่าขึ้นมาใหม่”เป็นเป้าหมายที่ทะเยอทะยานเพราะนี่ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือด้านเศรษฐกิจ–การพัฒนาเท่านั้น หากยังเป็นปัญหาการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์อีกด้วย ทำให้การปฏิบัติแผนการนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด