ข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ของอิหร่านต่อแรงกดดันกับเส้นตาย

(VOVworld) – กลุ่มพี 5+1 กำลังพยายามบรรลุข้อตกลงฉบับสุดท้ายภายในวันที่ 30 มิถุนายนเพื่อจำกัดโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน แต่เส้นตายนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะประสบความล้มเหลวเนื่องจากทุกฝ่ายต่าง เพิ่มแรงกดดันในการเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงข้อตกลงที่จะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง มากที่สุด

(VOVworld) – กลุ่มพี 5+1 กำลังพยายามบรรลุข้อตกลงฉบับสุดท้ายภายในวันที่ 30 มิถุนายนเพื่อจำกัดโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน แต่เส้นตายนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะประสบความล้มเหลวเนื่องจากทุกฝ่ายต่างเพิ่มแรงกดดันในการเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงข้อตกลงที่จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด

ข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ของอิหร่านต่อแรงกดดันกับเส้นตาย - ảnh 1
โรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน (Reuters)

การเจรจาระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี 5+1 ประกอบด้วยอังกฤษ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหรัฐและเยอรมนีที่เพิ่งเสร็จสิ้นลง ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียยังคงเต็มไปด้วยอุปสรรค์เนื่องจากทุกฝ่ายยังคงมีจุดยืนที่แตกต่างกันโดยความขัดแย้งหลักที่สร้างอุปสรรค์ในการบรรลุข้อตกลงฉบับสุดท้ายคือกระบวนการยกเลิกการคว่ำบาตรของฝ่ายตะวันตกต่ออิหร่านและการตรวจสอบโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่าน ตลอดจนเวลาที่ผ่านมา อิหร่านยังคงปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการพัฒนาระเบิดปรมาณูและยืนยันว่า โครงการนิวเคลียร์ของตนมีเป้าหมายเพื่อสันติภาพเท่านั้น ดังนั้น เตหะรานจึงยืนกรานไม่ยอมให้มีการตรวจสอบหน่วยทหารของตน

ล่าสุด คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้อนุมัติมติที่ขยายระยะเวลาการปฏิบัติงานของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจสอบการปฏิบัติคำสั่งคว่ำบาตรต่ออิหร่านเพิ่มอีก 1 ปี ไปจนถึงวันที่ 9 กรกฎาคมปี 2016 มติได้ย้ำว่า การพัฒนาอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ตลอดจนวิธีการขนส่งอาวุธนี้จะสร้างภัยคุกคามต่อความมั่นคงและสันติภาพระหว่างประเทศ
มีความมุ่งมั่นมากเกินไป แต่ขาดความไว้วางใจ
อิหร่านและกลุ่มพี 5+1 ได้อนุมัติกรอบข้อตกลงเมื่อต้นเดือนเมษายนปี 2015 และกำหนดว่า วันที่ 30 มิถุนายนคือเส้นตายเพื่อบรรลุข้อตกลงฉบับสุดท้าย หลังจากไม่สามารถบรรลุกรอบข้อตกลงฉบับดังกล่าวเมื่อเดือนมิถุนายนและเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงควรใช้โอกาสในการเจรจารอบนี้เพื่อบรรลุข้อตกลงเพื่อไม่ให้ความพยายามในตลอด 20  เดือนที่ผ่านมาสูญเปล่าซึ่งปัญหาเดียวในการเจรจาก็คือ ต้องทำเช่นไรเพื่อบรรลุข้อตกลงที่ทุกฝ่ายต่างได้รับประโยชน์
การไม่ลดแรงกดดันต่อทุกฝ่ายที่เข้าร่วมการสนทนาเพื่อสร้างความได้เปรียบให้ตนคือยุทธศาสตร์ของอิหร่านในหลายวันที่ผ่านมา ในขณะที่สหรัฐและฝ่ายตะวันตกกำลังผลักดันการบรรลุข้อตกลงตรงตามกำหนดโดยเร็วอยู่นั้น แต่อิหร่านกลับมีท่าทีไม่รีบร้อน ในคำประกาศภายหลังเสร็จสิ้นการเจรจา นาย อับบาส อาราชี หัวหน้าคณะเจรจาด้านนิวเคลียร์และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศดูแลปัญหากฎหมายและระหว่างประเทศของอิหร่านได้ย้ำถึงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า อิหร่านไม่ได้ถูกกระบวนการเจรจาผูกขาด หากแต่พยายามบรรลุข้อตกลงตามเป้าหมายที่หวังไว้ ตามความเห็นของนาย อาราชี การขาดความเชื่อมั่นระหว่างกันคือปัจจัยที่สร้างช่องโหว่ระหว่างทุกฝ่ายในกระบวนการเจรจา พร้อมทั้งเตือนว่า ทุกมาตราที่ระบุในร่างข้อตกลงฉบับสุดท้ายยังคงมีความเสี่ยงที่จะถูกทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องละเมิดและสถานการณ์จะกลับไปเป็นเหมือนช่วงก่อนอนุมัติข้อตกลง
คำประกาศดังกล่าวของนาย อาราชี ได้สร้างความไม่พอใจต่อฝ่ายตะวันตก โดยเฉพาะวอชิงตันที่กำลังรอคอยการบรรลุข้อตกลงกับอิหร่านเพื่อนำภาพลักษณ์ที่ดีบนเวทีโลกกลับคืนมา
การแข่งขันโค้งสุดท้าย
จากการมีความวิตกกังวลว่า การเจรจาในตลอด 20 เดือนที่ผ่านมาและความพยายามเมื่อเร็วๆนี้จะไม่ประสบผล ทางการสหรัฐได้ยืนหยัดจุดยืนว่า วันกำหนดเพื่อลงนามข้อตกลงคือวันที่ 30 มิถุนายนนี้ มิใช่ว่าจะคิดขยายเวลาการเจรจาอีกครั้ง ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ การลงนามข้อตกลงกับอิหร่านไม่เพียงแต่เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา เท่านั้น หากยังซ่อนเร้นเป้าหมายที่มีความทะเยอทะยานมากกว่านั้น การไกล่เกลี่ยกับอิหร่านซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจในตะวันออกกลางจะช่วยให้การปะทะที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานานในภูมิภาคคลี่คลายลง  ท่าทีที่เร่งรีบของสหรัฐยังแสดงให้เห็นผ่านคำประกาศของนาย Anthony Blinken รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐที่ว่า อิหร่านได้ตอบสนองทุกหน้าที่ตามข้อตกลงปัจจุบันกับกลุ่มพี 5+1
ในขณะเดียวกัน กลุ่มพี5+1 ยังคงมีความขัดแย้งกันโดยฝรั่งเศสที่มีจุดยืนที่แข็งกร้าวที่สุดในกลุ่มได้แสดงความเห็นว่า สหรัฐได้ประนีประนอมกับอิหร่านและยืนยันว่า จะไม่มีข้อตกลงฉบับสุดท้ายถ้าหากไม่ทำการตรวจสอบสถานที่ทุกแห่งที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์ของอิหร่าน รวมทั้งฐานทัพทหารต่างๆ
จนถึงขณะนี้ การเจรจานานาชาติเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านได้ดำเนินมาแล้วเป็นเวลากว่าครึ่งทศวรรษ ดังนั้น การที่วันกำหนดของข้อตกลงฉบับสุดท้ายถูกขยายเวลาอีกครั้งจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจนักถึงแม้อิหร่านและสหรัฐต่างแสดงความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ในการเสร็จสิ้นการเจรจา ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ ทั้งสหรัฐและอิหร่านต่างไม่ละทิ้งโอกาสครั้งประวัติศาสตร์นี้ ข้อตกลงที่จะบรรลุจะนำผลประโยชน์มาให้แก่ทั้งสองฝ่าย การแก้ไขปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านจะเป็นเงื่อนไขล่วงหน้าเพื่อให้สหรัฐและอิหร่านร่วมมือแก้ไขปัญหาที่ร้อนแรงต่างๆในตะวันออกกลางหรือการรับมือกับภัยคุกคามจากกลุ่มไอเอส แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาเดียวในปัจจุบันคือทุกฝ่ายจะประนีประนอมผลประโยชน์อย่างไรเพื่อบรรลุผลงานสุดท้าย./. 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด