ข้อผูกมัดและคำมั่นใน COP 21
Van - VOV5 -  
(VOVworld) – การประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ COP-21 ที่กำลังมีขึ้น ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากประชามติ เพราะอนาคตของมนุษย์ขึ้นอยู่กับผลการประชุมนี้เพราะนี่เป็นโอกาสสุดท้ายเพิ้อให้ทุกประเทศบรรลุข้อตกลงที่มีความผูกมัดกันในการป้องกันการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่ในตลอด 12 วันของการเจรจานั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกประเทศสมาชิกจะสามารถบรรลุข้อตกลงนี้
(VOVworld) – การประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ COP-21 ที่กำลังมีขึ้น ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากประชามติ เพราะอนาคตของมนุษย์ขึ้นอยู่กับผลการประชุมนี้เพราะนี่เป็นโอกาสสุดท้ายเพิ้อให้ทุกประเทศบรรลุข้อตกลงที่มีความผูกมัดกันในการป้องกันการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่ในตลอด 12 วันของการเจรจานั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกประเทศสมาชิกจะสามารถบรรลุข้อตกลงนี้
การประชุม COP 21 (Photo website COP 21)
|
ประชามติโลกให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการประชุมครั้งนี้เพราะปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนับวันรุนแรงมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อทุกประเทศทั่วโลก ก่อนการประชุม COP-21 สหประชาชาติได้ประกาศรายงานเกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 6 แสนคน จำนวนผู้เสียชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศแต่ละปีเท่ากับจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้าย ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่า นอกจากเหตุก่อการร้ายแล้ว ปัญหานี้ถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวมากที่สุดของมนุษยชาติ ในขณะเดียวกัน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกหรือ WMO ได้เผยว่า ช่วงปี 2011-2015 ถือเป็นช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดและการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกก็อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
การร่วมแรงร่วมใจกัน
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกได้ทำให้การประชุม COP-21 แตกต่างกับการประชุมครั้งก่อนๆ โดยในวันแรกของการประชุม หลายประเทศได้ให้คำมั่นว่า จะปรับลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก โดยสหรัฐและจีน ซึ่งเป็น 2 เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกและปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรื่อนกระจกมากถึงร้อยละ 50 ของโลกได้ออกคำประกาศที่น่าสนใจ โดยนายสีจิ้นผิง ประธานประเทศจีนได้ระบุว่า ทุกประเทศที่ร่ำรวยต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นเพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนและสนับสนุนประเทศยากจนปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ความรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่วนนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐได้ยอมรับว่า สหรัฐเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากจีนจึงต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นในการแก้ปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ก่อนหน้านั้น ประธานาธิบดีบารัค โอบามาประกาศผ่านทาง Facebook ว่า จะเรียกร้องการสนับสนุนให้แก่ประเทศที่อาจได้รับผลกระทบโดยง่ายเพื่อพัฒนาพลังงานสะอาดและปรับตัวได้ดีต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ประเทศสหรัฐยังให้คำมั่นว่า จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกร้อยละ 28 ในปี 2030 ส่วนนาย Rafael Pacchiano รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมเม็กซิโกได้ประกาศว่า เม็กซิโกจะลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงร้อยละ 22 และเขม่าดำร้อยละ 51 ในการกล่าวปราศรัยในการประชุม COP-21 ท่านเหงียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้ให้คำมั่นว่า จะจำกัดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิกปฏิกิริยาเรือนกระจกร้อยละ 8 ในปี 2030 และอาจลดได้ถึงร้อยละ 25 ถ้าหากได้รับการสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
การประชุม COP-21 ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดริเริ่มมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาเทคโนโลยีสะอาดและช่วยประเทศยากจนทำการพัฒนาอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสหรัฐ ฝรั่งเศส อินเดียและ 17 ประเทศได้ประกาศว่า จะเพิ่มงบประมาณสำหรับการวิจัยและพัฒนาพลังงานสะอาดภายในเวลา 5 ปีขึ้นเป็นสองเท่า ส่วนธนาคารโลกได้ประกาศว่า จัดตั้งกองทุน 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนประเทศที่กำลังพัฒนาจำกัดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกและก่อนการประชุมครั้งนี้ ครม.ชุดใหม่ของแคนาดาได้ให้คำมั่นว่า จะสงวนเงิน 2.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่กองทุนภูมิอากาศสีเขียวแห่งสหประชาชาติหรือ GCF ในขณะที่อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนีและญี่ปุ่นได้ให้คำมั่นว่าจะสมทบ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ท่านเหงียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม
|
ความแตกต่างที่ต้องแก้ไข
แม้ทุกฝ่ายมีความเห็นพ้องกันเกี่ยวกับเป้าหมายโดยรวมแต่ในการประชุม COP-21 หลายฝ่ายยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกันในหลายประเด็น ซึ่งทุกประเทศจะต้องทำการพิจารณาอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะประเด็นความรับผิดชอบของบรรดาประเทศพัฒนาและบรรดาประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งบรรดาประเทศพัฒนา นำโดยสหภาพยุโรปและสหรัฐมีความประสงค์ว่า บรรดาประเทศกำลังพัฒนาจะมีคำมั่นเหมือนกันเกี่ยวกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกเพราะว่า โลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วเมื่อมีบางประเทศที่กำลังพัฒนามีฐานะที่ร่ำรวยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม บรรดาประเทศที่กำลังพัฒนายังเผยว่า ต้องเน้นแก้ปัญหาความยากจนและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นก่อน ดังนั้นจึงต้องการความช่วยเหลือจากบรรดาประเทศพัฒนาที่ปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกมากกว่า ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ความแตกต่างที่สองคือปัญหาการเงิน โดยประชาคมระหว่างประเทศกำลังเร่งแสวงหาแหล่งเงินทุนอุปถัมภ์มูลค่า 1แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเพื่อสนับสนุนบรรดาประเทศด้อยพัฒนาจำกัดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ในฐานะประเทศเจ้าภาพของการประชุม COP-21 ฝรั่งเศสได้ยืนยันหลายครั้งว่า การแสวงหาเงินอุปถัมภ์ดังกล่าวเป็นเงื่อนไขชี้ขาดให้แก่ความสำเร็จของการประชุมครั้งนี้ แต่ถึงขณะนี้จำนวนเงินที่ได้ตามคำมั่นจากบรรดาประเทศที่ร่ำรวยมีเพียงกว่า 7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ในขณะที่ตามการประเมินของผู้สังเกตการณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเพิ้มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส จำนวนเงินดังกล่าวยังไม่เพียงพอ
อีกปัญหาที่สร้างความถกเถียงกันในการประชุม COP-21 คือการกำหนดให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเป็นข้อบังคับหรือไม่ โดยนายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเคยบอกว่า แน่นอนว่าข้อตกลงฉบับนี้จะไม่ใช่สนธิสัญญา จึงไม่มีความผูกพันทางกฎหมายเกี่ยวกับการจำกัดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกเหมือนพิธีสารเกียวโตเมื่อปี 1997 ซึ่งจะเป็นอุปสรรคไม่น้อยสำหรับทุกประเทศในการเจรจาครั้งนี้
การประชุม COP-21 ถือเป็นการประชุมที่กดดันเป็นอย่างมากเพราะต้องหาทางบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ตรวจสอบการปฏิบัติคำมั่นของทุกประเทศและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งล้วนเป็นคำถามที่ต้องรอคำตอบจากผู้นำประเทศต่างๆในการประชุม COP-21 แต่อย่างไรก็ตาม ประชามติยังหวังว่า ในท้ายที่สุด การประชุมอย่างตึงเครียดเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จะสามารถบรรลุความเห็นพ้องกันเพื่อมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ.
Van - VOV5