ความชะงักงันในการแก้ไขวิกฤตผู้อพยพ

(VOVworld)ในขณะที่ยุโรปยังไม่สามารถแสวงหามาตรการที่มีประสิทธิภาพใดๆเพื่อแก้ไขวิกฤตผู้อพยพ แต่รายงานเมื่อเร็วๆนี้ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือ UNHCR ได้เผยว่า ได้มีผู้อพยพอย่างน้อย 700 คนเสียชีวิตและสูญหายกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในหลายวันที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นคำเตือนเกี่ยวกับการขาดมาตรการเพื่อแก้ไขวิกฤตผู้อพยพในปัจจุบัน

(VOVworld)ในขณะที่ยุโรปยังไม่สามารถแสวงหามาตรการที่มีประสิทธิภาพใดๆเพื่อแก้ไขวิกฤตผู้อพยพ แต่รายงานเมื่อเร็วๆนี้ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือ UNHCR ได้เผยว่า ได้มีผู้อพยพอย่างน้อย 700 คนเสียชีวิตและสูญหายกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในหลายวันที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นคำเตือนเกี่ยวกับการขาดมาตรการเพื่อแก้ไขวิกฤตผู้อพยพในปัจจุบัน

ความชะงักงันในการแก้ไขวิกฤตผู้อพยพ - ảnh 1

ผู้อพยพเดินทางถึงท่าเรือ เรโก กาลาบบ์เรียของอิตาลีเมื่อวันที่29พฤษภาคมหลังจากได้รับการช่วยเหลือจากเรือกองทัพอิตาลีขณะประสบอุบัติเหตุกลางทะเล(AFP/VNA)

ผู้อพยพไปยังยุโรปครั้งนี้ส่วนใหญ่มาจากแอฟริกา มากับเรือที่ถูกลากโดยเรือสินค้าลำใหญ่และไม่มีเสื้อชูชีพ ซึ่งผู้อพยพไม่ได้สนใจถึงความตายในการอพยพไปยังยุโรป
จำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น

การสกัดกั้นผู้อพยพที่ใช้เส้นทางไปยังกรีซหลังจากบรรลุข้อตกลงระหว่างอียูกับตุรกีได้ทำให้ผู้อพยพต้องใช้เส้นทางจากลิเบียไปยังอิตาลีซึ่งเดินทางนานและอันตรายกว่า โดยถ้าสภาพอากาศเอื้ออำนวยก็จะมีเรือผู้อพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งสร้างแรงกดดันอย่างหนักต่อกองกำลังกู้ภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ตามรายงานสถิติ เหตุเรือขนส่งผู้อพยพไปยังยุโรปอับปางตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,500 คน ซึ่งส่วนใหญ่คือเด็กและสตรี กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ ได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์นี้ โดยเตือนว่า ปัญหานี้อาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากในต้นฤดูร้อน ผู้อพยพข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเขตทะเลที่ติดกับลิเบียและอิตาลี ในประกาศเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ยูนิเซฟได้เผยว่าจะประสานกับรัฐบาลอิตาลีและหุ้นส่วนระหว่างประเทศโดยเร็วเพื่อผลักดันกิจกรรมช่วยเหลือมนุษยธรรม โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์และจัดสรรค์อุปกรณ์ช่วยชีวิตที่จำเป็
ปัญหาอยู่เบื้องกระแสผู้อพยพ
การที่ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปหรืออียูยังไม่สามารถแสวงหาทางออกให้แก่วิกฤตผู้อพยพได้สร้างโอกาสทองให้แก่องค์การก่อการร้ายและอาชญากรรมหาผลประโยชน์จากกระแสผู้อพยพที่เพิ่มขึ้นอย่างเข้มแข็งซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สะดวกเพื่อเพิ่มการบริการส่งผู้อพยพไปยังยุโรป โดยเมื่อปี 2015 ผู้อพยไปยังยุโรปร้อยละ 90 ต้องจ้างวานแก๊งอาชญากรรมและต้องจ่ายเงินตั้งแต่ 3,200 ถึง 6,500 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่องค์การอาชญากรรมถึง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการคาดการณ์ของ Europol ในปี 2016 จำนวนผู้อพยพจะสูงกว่าปี 2015 โดยที่ลิเบีย มีผู้อพยพประมาณ 8 แสนคนกำลังรอการข้ามทะเลเพื่อไปยังยุโรป ถึงแม้ต้องเผชิญกับอันตรายถึงชีวิตก็ตาม
การที่องค์การอาชญากรรมให้บริการผู้อพยพข้ามทะเลได้ทำให้วิกฤตผู้อพยพในยุโรปมีความรุนแรงมากขึ้นและยังเพิ่มวิกฤตด้านมนุษยธรรม สร้างภัยคุกคามด้านความมั่นคงและการเมืองต่ออียู โดยเฉพาะการก่อการร้าย

ความชะงักงันในการแก้ไขวิกฤตผู้อพยพ - ảnh 2
ส่งศพผู้เคราะห์ร้ายขึ้นฝั่งที่ท่าเรือเรโก กาลาบบ์เรียของอิตาลี(AFP/VNA)
ยังไม่สามารถแสวงหามาตรการแก้ไข
การที่ผู้อพยพยังคงพยายามหาทางไปยังยุโรปแสดงให้เห็นว่า ในเวลาที่ผ่านมา บรรดาผู้นำของยุโรปยังไม่เน้นให้ความสนใจต่อการแก้ไขต้นเหตุของวิกฤตนี้อย่างเด็ดขาด  ปัจจุบัน ประเทศในยุโรปยังไม่รู้จะทำยังไงกับปัญหานี้และก็ไม่มีมาตรการที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพอย่างสมบูรณ์ในการประสานงานในภูมิภาคเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเด็ดขาด วิธีการแก้ไขของยุโรปในปัจจุบันอาศัยการแก้ไขตามแต่ละกรณีไปหรือใช้มาตรการป้องกันตั้งแต่ต้นทาง เช่นการส่งกองกำลังเฉพาะกิจไปยังซีเรียและลิเบียแต่การปฏิบัตินี้ก็ยังไม่มีความเข้มแข็งพอ
ในสภาวการณ์ดังกล่าว ประชามติได้แสดงความวิตกกังวลว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับผู้อพยพระหว่างอียูกับตุรกีเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมามีความเสี่ยงที่จะประสบความล้มเหลว เพราะในหลายวันมานี้ ผู้นำของทั้งสองฝ่ายได้ออกคำประกาศที่แข็งกร้าวเกี่ยวกับการยกเลิกวีซ่าให้แก่ชาวตุรกีเข้าอียู ซึ่งเป็นเนื้อหาสำคัญของข้อตกลง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิขของประธานาธิบดีตุรกี Yigit Bulut ได้ย้ำว่า ตุรกีสามารถยุติข้อตกลงทุกฉบับกับอียู ถ้าหากอียูไม่รักษาคำมั่นเกี่ยวกับการยกเลิกวีซ่าให้แก่พลเมืองตุรกีในกลุ่มเชงเก้น ซึ่งทำให้อียูต้องเตรียมรับมือกับกระแสผู้อพยพครั้งใหญ่หากไม่ได้รับการช่วยเหลือจากตุรกี แต่อียูยังยืนหยัดเรียกร้องให้ตุรกีแก้ไขกฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตราสำคัญ 5 ข้อที่ทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นที่จะปฏิบัติก่อนที่พลเมืองตุรกีจะได้รับการยกเว้นวีซ่าเข้ายุโรป เมื่อข้อตกลงอพยพมีความเปราะบางมากขึ้น อียูก็คำนึงถึงแผนการให้กรีซกลายเป็นศูนย์กลางรับผู้อพยพและอียูจะส่งวงเงินสินเชื่อที่ได้ให้คำมั่นกับตุรกีให้แก่กรีซแทน แต่ขณะนี้กรีซกำลังประสบอุปสรรคเนื่องจากต้องเผชิญกับปัญหาหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูงและเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะซบเซา
ในขณะเดียวกัน บรรดานักวิเคราะห์ได้แสดงความเห็นว่า กุญแจเพื่อแก้ไขวิกฤตผู้อพยพในปัจจุบันคือ เสถียรภาพในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ โดยเฉพาะประเทศที่ตกเข้าสู่วิกฤตกลางเมืองและได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤต Arab Spring เช่นอิรัก ซีเรีย ลิเบีย เยเมนและอียิปต์ ถึงเวลาแล้วที่ยุโรปและโลกต้องมีปฏิบัติการระดับโลกเพื่อช่วยให้ประเทศในภูมิภาคฟื้นตัวและมีความเข้มแข็งมากขึ้นเพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจและสังคม
ถึงแม้จะใช้ความพยายามมากมาย แต่จนถึงขณะนี้ ดูเหมือนว่า ยุโรปยังไม่สามารถแสวงหามาตรการแบบบูรณาการที่มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขวิกฤตผู้อพยพ โดยมาตรการแก้ไขยังคงเป็นเพียงวิธีการชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้น ในเวลาที่จะถึง ยุโรปยังคงต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักจากปัญหาผู้อพยพต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด