ความท้าทายและความหวังที่ค้างคาต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหลังจากมีสมาชิกไม่ถาวรชุดใหม่ 5 ประเทศ

(VOVWORLD) - เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากลงคะแนน 2 รอบ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ลงคะแนนเลือกสมาชิกไม่ถาวรชุดใหม่ 5 ประเทศของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติวาระปี 2021-2022 ถึงแม้เหลือเวลาอีกกว่าครึ่งปีถึงจะรับหน้าที่ แต่ขณะนี้ ประเทศสมาชิกใหม่และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยังตระหนักได้ดีถึงทั้งความท้าทายและความคาดหวังในวาระต่อไป
ความท้าทายและความหวังที่ค้างคาต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหลังจากมีสมาชิกไม่ถาวรชุดใหม่ 5 ประเทศ - ảnh 1การประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (AFP)

การได้รับการคัดเลือกและกลายเป็นสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติไม่เพียงแต่เป็นเกียรติและความภาคภูมิใจเท่านั้น หากเป็นหน้าที่อันยิ่งใหญ่ต่อประเทศที่ได้รับการคัดเลือกอีกด้วย เพราะคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเป็นสำนักงานแห่งเดียวของสหประชาชาติที่มีสิทธิตัดสินใจ ประเมินภัยคุกคามต่อสันติภาพ การทำลายสันติภาพหรือปฏิบัติการรุกราน และจะมีข้อเสนอแนะหรือตัดสินใจมาตรการที่เหมาะสมเพื่อธำรงหรือฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การตัดสินใจและมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีลักษณะเชิงบังคับและทุกประเทศสมาชิกของสหประชาชาติต้องให้ความเคารพและปฏิบัติ ด้วยหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้ ความคาดหวังและความท้าทายที่ค้างคาต่อประเทศสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติสมัยต่อไป ประกอบด้วยอินเดีย เม็กซิโก นอร์เวย์ ไอร์แลนด์และเคนยา ตลอดจนสำนักงานแห่งนี้เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาก

ความท้าทายต่างๆ

เพื่อดำรงตำแหน่งสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติตามวาระให้ประสบความสำเร็จ ก่อนอื่น ประเทศที่ได้รับการคัดเลือกต้องเผชิญกับอุปสรรคที่ฝังรากลึกในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ความท้าทายนั้นส่วนใหญ่มาจากความแตกต่างกันเกี่ยวกับทัศนะขั้นพื้นฐาน ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์หลักและการแข่งขันอิทธิพลระหว่าง 5 ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติคือ สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซียและจีน ความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกถาวรนับวันชัดเจนมากขึ้นในเวลาที่ผ่านมา เช่นการที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติไม่สามารถเห็นพ้องและมีท่าทีอย่างทันการณ์เพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ถึงแม้ประชาคมโลกได้ตั้งความหวังต่อสิ่งนี้ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกถาวรยังทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประสบอุปสรรคมากมายในการบรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เพื่อออกมติร่วมกัน ทำให้เมื่อปี 2019 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติสามารถเห็นพ้องและอนุมัติมติได้เพียง 67 ฉบับเท่านั้น ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1991

ต่อจากนั้น ประเทศสมาชิกไม่ถาวรชุดใหม่และประเทศสมาชิกไม่ถาวรชุดปัจจุบันยังต้องรับหน้าที่แก้ไขปัญหาที่เพิ่งเกิดขึ้นที่นับวันเพิ่มมากขึ้นในภูมิภาคและโลก ตลอดจนปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะการแก้ไขผลกระทบอย่างหนักที่ยังไม่ยุติลงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งถือเป็นความท้าทายที่รุนแรง ตามรายงานต่างๆ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีความเสี่ยงสูงที่จะส่งผลกระทบอย่างหนักเป็นวงกว้างต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆตามระเบียบวาระการประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

ความคาดหวัง

เป็นที่ชัดเจนว่า ความท้าทายที่ค้างคาต่อสมาชิกไม่ถาวรชุดใหม่และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในเวลาที่จะถึงเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ถึงกระนั้น ประชามติโลกยังคงตั้งความหวังว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะส่งเสริมบทบาท ปกป้องและธำรงสันติภาพของโลกเป็นอย่างดี พื้นฐานของความเชื่อมั่นนั้นคือความพยายามในเวลาที่ผ่านมาของประเทศสมาชิกไม่ถาวรในการลดช่องว่างความขัดแย้งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ผ่านการจัดการประชุมต่างๆโดยมีการเข้าร่วมของเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ อันโตนีโอ กูเตอร์เรส เพื่อแสวงหามาตรการให้องค์การนี้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น เมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติไม่สามารถบรรลุเสียงพูดเดียวกันในปัญหาสำคัญๆ ประเทศสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจึงได้ออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อแสดงทัศนะ เช่นแถลงการณ์ร่วมเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2019 เกี่ยวกับกิจกรรมของอิสราเอลที่ยึดครองเขตตั้งถิ่นฐานในเขตเวส์ตแบงค์หรือแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการปฏิรูปวิธีการปฏิบัติงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในเวลาที่ผ่านมาเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2020

นอกจากนั้น 5 ประเทศที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติวาระปี 2021-2022 ล้วนเป็นประเทศที่เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมาแล้ว โดยเฉพาะอินเดียซึ่งเคยดำรงตำแหน่งมาแล้ว 7 วาระ ซึ่งหมายความว่า มีประสบการณ์เกี่ยวกับกิจกรรมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ นอกจากนั้นประเทศเหล่านี้ได้เตรียมพร้อมในทุกด้านเพื่อรับมือและฟันฝ่าความท้าทายในฐานะใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็นผ่านเนื้อหาการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งเชื่อว่า ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้ประเทศสมาชิกไม่ถาวรมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพต่อกิจกรรมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อโลกที่มีสันติภาพและเสถียรภาพอย่างยั่งยืน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด