ความพยายามแก้ไขวิกฤของกรีซ

(VOVworld) – ผลการทำประชาพิจารณ์ในกรีซเมื่อเร็วๆนี้ได้เพิ่มความยากลำบากในการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้นำสหภาพยุโรปหรืออียู นั่นคือมีความไปได้สูงที่กรีซจะต้องออกจากเขตยูโรโซน ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางลบต่อภูมิภาค ดังนั้นผู้นำอียูหลายประเทศกำลังหาทางออกให้แก่ปัญหาดังกล่าว
(VOVworld) – ผลการทำประชาพิจารณ์ในกรีซเมื่อเร็วๆนี้ได้เพิ่มความยากลำบากในการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้นำสหภาพยุโรปหรืออียู นั่นคือมีความไปได้สูงที่กรีซจะต้องออกจากเขตยูโรโซน ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางลบต่อภูมิภาค ดังนั้นผู้นำอียูหลายประเทศกำลังหาทางออกให้แก่ปัญหาดังกล่าว
ความพยายามแก้ไขวิกฤของกรีซ - ảnh 1
นายกรัฐมนตรีกรีซ อเล็กซิส ซีปราส (Photo Reuters)
ถ้าหากกรีซต้องถอนตัวออกจากเขตยูโรโซน ก็จะส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ซึ่งมูลค่าอาจมากถึงนับล้านล้านยูโร พร้อมทั้งทำลายความไว้วางใจและยุทธศาสตร์การสร้างสรรค์สหภาพยุโรปในระยะยาว นอกจากการที่เจ้าหนี้ระหว่างประเทศจะต้องสูญเสียเงินกู้ให้แก่กรีซจำนวนกว่า 2 แสน 4 หมื่น 2 พันล้านยูโรแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นวงเงินช่วยเหลือพร้อมกับพันธบัตรรัฐบาลกรีซ ซึ่งกำลังอยู่ภายใต้การควบคุมของธนาคารกลางยุโรปหรืออีซีบีและธนาคารกลางของประเทศต่างๆในเขตยูโรโซน ดังนั้น การที่กรีซบอกไม่เอาเงินยูโรก็เหมือนเหตุแผ่นดินไหวที่รุนแรงเพราะอาจเกิดอาฟเตอร์ช็อกแบบลูกโซ่ต่ออนาคตของเงินยูโร สิ่งนี้ได้ทำให้อียูอยู่ในภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกและบรรดาผู้นำอียูและเขตยูโรโซนต้องเลือกคำตอบ “ yes” หรือ “ no”กับโจทย์กรีซ
อียูยังคงเปิดประตูการเจรจากับกรีซ
หลังจากที่กรีซเสร็จสิ้นการทำประชาพิจารณ์ เมื่อค่ำวันที่ 7 กรกฎาคม ผู้นำประเทศต่างๆในยูโรโซนได้มีการประชุมฉุกเฉิน ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม โดยก่อนหน้านั้น นายฟร์องซัว ออลองด์  ประธานาธิบดีฝรั่งเศสและนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้มีการพบปะกัน ณ กรุงปารีสเมื่อค่ำวันที่ 6 กรกฎาคมเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหากรีซและประกาศว่า ประตูการเจรจายังคงเปิดรอกรีซเพื่อแสวงหามาตรการแก้ไขวิกฤตหลังการทำประชาพิจารณ์ อย่างไรก็ดีผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนีต่างย้ำว่า ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี อเล็กซิส ซีปราสต้องมีข้อเสนอแนะอย่างจริงจัง น่าเชื่อถือที่แสดงให้เห็นความประสงค์ที่จะคงอยู่ในเขตยูโรโซนต่อไปด้วยแผนการในระยะยาว
ท่าทีของกรีซ
กรีซได้ผ่อนปรนแผนการส่วนหนึ่งหลังจากที่มีผลการทำประชาพิจารณ์โดยเสนอแผนการปฏิรูปใหม่ๆเพื่อแลกกับวงเงินช่วยเหลือของอียู หลังจากที่มีผลการทำประชาพิจารณ์ นายกรัฐมนตรีกรีซ อเล็กซิส ซีปราสก็ได้ประกาศว่า พร้อมที่จะเจรจาต่อไปเกี่ยวกับแผนการปฏิรูปเพราะกรีซไม่อยากออกจากเขตยูโรโซน ที่เอเธนส์ นาย อเล็กซิส ซีปราส ได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรคการเมืองใหญ่ 4 พรรคเกี่ยวกับแผนการผลักดันกระบวนการเจรจาให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อสามารถบรรลุข้อตกลงที่ยุติธรรมในด้านเศรษฐกิจและสังคมกับเจ้าหนี้ นอกจากนี้ นาย อเล็กซิส ซีปราสยังพูดคุยทางโทรศัพท์กับนาย มาริโอ ดรากี ผู้อำนวยการธนาคารกลางยุโรปหรืออีซีบีและนางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟเพื่อหารือเกี่ยวกับความท้าทายทางเศรษฐกิจที่กรีซต้องเผชิญและเรียกร้องให้อีซีบีเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินฉุกเฉินให้แก่ระบบธนาคารของกรีซ
ความพยายามแก้ไขวิกฤของกรีซ - ảnh 2
นายฟร์องซัว ออลองด์ และนางอังเกลา แมร์เคิล (Photo AFP)
ความท้าทายไม่น้อย
มีความท้าทายไม่น้อยเพราะบรรดาประเทศยุโรปยังไม่มีความเห็นพ้องกันเกี่ยวกับแนวทางการเข้าถึงปัญหากรีซ มี 16 ประเทศในจำนวนทั้งหมด 18 ประเทศเขตยูโรโซนที่ยังคงรักษาทัศนะและพร้อมที่จะปล่อยให้กรีซออกจากเขตยูโรโซน เช่น เยอรมนี ฟินแลนด์ บรรดาประเทศในเขตบอลติก ยุโรปกลางและยุโรปใต้ ซึ่งผู้นำประเทศเหล่านี้ได้เตือนว่า ถ้าหากเอเธนส์เข้าร่วมการเจรจาโดยมีความประสงค์ว่า จะโน้มน้าวให้หุ้นส่วนเปลี่ยนทัศนะ การเจรจาก็จะยุติลงทันที กรีซมีทางเดียวคือต้องยอมรับการปฏิรูปอย่างกว้างลึก และขณะนี้มีแค่ฝรั่งเศสและอิตาลีเท่านั้นที่แสดงท่าทีว่าสามารถยอมรับข้อเรียกร้องของกรีซ โดยนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส มานุแอล วาลส์ได้เผยวา ไม่มีข้อห้ามในการปรับปรุงโครงสร้างของวงเงินกู้ ส่วนนายกรัฐมนตรีอิตาลี มัตเตโอ เรนซี่เผยว่า เขตยูโรโซนต้องแสวงหามาตรการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินปัจจุบันให้เด็ดขาด ถ้าหากยังคงปฏิบัติข้อกำหนดต่างๆและมีการบริหารแบบขุนนาง ยุโรปก็จะล่มสลาย
กรีซและอียูจะต้องเร่งฟื้นฟูการเจรจาเพื่อหารือมาตรการแก้ไขปัญหาในปัจจุบันแต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ทุกฝ่ายจะสามารถผ่อนปรนอะไรได้บ้างและนี่จะเป็นทางออกให้แก่ทั้งกรีซและเขตยูโรโซนหรือไม่ ส่วนอีซีบีได้ตัดสินใจไม่เพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธนาคารกรีซ โดยคงเงินช่วยเหลือจำนวน 8 หมื่น 9 พันล้านยูโรเหมือนที่ได้ประกาศเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา และขณะนี้เงินของธนาคารกรีซใกล้จะหมดแล้ว ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมจากอีซีบี กรีซก็ยากที่จะปฏิบัตินโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด