ความมั่นคงทางทะเลของเวียดนาม: สอดคล้องกับกฎหมายสากลและมุ่งสู่สันติภาพ

(VOVworld) – ในตลอดกว่า 1 เดือนที่ผ่านมาที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง 981 อย่างผิดกฎหมายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามโดยใช้เรือคุ้มกันและเรือทหารจงใจพุ่งชนเรือพลเรือนของเวียดนามที่กำลังปฏิบัติอำนาจอธิปไตยและเขตอำนาจศาลแต่เวียดนามยังคงยืนหยัดและพยายามแก้ไขความตึงเครียดด้วยสันติวิธี ซึ่งเป็นแนวทางที่เสมอต้นเสมอปลายของเวียดนามที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากประชาคมระหว่างประเทศ อันเป็นการพิสูจน์ให้เห็น แนวทางการต่างประเทศที่สันติภาพของเวียดนาม โดยเฉพาะนโยบายความมั่นคงทางทะเลที่สอดคล้องกับกฎหมายสากลและมุ่งสู่สันติภาพ
(VOVworld) – ในตลอดกว่า 1 เดือนที่ผ่านมาที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง 981 อย่างผิดกฎหมายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามโดยใช้เรือคุ้มกันและเรือทหารจงใจพุ่งชนเรือพลเรือนของเวียดนามที่กำลังปฏิบัติอำนาจอธิปไตยและเขตอำนาจศาลแต่เวียดนามยังคงยืนหยัดและพยายามแก้ไขความตึงเครียดด้วยสันติวิธี ซึ่งเป็นแนวทางที่เสมอต้นเสมอปลายของเวียดนามที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากประชาคมระหว่างประเทศ อันเป็นการพิสูจน์ให้เห็น แนวทางการต่างประเทศที่สันติภาพของเวียดนาม โดยเฉพาะนโยบายความมั่นคงทางทะเลที่สอดคล้องกับกฎหมายสากลและมุ่งสู่สันติภาพ
ความมั่นคงทางทะเลของเวียดนาม: สอดคล้องกับกฎหมายสากลและมุ่งสู่สันติภาพ - ảnh 1
เรือจีนฉีดน้ำใส่เรือเวียดนาม (Photo AP)

ความมั่นคงทางทะเลเป็นส่วนหนึ่งในความมั่นคงของประเทศ ภูมิภาคและโลก ความมั่นคงทางทะเลประกอบด้วยความมั่นคงที่มีมาช้านานและความมั่นคงที่เกิดใหม่  ประเทศเวียดนามติดกับทะเลใน 3 ทิศ คือทิศตะวันออก ทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 3,260 กิโลเมตร มีเขตน่านน้ำภายในเขตน่านน้ำทะเล เขตรอยต่อน่านน้ำ เขตเศรษฐกิจจำเพาะแหลไหล่ทวีป มีหมู่เกาะและเกาะแก่งเกือบ 3,000 แห่ง รวมทั้งหมู่เกาะสองแห่งคือหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลี ดังนั้น ความมั่นคงทางทะเลมีบทบาทสำคัญพิเศษต่อเวียดนามในด้านเศรษฐกิจ สังคม การป้องกันประเทศ ความมั่นคงและสิ่งแวดล้อม
ให้การเคารพกฎหมายสากลอยู่เสมอ
นโยบายความมั่นคงทางทะเลของเวียดนามถูกรัฐสภาและรัฐบาลร่างตั้งแต่ที่ก่อตั้งรัฐและถูกระบุในยุทธศาสตร์การปกป้องประเทศ โดยเฉพาะการประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสมัยที่ 11 แนวคิดและปัจจัยยุทธศาสตร์ว่าด้วยการปกป้องความมั่นคงในเขตทะเลและเกาะแก่งของปิตุภูมิได้ถูกร่างอย่างสมบูรณ์และสอดคล้องกับสถานการณ์ใหม่ ในการประชุมครั้งนี้ พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามได้เน้นถึงปัญหาที่เป็นรูปธรรมในการปฏิบัติการพัฒนาเศรษฐกิจกับการปกป้องความมั่นคงในเขตทะเลและเกาะแก่งของประเทศ
เดือนมิถุนายนปี 2012 รัฐสภาเวียดนามได้อนุมัติกฎหมายทะเลที่สอดคล้องกับกฎบัตรและอนุสัญญาของสหประชาชาติ
ในความเป็นจริง เพื่อรักษาความมั่นคงบนทะเล เวียดนามมีกองกำลังรักษาโดยตรงคือตำรวจทะเลและกองกำลังตรวจการณ์ประมง ซึ่งเป็น 2 กองกำลังหลักในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ที่ชอบธรรมของเวียดนามในทะเลตามอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 ดังนั้น กองกำลังบังคับใช้กฎหมายของเวียดนามได้ปฏิบัติภารกิจปกป้องความมั่นคงในทะเลตามอนุสัญญาดังกล่าว รองศ.เลวันเกือง อดีตหัวหน้าสถาบันยุทธศาสตร์สังกัดกระทรวงรักษาความมั่นคงทั่วไปเผยว่า “เนื้อหาหลักของนโยบายความมั่นคงทางทะเลหรือการปกป้องอธิปไตยเหนือทะเลและเกาะแก่งของเวียดนามต่างอาศัยกฎบัตรสหประชาชาติและอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982  ดังนั้นเนื้อหาหลักของยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเลของเวียดนามจึงสอดคล้องกับเอกสารทุกฉบับของโลกสมัยใหม่และสอดคล้องกับแนวโน้มของยุคปัจจุบัน นั่นคือ เวียดนามมีส่วนร่วมปกป้องสันติภาพ เสถียรภาพและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในเขตทะเลตะวันออก ดังนั้นนโยบายนี้ของเวียดนามได้รับการตอบรับอย่างดีจากประชาคมโลกและอาจกล่าวได้ว่า ประเทศใหญ้ๆของโลก เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น รัสเซีย ยุโรปและอินเดียต่างสนับสนุนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเลของเวียดนาม
ความมั่นคงทางทะเลของเวียดนาม: สอดคล้องกับกฎหมายสากลและมุ่งสู่สันติภาพ - ảnh 2
พลเอกฝุ่งกวางแทงกล่าวปราศรัยในการสนทนาแชงกรีล่า 13 (Photo VNplus)

บนเจตนารมณ์แห่งการเคารพกฎหมายสากล ถึงแม้จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง 981 อย่างผิดกฎหมายและลึกเข้าไปในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนาม เวียดนามยังคงแสดงเจตนาดีและยืนหยัดที่จะแก้ไขความขัดแย้งผ่านการเจรจา การสนทนาและสันติวิธีต่างๆ ซึ่งแนวทางนี้ได้รับการยืนยันจากพลเอกฝุ่งกวางแทง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเวียดนามในการพบปะกับสื่อมวลชนนอกกรอบการสนทนาแชงกรีล่า 13 ณ ประเทศสิงคโปร์เมื่อเร็วๆนี้ว่า “แนวทางที่เสมอต้นเสมอปลายของเวียดนามคือจะแก้ไขปัญหาด้วยการสนทนา สันติวิธีและตามกฎหมายสากล อนุสัญญาของสหประชาชาตเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 และแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซี พวกเรามีความอดกลั้น ไม่ใช้กำลังหรือข่มขู่ใช้กำลัง พวกเราใช้เรือตรวจการณ์ประมง เรือของตำรวจทะเลและเรือประมงประสานงานกับกองกำลังบังคับใช้กฎหมายเพื่อต่อสู้ปกป้องอธิปไตยและจุดยืนของเวียดนามได้รับการชื่นชมและสนับสนุนอย่างเต็มที่จากนานาประเทศ พวกเราต้องอดกลั้นมากเพื่อไม่ให้เกิดการปะทะ
ร่วมมือกับหลายฝ่ายเพื่อแก้ไขความท้าทายด้านความมั่นคงที่เกิดใหม่ในทะเลตะวันออก
การปฏิบัติตามกฎหมายสากลของเวียดนามได้แสดงในความร่วมมือเพื่อแก้ไขความท้าทายด้านความมั่นคงที่เกิดใหม่ ซึ่งควบคู่กับแนวทางการพัฒนาพลังภายใน เวียดนามยังคงขยายความสัมพันธ์ร่วมมือกับนานาประเทศบนหลักการคือการเคารพเอกราช อธิปไตย เอกภาพ บรูณภาพแห่งดินแดนและไม่แทรกแซงกิจการภายในของกัน รองศ.เลวันเกืองเผยต่อไปว่า “ปัญหาความมั่นคงทางทะเลของเวียดนามก็มีความเชื่อมโยงกับนานาประเทศ ซึ่งก่อนอื่นคือบรรดาประเทศอาเซียน กฎหมายทางทะเลปี 2012 ได้รับการอนุมัติในสภาวะการณ์ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังมุ่งสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองกับความมั่นคง กฎหมายทางทะเลและการปฏิบัตินโยบายความมั่นคงทางทะเลของเวียดนามได้มีส่วนร่วมต่อการก่อตั้งประชาคมความมั่นคงจึงได้รับการสนับสนุนจากอาเซียน นอกจากนี้ ในฟอรั่มต่างๆ เช่น อาเซียน +1 อาเซียน +3 ความมั่นคงในเอเชียตะวันออกและเอเปก เวียดนามได้อธิบายเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลของตนว่าเป็นสอดคล้องกับกฎหมายสากล ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากองค์การระหว่างประเทศ
ควบคู่กับความร่วมมือระหว่างประเทศ เวียดนามยังขยายการวิจัย ประเมินและพยากรณ์อย่างทันการณ์เกี่ยวกับผลกระทบของความมั่นคงที่เกิดใหม่ในทะเล โดยเฉพาะผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย ร่างยุทธศาสตร์ วางแผนผังและโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ – สังคมทางทะเลพร้อมกับเน้นการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแห่งสีเขียวและยั่งยืน ตลอดจนเพิ่มการลงทุนแหล่งพลังต่างๆและร่างกลไกนโยบายเพื่อให้ทั้งสังคมเข้าร่วมการป้องกันและปราบปรามภัยธรรมชาติและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า นโยบายความมั่นคงทางทะเลของเวียดนามที่เน้นถึงการปฏิบัติตามกฎหมายสากล การแก้ไขการพิพาทและขัดแย้งผ่านการเจรจาอย่างสันติ ไม่ใช้กำลังหรือข่มขู่ใช้กำลังได้มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในการสร้างสรรค์ให้ทะเลตะวันออกเป็นเขตที่สันติภาพ เสถียรภาพและมีความร่วมมือเพื่อมีส่วนร่วมสร้างสรรค์บรรยากาศที่สันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในเอเชียและแปซิฟิก./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด