ความยากลำบากในการเจรจากระบวนการ Brexit ปี2017

(VOVWORLD) - ในช่วงสุดท้ายของปี2017 ที่ประชุมผู้นำยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ได้อนุมัติมติให้อียูเข้าสู่ระยะที่สองของการเจรจาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างอังกฤษกับอียูหลังกระบวนการ Brexit ซึ่งถือเป็นก้าวกระโดดที่ช่วยให้ทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นการเจรจาระยะที่หนึ่งเกี่ยวกับปัญหา Brexit ที่เต็มไปด้วยความยากลำบากในปี 2017
 
ความยากลำบากในการเจรจากระบวนการ Brexit ปี2017 - ảnh 1นาง เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ (Photo: euractiv)

การที่ชาวอังกฤษสนับสนุนการถอนตัวจากอียูในการลงประชามติเมื่อปี 2016 คือเหตุการณ์ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อประชาคมโลก ดังนั้นการเจรจาระหว่างสองฝ่ายในปี2017 จึงกลายเป็นประเด็นร้อนที่สื่อมวลชนต้องจับตา รวมถึงการที่ประเทศสมาชิกอียูและอังกฤษต่างต้องมีความพยายามเป็นอย่างมากเพื่อวางยุทธศาสตร์และจัดการเจรจากระบวนการ Brexit

ความยากลำบากในการเจรจาระยะที่หนึ่ง

การเจรจาเกี่ยวกับกระบวนการ Brexit ได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม  โดยในตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา อังกฤษและอียูได้ทำการสนทนาหลายครั้งและได้เกิดปัญหาความขัดแย้งต่างๆที่ดูเหมือนบางช่วงต้องตกเข้าสู่ภาวะชงักงันเพราะเกี่ยวข้องถึงผลประโยชน์และปัญหาอื่นๆของแต่ละฝ่าย โดยเฉพาะ 3 ประเด็นหลักคือ สิทธิพลเมือง ปัญหาไอร์แลนด์เหนือ กับสาธารณรัฐไอร์แลนด์และปัญหาการจ่ายเงินชดเชยให้แก่อียู  ซึ่งเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นาย ฌอง-โคลด ยุงเคอร์ ประธานคณะกรรมการยุโรปได้เผยว่า การเจรจาเกี่ยวกับกระบวนการ Brexit ต้องบรรลุความคืบหน้าใหม่เพื่อสามารถย่างเข้าสู่ระยะที่สอง  ส่วนนาย Michel Barnier หัวหน้าคณะเจรจากระบวนการ Brexitของสหภาพยุโรปได้ยืนยันถึงความขัดแย้งสำคัญที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ โดยเฉพาะปัญหาด้านการเงิน ซึ่งทำให้เมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา รัฐสภายุโรปได้อนุมัติมติที่เรียกร้องให้ผู้นำอียูเลื่อนการเจรจากระบวนการ Brexitระยะที่สองออกไปเนื่องจากยังไม่บรรลุความคืบหน้าเพียงพอเพื่อหารือถึงความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างอียูกับอังกฤษในอนาคต

สำหรับทางฝ่ายอังกฤษ นาย David Davis รัฐมนตรีดูแลปัญหาBrexit  ได้ยอมรับว่า นี่คือการเจรจาที่ซับซ้อนอย่างไม่เคยมีมาก่อนเนื่องจากหลายๆปัญหาจะทำให้อังกฤษต้องสูญเสียเงินหลายพันล้านปอนด์ และมีบางช่วงที่นาย David Davis ได้ประกาศว่า อังกฤษพร้อมที่จะถอนตัวจากอียูโดยไม่ต้องการข้อตกลงใดๆและสหภาพยุโรปจะไม่ได้สิ่งที่พวกเขาต้องการถ้าหากยังคงเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสม

แต่ในที่สุด ทั้งสองฝ่ายก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างไปได้ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ด้วยบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับกระบวนการ Brexit และหลังจากนั้น 1 สัปดาห์ การประชุมผู้นำอียูนัดสุดท้ายของปี 2017 ได้เห็นพ้องที่จะเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการเจรจาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่าง 2 ฝ่ายหลังกระบวนการ Brexit

ความได้เปรียบของอียู

ทั้งนี้ สามารถเห็นได้ว่า สหภาพยุโรปมีความได้เปรียบในการเจรจาเกี่ยวกับกระบวนการ Brexit  ในขณฝ่ายอังกฤษยังไม่ได้เสนอกระบวนการหรือยุทธศาสตร์การเจรจาที่ชัดเจนและไม่มีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดีแม้การเจรจาระหว่าง 2 ฝ่ายได้เริ่มขึ้นหลังการลงประชามติในอังกฤษ 1 ปี นอกจากนี้ จากความประสงค์ที่จะผลักดันการเจรจาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านการค้าทวิภาคีให้ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นอังกฤษได้ยอมปฏิบัติเงื่อนไขเกือบทุกข้อที่อียูเสนอ

แต่ในทางกลับกัน หนึ่งในความสำเร็จของอียูในการเจรจาเกี่ยวกับปัญหา Brexit ก็คือความสามัคคีระหว่างประเทศสมาชิกเพราะอียูตระหนักได้ดีว่า ถ้าหากไม่แก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เด็ดขาดก็จะทำให้เกิดกระแสการถอนตัวออกจากกลุ่มที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อการคงอยู่ของอียู นอกจากนี้  27 ประเทศสมาชิกอียูไม่อยากจ่ายเงินแบ่งกันทดแทนส่วนงบประมาณที่ขาดเนื่องจากการถอนตัวจากอียูของอังกฤษดังนั้นจึงต้องสามัคคีกันเพื่อกดดันให้อังกฤษต้องจ่ายเงินชดเชยให้มากที่สุด ซึ่งความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ของ 27 ประเทศสมาชิกอียูได้ช่วยให้คณะเจรจาอียูสามารถรักษาจุดยืนที่เข้มแข็งต่ออังกฤษได้เป็นเวลานาน

ทั้งนี้และทั้งนั้น แสดงให้เห็นว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับปัญหา Brexit ที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้บรรลุเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมาสร้างความได้เปรียบให้แก่อียูเพราะอังกฤษได้ยอมประนีประนอมในบางส่วน โดยได้รับรองอำนาจของศาลยุติธรรมยุโรปในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิและผลประโยชน์ของพลเมืองยุโรป 3 ล้านคนที่กำลังอาศัยในอังกฤษ ความตกลงเกี่ยวกับการกำหนดเส้นแบ่งพรมแดนถาวรระหว่างไอร์แลนด์เหนือกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ซึ่งถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการเจรจาเกี่ยวกับกระบวนการ Brexit  ส่วนสำหรับปัญหาการจ่ายเงินชดเชยให้แก่อียู ซึ่งเป็นปัญหาที่ทางการอังกฤษไม่ยอมประนีประนอมตั้งแต่เริ่มการเจรจาก็ได้รับการแก้ไขเมื่ออังกฤษยอมจ่ายเงิน 47 – 52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ระยะที่หนึ่งของการเจรจาเกี่ยวกับกระบวนการ Brexit ได้เสร็จสิ้นลงหลังจากที่ปัญหาสำคัญ 3 ประเด็นได้แก่สิทธิพลเมือง ปัญหาระหว่างไอร์แลนด์เหนือกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์และการจ่ายเงินชดเชยให้แก่อียูได้รับการแก้ไข  ในปี 2018 อียูและอังกฤษจะทำการเจรจาต่อไปเพื่อแสวงหาข้อตกลงการค้าทวิภาคี ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยากลำบากกว่าระยะที่หนึ่งเพราะทั้งอียูและอังกฤษต่างมีเป้าหมายเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าระยะยาวที่มีผลต่อผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์แห่งชาติของทั้งสองฝ่าย ดังนั้น การเจรจาเกี่ยวกับข้อกำหนดทุกข้อก็จะดำเนินไปอย่างซับซ้อนแน่นอน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด