ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุก่อการร้ายในเดือนรอมฎอนในยุโรป

(VOVWORLD) - วันที่ 27 พฤษภาคม ชาวมุสลิมทั่วโลกกว่า 1.6 พันล้านคนได้เริ่มถือศีลอดในเดือนรอมฎอนซึ่งเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของศาสนาอิสลาม สำหรับชาวมุสลิม เทศกาลถือศีลอดคือช่วงเวลาเพื่ออธิษฐาน สวดมนต์และทำกิจกรรมเพื่อการกุศล แต่เดือนถือศีลอดในปีนี้เต็มไปด้วยความวิตกกังวลว่า อาจจะเกิดเหตุก่อการร้าย โดยเฉพาะในยุโรป

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุก่อการร้ายในเดือนรอมฎอนในยุโรป - ảnh 1นักท่องเที่ยวและตำรวจอังกฤษในกรุงลอนดอน (EPA) 

สำหรับชาวมุสลิม เดือนถือศีลอดคือเดือนที่ศักดิ์สิทธิ์ของปี เพราะนี่คือช่วงเวลาที่ชาวมุสลิมจะต้องอดอาหารงดเครื่องดื่มเพื่อที่จะได้มีความรู้สึกถึงคนที่ยากจน การอุทิศส่วนกุศลและช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคม การมีความอดทนรู้จักให้อภัยและสำนึกในสิ่งที่ตัวเองได้ทำ อีกทั้งเป็นโอกาสเพื่อให้ทุกคนในครอบครัวพร้อมหน้าพร้อมตากัน แต่ในหลายปีมานี้ เดือนรอมฎอนได้กลายเป็นช่วงเวลาแห่งความรุนแรงจากการโจมตีของกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอส

ยุโรปเพิ่มความเข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยในเทศกาลถือศีลอด

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม กลุ่มไอเอสได้เผยแพร่คลิปบน Youtube โดยเรียกร้องให้ชาวมุสลิมในยุโรปทำการโจมตีในเขตที่พวกเขาอาศัย และเป้าหมายของการโจมตีคือนักวิชาการและนักการเมือง และกลุ่มไอเอสได้ยืนยันว่า สิ่งที่ใกล้จะเกิดขึ้นจะรุนแรงเป็นอย่างมาก

คำเรียกร้องนี้ได้สร้างความวิตกกังวลต่อประชาชนในยุโรปเป็นอย่างยิ่ง เพราะในเดือนถือศีลอดปี 2016 ได้เกิดเหตุโจมตีหลายครั้งในสถานที่ต่างๆทั่วโลก โดยเหตุการโจมตีก่อการร้ายแรกเกิดขึ้นที่ไนท์คลับในเมืองออร์ลันโด ประเทศสหรัฐ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 49 คน หลังจากนั้นก็เกิดเหตุโจมตีที่เลบานอน ตุรกีและบังกลาเทศ ส่วนในยุโรป เหตุโจมตีก่อการร้ายต่างๆเมื่อปี 2016 และล่าสุดคือเหตุระเบิดที่เมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษที่กลุ่มไอเอสได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบได้ทำให้ประชาชนรู้สึกหวาดกลัวเป็นอย่างมาก และแสดงความเห็นว่า เหตุระเบิดในอังกฤษอาจเป็นจุดเริ่มต้นของโจมตีต่างๆในเดือนถือศีลอดที่ศักดิ์สิทธิ์นี้

หลายประเทศในอียูได้ปฏิบัติมาตรการต่างๆด้านความมั่นคงเพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากการก่อการร้ายหลังจากเกิดเหตุระเบิดในอังกฤษ ตลอดจนในช่วงเดือนรอมฎอน โดยอังกฤษได้ยกระดับการเตือนภัยในระดับสูงสุดในรอบ 1 ทศวรรษที่ผ่านมา เครือข่ายการบริการด้านสาธารณสุขแห่งชาติของอังกฤษได้ส่งคำเตือนถึงศูนย์ช่วยเหลือฉุกเฉินใหญ่ 27  แห่งในประเทศ และเรียกร้องให้เตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุโจมตีก่อการร้าย ส่วนฝรั่งเศสได้ขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของอิตาลีได้เผยว่า กำลังพิจารณาประกาศระดับภัยคุกคามด้านการก่อการร้าย

ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเหตุก่อการร้ายในเดือนรอมฎอนในยุโรป - ảnh 2ตำรวจใน Taormina  บนเกาะ Sicily (AFP)

ความไร้เสถียรภาพในยุโรป

ขณะนี้ ยุโรปมีชาวมุสลิมเกือบ 50 ล้านคน โดยฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีชาวมุสลิมอาศัยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 7-10 ของประชากร รองลงมาคือเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี เดนมาร์ก สวีเดน อังกฤษและอิตาลี

ชาวมุสลิมในยุโรปค่อนข้างประสบอุปสรรคในการปรับตัวเข้ากับสังคมและวัฒนธรรมของประเทศที่อาศัยเนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และอยู่รวมกันเป็นชุมชนเฉพาะ สำหรับปัญหาการปรับตัวนอกปัญหาจากชาวมุสลิมเองแล้วก็ยังมาจากนโยบายสำหรับผู้อพยพ โดยชาวยุโรปส่วนใหญ่มีอคติต่อชาวมุสลิม ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเมื่อปลายปี 2016 ปรากฎว่า ชาวฮังการีร้อยละ 72 มีมุมมองในแง่ลบต่อชาวมุสลิม รองลงมาคืออิตาลี คิดเป็นร้อยละ 69  โปแลนด์คิดเป็นร้อยละ 66 กรีซ คิดเป็นร้อยละ 65 และสเปน คิดเป็นร้อยละ 50 ส่วนที่อังกฤษและฝรั่งเศสคือร้อยละ 28 และร้อยละ 29 ตามลำดับ โดยเฉพาะในฝรั่งเศส ขณะนี้กำลังมีเขตที่ห้ามชาวมุสลิมเข้าไปถึง 150 แห่ง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของความไร้เสถียรภาพ และทำให้เกิดการโจมตีแบบหมาป่าโดดเดี่ยวในเวลาที่ผ่านมา

เดือนรอมฎอนจะมีความสงบสุขหรือไม่

เดือนถือศีลอดปีนี้มีขึ้นเป็นเวลา 30 วัน โดยเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม ตามรายงานสถิติในหลายปีมานี้ปรากฎว่า จำนวนเหตุก่อการร้ายในเดือนรอมฎอนมักจะสูงกว่าช่วงเวลาปกติ โดยเมื่อปีที่แล้ว นาย Abu Muhammad al Adnani โฆษกของกลุ่มไอเอสได้เรียกร้องให้ผู้ก่อการร้ายทำการโจมตีแบบหมาป่าโดดเดี่ยวในเดือนรอมฎอน และนั่นก็คือเดือนรอมฎอนที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์ บรรดาผู้สังเกตการณ์ได้แสดงความเห็นว่า ในสภาวการณ์ที่กลุ่มไอเอสกำลังประสบความล้มเหลวในอิรักและซีเรีย การโจมตีก่อการร้ายเหมือนที่เกิดขึ้นในเมืองแมนเชสเตอร์ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายให้แก่อังกฤษเท่านั้น หากยังเป็นเครื่องมือสร้างภาพลักษณ์ของกลุ่มไอเอส ดึงดูดความสนใจของสื่อมวลชน สร้างความฮึกเหิมให้แก่นักรบในแนวหน้า อีกทั้งเป็นวิธีการเพื่อให้กลุ่มไอเอสสร้างความความเกลียดชัง ความแตกแยกระหว่างโลกมุสลิมกับประชาคมโลกมากขึ้น ดังนั้นการโจมตีก่อการร้ายในเมืองแมนเชสเตอร์ และที่ประเทศอียิปต์ได้ทำให้โลกมีความวิตกกังวลว่า เดือนรอมฎอนปีนี้ยากที่จะมีความสงบสุข.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด