ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับฝ่ายตะวันตกมีความตึงเครียดมากขึ้น

(VOVWORLD) - สงครามในยูเครนได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับตะวันตกมีความตึงเครียดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยฝ่ายตะวันตกกล่าวหารัสเซียอย่างต่อเนื่องและเพิ่มมาตรการคว่ำบาตร ในขณะที่รัสเซียยังคงแสดงถึงจุดยืนที่แข็งกร้าว แต่ก็ยืนยันว่า ประตูสู่การเจรจายังคงเปิดกว้างอยู่เสมอ
ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับฝ่ายตะวันตกมีความตึงเครียดมากขึ้น - ảnh 1นาย เจนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการองค์การนาโต้ (AFP)

 

หลังจากที่รัสเซียรับรองเอกราชของสาธารณรัฐโดเนสต์และลูฮันท์ที่ประกาศแยกตัวออกจากยูเครนเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์และเปิดยุทธนาการทางทหารพิเศษในยูเครน ฝ่ายตะวันตกได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อมอสโคว์อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดคือมาตรการคว่ำบาตรที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาว่า กองทัพรัสเซียสังหารหมู่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ในเมือง Bucha ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเคียฟเมื่อต้นเดือนนี้ถึงแม้มอสโคว์ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวหลายครั้งแล้วก็ตาม

ฝ่ายตะวันตกเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรและแรงกดดันต่อรัสเซีย

ถึงแม้รัสเซียได้ออกมาชี้แจงว่าการสังหารหมู่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ในเมือง Bucha เป็นการสร้างข่าวเพื่อใส่ร้ายรัสเซีย   แต่ประเทศยุโรปหลายประเทศได้เนรเทศเจ้าหน้าที่ทางการทูตรัสเซียเกือบ 150 คนออกนอกประเทศ โดยเมื่อวันที่ 5 เมษายน อิตาลี สเปนและเดนมาร์กได้เนรเทศเจ้าหน้าที่ทางการทูตรัสเซีย 70 คน ก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน เยอรมนีได้สั่งเนรเทศเจ้าหน้าที่ทางการทูตรัสเซีย 35 คนและฝรั่งเศสได้สั่งเนรเทศนักการทูตรัสเซีย 40 คน

ในทางเป็นจริง ฝ่ายตะวันตกได้เริ่มทำการเนรเทศเจ้าหน้าที่ทางการทูตรัสเซียก่อนที่จะมีข่าวเรื่องการสังหารหมู่ที่เมือง Bucha โดยประเทศเบลเยียม เนเธอร์แลนด์และไอร์แลนด์ได้เนรเทศเจ้าหน้าที่ทางการทูตรัสเซีย 40 คนเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 3 มีนาคม โปแลนด์ได้เนรเทศเจ้าหน้าที่ทางการทูตรัสเซีย 40 คนในข้อหาเป็นสายลับ และอายัดบัญชีธนาคารของสถานทูตรัสเซีย ซึ่งทางมอสโคว์ได้ออกมากล่าวว่า นี่เป็นการกระทำที่ละเมิดอนุสัญญาเวียนนาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการทูต

การเนรเทศผู้แทนทางการทูตรัสเซียของประเทศในยุโรปนั้นถือเป็นการเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการคว่ำบาตรต่อทางการมอสโคว์ คาดว่า จนถึงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ฝ่ายตะวันตกได้ใช้กว่า 5,000 มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย ซึ่งทำให้รัสเซียกลายเป็นประเทศที่ถูกคว่ำบาตรมากที่สุดในโลกในปัจจุบัน

นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 6 เมษายน นาย เจนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการองค์การนาโต้ได้ประกาศว่า นาโต้มีความยินดีถ้าหากฟินแลนด์และสวีเดนซึ่งเป็นสองประเทศที่เป็นกลางตัดสินใจเข้าร่วมองค์การนาโต้ ซึ่งนี่ถือเป็นการประกาศที่เพิ่มความขัดแย้งกับรัสเซีย โดยฟินแลนด์ที่มีพรมแดนติดกับรัสเซียเป็นระยะทางกว่า 1,300 กม. และได้วางตัวเป็นกลางมาตั้งแต่ปี 1948 ผ่านสนธิสัญญามิตรภาพที่ลงนามกับอดีตสหภาพโซเวียต

ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับฝ่ายตะวันตกมีความตึงเครียดมากขึ้น - ảnh 2โฆษกของพระราชวังเครมลิน ดมีตรี เปสคอฟ  (TASS)

การกระทำของรัสเซียและความพยายามเพื่อคลี่คลายความตึงเครียดของประเทศตะวันตก

แม้เผชิญแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากฝ่ายตะวันตก แต่รัฐบาลรัสเซียยังคงแสดงออกถึงจุดยืนที่แข็งกร้าวและเสมอต้นเสมอปลาย ในการให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ฝรั่งเศส LCI เมื่อวันที่ 6 เมษายน โฆษกของพระราชวังเครมลิน ดมีตรี เปสคอฟ ได้เตือนว่า มอสโคว์จะตัดความสัมพันธ์ทางการทูตถ้าหากประเทศตะวันตกยังคงเดินหน้าเนรเทศนักการทูตรัสเซีย และอธิบายว่า การกระทำดังกล่าว “สร้างภัยคุกคามต่อการธำรงความสัมพันธ์ทางการทูต” ถึงกระนั้น นาย ดมีตรี เปสคอฟ ก็ยืนยันว่า การธำรงความสัมพันธ์ทางการทูต โดยเฉพาะในสภาวการณ์ปัจจุบันเป็นสิ่งที่จำเป็น

ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ระหว่างประเทศ การตัดสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัสเซียกับฝ่ายตะวันตกถือเป็นการเคลื่อนไหวที่อันตราย เพราะผลที่ตามมานั้นจะมีความซับซ้อนและคาดเดาไม่ได้และไม่เป็นประโยชน์ต่อสถานการณ์ความมั่นคงของโลก ดังนั้น ประเทศสมาชิกของนาโต้บางประเทศ เช่น ตุรกีและฮังการีกำลังส่งเสริมบทบาทเป็นคนกลางอย่างเข้มแข็งเพื่อแก้ไขวิกฤต ช่วยคลี่คลายความตึงเครียดระหว่างฝ่ายตะวันตกกับรัสเซีย โดยตุรกีได้เป็นคนกลางในการเจรจาระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่เมืองอิสตันบูลเมื่อวันที่ 29 มีนาคม และขณะนี้ กำลังพยายามอย่างเต็มที่สำหรับบทบาทนี้ ส่วนฮังการีในฐานะสมาชิกของสหภาพยุโรปหรืออียูและนาโต้ ได้เสนอให้จัดการประชุม 4 ฝ่าย ประกอบด้วย เยอรมนี ฝรั่งเศส รัสเซียและยูเครนที่กรุงบูดาเปสต์เพื่อแสวงหามาตรการแก้ไขวิกฤตในปัจจุบัน

นอกจากนั้น อีกหลายประเทศในยุโรปยังคงธำรงการเจรจาและความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย โดยเฉพาะ ในด้านพลังงาน ถึงแม้ว่าจะมีแรงกดดันจากบางประเทศ สามารถเห็นได้ว่า การใช้มาตรการคว่ำบาตรหรือการเพิ่มความตึงเครียดไม่อาจใช้เป็นมาตรการหลักเพื่อแก้ไขปัญหาได้ แต่ความร่วมมือระหว่างประเทศต่างหากที่จะเป็นช่องทางในสภาวการณ์ปัจจุบัน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด