ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับรัสเซีย ในปี๒๐๑๓ ความร่วมมือในความขัดแย้ง

(VOVworld) –  ปี๒๐๑๓ถือเป็นปีที่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับรัสเซียเต็มไปด้วยมรสุม โดยทั้งสองฝ่ายยังคงมีจุดยืนที่แตกต่างกันในปัญหาสำคัญๆ แต่ถึงกระนั้นทั้งสองฝ่ายยังคงมีความร่วมมือกันในบางด้านซึ่งทำให้ปัญหาความสัมพันธ์ไม่ร้อนแรงจนเกินไป

(VOVworld) –  ปี๒๐๑๓ถือเป็นปีที่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับรัสเซียเต็มไปด้วยมรสุม โดยทั้งสองฝ่ายยังคงมีจุดยืนที่แตกต่างกันในปัญหาสำคัญๆ แต่ถึงกระนั้นทั้งสองฝ่ายยังคงมีความร่วมมือกันในบางด้านซึ่งทำให้ปัญหาความสัมพันธ์ไม่ร้อนแรงจนเกินไป

ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับรัสเซีย ในปี๒๐๑๓ ความร่วมมือในความขัดแย้ง - ảnh 1
ประธานาธิบดีสหรัฐบารัก โอบามา และประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมีย ปูติน (Photo: AP )

ไม่เพียงแต่ความขัดแย้งเดิมที่นับวันเลวร้ายลงเท่านั้น ประชาคมระหว่างประเทศยังคงได้เห็นถึงความขัดแย้งรอบใหม่ในความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างรัสเซียและสหรัฐตั้งแต่ปัญหาการสอบแนม ปัญหาของซีเรียไปจนถึงความใกล้ชิดระหว่างรัสเซียและยูเครนซึ่งได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างวอชิงตันกับมอสโคว์ไม่สามารถดีขึ้นได้แถมยังมีก้าวถอยหลังไปอีก

การชิงไหวชิงพริบครั้งใหม่

รัสเซียกล่าวหาสหรัฐและตะวันตกว่าเป็นผู้จุดชะนวนให้แก่ขบวนการ“วสันตฤดูอาหรับ”ในเขตตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือจนทำให้หลายประเทศในภูมิภาคนี้ตกอยู่ในภาวะไม่มั่นคงและถือเป็นเวทีชิงไหวชิงพริบระหว่างสองมหาอำนาจของโลกโดยมีเวทีสำคัญคือประเทศซีเรีย ในขณะที่สหรัฐแถลงว่า จะยืนหยัดใช้ทุกมาตรการ  รวมทั้ง มาตรการทางทหารเพื่อโค่นล้มนายบาซาร์ อัล อาซซาด ประธานาธิบดีซีเรีย แต่รัสเซียกลับยืนหยัดจุดยืนประท้วงการใช้กำลังเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของซีเรีย

ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับสหรัฐเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาซีเรียได้ร้อนระอุถึงขีดสุดโดยทางการประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา ได้ใช้ข้อกล่าวหาว่า รัฐบาลของประธานาธิบดีบาร์ซา อัล อาซซาดใช้อาวุธเคมีโจมตีกลุ่มกบฏมาเป็นข้ออ้างเพื่อเตรียมใช้มาตรการทางทหารเข้าแทรกแซง ในขณะที่บรรยากาศสงครามได้ร้อนแรงขึ้นทุกชั่วโมง ข้อเสนอของรัสเซียให้ประชาคมระหว่างประเทศตรวจสอบคลังอาวุธเคมีของซีเรียก็ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและมีส่วนช่วยคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างสองประเทศได้ส่วนหนึ่งพร้อมทั้งหลีกเลี่ยงสงครามที่ดุเดือดที่กำลังมีเชื้อไฟพร้อมลุกลามได้ทุกเมื่อ

น้ำผึ้งหยดเดียว

ชื่อนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนได้กลายเป็นฝันร้ายในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับรัสเซียในปี๒๐๑๓ซึ่งอดีตเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองกลางแห่งสหรัฐอเมริกาหรือCIAผู้นี้ได้เปิดเผยโครงการสอดแนมของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐหรือNSAที่ได้ติดตามข้อความ อีเมล และโทรศัพท์ของผู้นำนับสิบประเทศ รวมทั้งพันธมิตรที่ใกล้ชิดของสหรัฐในยุโรปซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมหาอำนาจตกเข้าสู่วิกฤตความเชื่อมั่นและภาวะเย็นชา โดยเฉพาะ หลังจากที่รัสเซียตัดสินใจอนุญาตให้นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนอยู่ในรัสเซียเป็นการชั่วคราวในขณะที่วอชิงตันกำลังไล่ล่านายสโนว์เดนด้วยข้อกล่าวหาทรยศประเทศซึ่งความตึงเครียดนี้ได้ทำให้ประธานาธิบดีสหรัฐบารัก โอบามายกเลิกการพบปะระดับสูงกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูตินและแถลงว่า จะระงับการฟื้นฟูความ สัมพันธ์กับรัสเซีย

มรสุมที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับรัสเซียยังคงไม่หยุดอยู่แค่นี้เพราะทั้งสองฝ่ายต่างแสดงสถานะอิทธิพลของตนต่อประเทศยูเครน เพื่อตอบโต้โครงการ“หุ้นส่วนตะวันออก”ของสหรัฐและประเทศตะวันตกที่ชักชวนให้ประเทศต่างๆในเครือรัฐเอกราชเอสเอ็นจีมาเข้าร่วม  ความใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างรัสเซียกับยูเครนและการที่ยูเครนแถลงระงับการเจรจาเกี่ยวกับการลงนามข้อตกลงเชื่อมโยงกับสหภาพยุโรปหรืออียูได้ทำให้วอชิงตันไม่พอใจ แม้ว่าจะไม่กล่าวถึงชื่อรัสเซียโดยตรง แต่จากการสนับสนุนผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลยูเครนและตำหนิติติงประเทศนี้ที่ไม่ยืนหยัดแนวทางเชื่อมโยงกับยุโรป สหรัฐได้เตือนว่า รัสเซียกำลังดำเนินมาตรการชักชวนประเทศที่อยู่ลานหลังบ้านให้เข้าเป็นพวกเพื่อขยายอิทธิพลของตนในภูมิภาค

กระเถิบเข้าใกล้กันเพราะแผนกุศโลบายเชิงยุทธศาสตร์

ทั้งวอชิงตันและมอสโคว์ต่างยอมรับว่า เอเชีย แปซิฟิกมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ  ในขณะที่สหรัฐแถลงนโยบาย“หมุนแกน”ของตนในเอเชีย แปซิฟิก รัสเซียก็ไม่ปกปิดความทะเยอทะยานที่จะผลักดันกลไกความร่วมมือในภูมิภาคนี้ ปี๒๐๑๓สหรัฐก็แทรกแซงกรอบเศรษฐกิจต่างๆในภูมิภาคโดยมีเป้าหมายเพื่อค้ำประกันบทบาทสำคัญของตนในเขตนี้  ส่วนรัสเซียเล็งเห็นถึงศักยภาพที่ไม่อาจพลาดได้ และกำลังเจรจาอย่างแข็งขันเพื่อลงนามข้อตกลงการค้าทวิภาคีและพหุภาคีกับประเทศต่างๆในภูมิภาค ผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในเอเชียแปซิฟิกทำให้ทั้งสองฝ่ายต้องเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกและยอมรับการเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ การยับยั้งอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองของจีนในภูมิภาคนี้สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวของทั้งสหรัฐและรัสเซีย

อาจยืนยันได้ว่า ความร่วมมือในความขัดแย้งเป็นจุดเด่นในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับรัสเซียในปี๒๐๑๓  บรรดาผู้สันทัดกรณีเห็นว่า ในปี๒๐๑๔ โอกาสที่จะผลักดันให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมีก้าวกระโดดใหม่นั้นมีน้อยมากเพราะความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายมาจากแนวคิด ดังนั้นเพื่อทำลายกำแพงความระแวงสงสัยที่ขัดขวางความสัมพันธ์ของสองศัตรูในสงครามเย็นในอดีตจำเป็นต้องใช้เวลาอีกนาน./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด