ความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ปัญหายากที่จะรับมือ

(VOVworld)-การประชุมCOP18 ได้ผ่านไปแล้วกว่าครึ่งทางแต่ยังไม่เห็นสัญญาณที่สดใสในการกำหนดอนาคตของพิธีสารเกียวโต และนี่ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะประชามติโลกก็ไม่ค่อยเชื่อมั่นต่อความสำเร็จของการประชุมที่จะเปิดโอกาสแห่งประวัติศาสตร์ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่กระบวนการปกป้องชั้นบรรยากาศโลก

(VOVworld)-การประชุมครั้งที่18ของสหประชาชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ณ ประเทศกาต้า หรือ COP18 ได้ผ่านไปแล้วกว่าครึ่งทางแต่ยังไม่เห็นสัญญาณที่สดใสในการกำหนดอนาคตของพิธีสารเกียวโต ซึ่งเป็นเอกสารที่มีผลบังคับใช้ทางนิตินัยเพียงฉบับเดียวเพื่อเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกซึ่งจะหมดอายุลงในปีนี้ และนี่ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะประชามติโลกก็ไม่ค่อยเชื่อมั่นต่อความสำเร็จของการประชุมที่จะเปิดโอกาสแห่งประวัติศาสตร์ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่กระบวนการปกป้องชั้นบรรยากาศโลก
ความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ปัญหายากที่จะรับมือ - ảnh 1
การประชุมครั้งนี้ได้เน้นหารือเรื่องกรอบทางนิตินัยใหม่เพื่อจำกัดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก(internet)

การประชุมครั้งนี้ได้เน้นหารือเรื่องกรอบทางนิตินัยใหม่เพื่อจำกัดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ซึ่งรวมถึงเป้าหมายการขยายผลบังคับใช้ของพิธีสารเกียวโตและการสร้างความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับแผนการเพิ่มวงเงินอุปถัมภ์ให้แก่กระบวนการดังกล่าว ถึงอย่างไรก็ดี การประชุมในสัปดาห์แรกก็ปรากฎความขัดแย้งระหว่างกว่า200ประเทศที่เข้าร่วมโดยในประเด็นเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก  ประเทศที่พัฒนาแสดงท่าทีลังเลใจในการให้คำมั่นที่เข้มแข็งมากขึ้นเพื่อปฏิบัติระยะที่สองของพิธีสารดังกล่าว ซึ่งในขณะที่สหภาพยุโรปหรืออียูได้แสดงความตั้งใจที่แน่วแน่กับการปรับลดการปล่อยก๊าซอย่างน้อยร้อยละ20ในปี2020เมื่อเทียบกับปี1990และจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ30หลังปี2020นั้น แคนาดา ญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์กลับประกาศถอนตัวจากพิธีสารเกียวโตหลังปี2012 ส่วนสหรัฐซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกได้พูดตรงๆว่าจะไม่เข้าร่วมข้อตกลงใดที่เกี่ยวของกับการปรับลดการปล่อยก๊าซระดับโลกหากไม่มีการเข้าร่วมของ4ประเทศในกลุ่มเบสิคซึ่งประกอบไปด้วยจีน อินเดีย บราซิลและแอฟริกาใต้  นอกจากความขัดแย้งในด้านการปรับลดอัตราการปล่อยก๊าซแล้ว ฝ่ายต่างๆยังมีความเห็นที่แตกต่างกันต่อกำหนดการบังคับใช้ของพิธีสารเกียวโตระยะที่สอง โดยอียูและอีก4ประเทศในกลุ่มเบสิคได้เสนอขยายเวลาการปฏิบัติเพิ่มอีก8ปีเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้คือปี2020 แต่ประเทศอื่นๆโดยเฉพาะประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆอยากให้ขยายเวลาอีกเพียง5ปีเท่านั้นเพื่อเร่งรัดให้ประเทศที่พัฒนาต้องพยายามมากขึ้นในการปฏิบัติ ส่วนเรื่องหน้าที่ของประเทศที่พัฒนาในการสบทบเงินทุนเข้ากองทุนช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อแก้ไขผลเสียจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศก็เป็นประเด็นที่ยังไม่มีข้อสรุปได้ทั้งด้านรูปแบบการคำนวน รายการและวิธีการตรวจสอบปริมาณการปล่อยก๊าซตลอดจนจำนวนเงินที่ต้องสมทบ

ความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ปัญหายากที่จะรับมือ - ảnh 2

ทั้งนี้สถานการณ์ความผันผวนของสภาพภูมิอากาศในทั่วโลกกำลังเป็นไปอย่างรวดเร็วซึ่งขัดกับความล่าช้านที่กำลังเกิดขึ้นในที่ประชุมCOP18ของสหประชาชาติ โดยตามรายงานล่าสุดของยูเอ็น ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกได้เพิ่มขึ้นร้อยละ20นับตั้งแต่ปี2000มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนจากผลการวิจัยของธนาคารโลกปรากฎว่า หากนานาชาติไม่มีปฏิบัติการเพื่อปรับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างรวดเร็ว อุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้น4องค์ศาเซลเซียสในศตวรรษนี้ซึ่งสูงกว่า2เท่าเมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของสหประชาชาติโดยเฉพาะอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น6องค์ศาเซลเซียสหรือสูงกว่าในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและพื้นที่บางส่วนของสหรัฐ ซึ่งมนุษย์โลกจะต้องเผชิญกับภัยพิบัติที่รุนแรงกว่าในปัจจุบัน ในขณะที่องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกหรือWMOได้เผยว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกได้อยู่ในระดับสูงเป็นประวัติกาลในปี2011นับตั้งแต่ก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมปี1750  จากสถานการณ์นี้ ในการประชุมCOP18ของสหประชาชาติ กลุ่มประเทศหมู่เกาะหรือAOSIS ได้ประกาศว่าการชลอข้อตกลงต่างๆจะส่งผลให้โลกพลาดโอกาสพลิกสถานการณ์การเกิดภัยพิบัติทั่วโลกและความเสี่ยงที่จะสูญเสียหลายประเทศสมาชิกและแม้กระทั่งการประชุมดังกล่าวจะเสร็จสิ้นลงในปลายสัปดาห์นี้แต่ความเห็นจากบรรดาผู้สังเกตุการณ์ได้ชี้ว่า ที่ประชุมจะสามารถบรรลุเอกสารความร่วมมือใหม่ที่เพียงย้ำถึงความสำนึกของทุกฝ่ายในการที่จะต้องบรรลุข้อตกลงใหม่เพื่อสานต่อพิธีสารเกียวโตเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติทุกฝ่ายกลับแสดงท่าทีรอให้ประเทศอื่นๆปฏิบัติก่อนพร้อมแสดงความต้องการให้อีกฝ่ายมีปฏิบัติการที่เข้มแข็งกว่า 

โลกของเรากำลังร้อนขึ้นทุกทีและตามด้วยผลเสียที่มนุษย์ยากจะคาดการณ์ได้แต่ดูเหมือนว่ายังไม่พอเพื่อกระตุ้นให้ประเทศพัฒนาต่างๆที่เข้าร่วมประชุมCOP18แสดงความรับผิดชอบที่จริงจังมากขึ้น./.   
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด