(VOVWORLD) - การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจโลก โดยตามการประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ จนถึงปี 2025 ความเสียหายที่เกิดจากโควิด-19 ได้สูงถึง 28 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งสถานการณ์ที่ผันผวนของการแพร่ระบาดและจากสถิติเบื้องต้นในช่วงเดือนแรกของปี 2021 ปรากฎว่า โลกมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับวิกฤตการเงินครั้งใหม่และปี 2021 ยังคงเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับเศรษฐกิจโลก
การผันผวนอย่างซับซ้อนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ทำให้ตลาดการเงินทั่วโลกต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากมาย (thethaovanhoa.vn) |
การผันผวนอย่างซับซ้อนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ทำให้ตลาดการเงินทั่วโลกต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากมาย ตลาดน้ำมัน ราคาทองคำและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีความผันผวนอย่างซับซ้อน ซึ่งทำให้เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ
หนี้สาธารณะทั่วโลกเป็นประวัติการณ์
ตามรายงานของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ หนี้ทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นกว่า 15 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 โดยอยู่ที่ 277 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ซึ่งเท่ากับ 365% ของจีดีพีโลก หนี้จากทุกภาคส่วนตั้งแต่ครัวเรือนไปจนถึงพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรของสถานประกอบการต่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
รายงานล่าสุดของไอเอ็มเอฟได้คาดการณ์ว่า หนี้สาธารณะทั่วโลกในปี 2021 จะเท่ากับ 99.5% ของจีดีพีโลก ยอดหนี้ของกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาและเพิ่งเกิดใหม่ชั้นนำของโลกหรือจี 20ในปี 2021 คาดว่าจะสูงถึง 109% ในขณะที่หนี้ของเศรษฐกิจพัฒนาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 125% ของจีดีพี ไอเอ็มเอฟยังคาดการณ์ว่า การขาดดุลทางการเงินทั่วโลกในปี 2021 จะอยู่ที่ร้อยละ 8.5 ของประเทศของกลุ่มจี20 อยู่ที่ร้อยละ 9.4 และของประเทศที่พัฒนาแล้วอยู่ที่ร้อยละ 8.8 ซึ่งด้วยความกังวลเกี่ยวกับหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเร็วๆนี้ ไอเอ็มอฟได้เรียกร้องให้นักวางนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจต่อไปจนกว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ โดยเน้นลงทุนในด้านที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการแพร่ระบาด
ผลการวิเคราะห์ล่าสุดขององค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILO เกี่ยวกับผลกระทบของโควิด-19 ต่อตลาดแรงงานแสดงให้เห็นว่า การแพร่ระบาดใหญ่ครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายอย่างหนักเกี่ยวกับเวลาทำงานและรายได้ ถ้าหากไม่มีนโยบายฟื้นฟูโดยถือมนุษย์เป็นศูนย์กลางเพื่อช่วยปรับปรุงสถานการณ์ให้ดีขึ้นโดยเร็ว โดยการที่จะมีการฟื้นฟูในปี 2021 นี้จะไม่สม่ำเสมอ ไม่แน่นอนและล่าช้า
วิกฤตโควิด-19 ปี 2020 ได้ทำให้เศรษฐกิจหลักหลายสิบแห่งในโลกตกอยู่ในภาวะถดถอย เช่น สหรัฐ อังกฤษ สเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทยและอินโดนีเซีย โดยสหรัฐและยุโรปตกเป็นศูนย์กลางของการแพร่ระบาดและยังเป็นภูมิภาคที่เศรษฐกิจและการค้าตกอยู่ในภาวะเลวร้ายที่สุดในปี 2020
IMF เตือนว่า วัคซีนและวิธีรักษาสามารถเร่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ (Scitechdaily) |
ความเสี่ยงที่จะเกิดความล้มละลายทางการเงินเนื่องจากมาตรการกระตุ้นขนาดใหญ่
ถึงแม้การระบาดของโรคโควิด -19 กำลังได้รับการควบคุมโดยแผนการฉีดวัคซีนที่ดำเนินการทั่วโลกและองค์กรระหว่างประเทศต่างคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะกลับมาเติบโตในเชิงบวกในปี 2021 แต่ความเสี่ยงก็ยังคงมีอยู่ ซึ่งไอเอ็มเอฟเตือนว่า วัคซีนและมาตรการรักษาสามารถทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แต่ก็อาจแย่ลงได้เช่นกัน โดยเฉพาะ ถ้าหากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังมีความเสี่ยงอื่น ๆ เกิดจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ความขัดแย้งทางการค้า ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงด้านการเงิน เป็นต้น ตลอดจน การฟื้นฟูของเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาจไม่เท่ากันและการแพร่ระบาดอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยาวนานในเศรษฐกิจโลก
อีกประเด็นหนึ่งที่น่ากังวลคือ เพื่อรับมือผลกระทบในทางลบของโควิด-19 ประเทศต่าง ๆ ได้เปิดใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจพร้อม ๆ กันบวกกับมาตรการทางการเงินและการให้กู้เงินฉุกเฉินเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ เช่นยอดวงเงินกระตุ้นของสหรัฐและญี่ปุ่นได้สูงถึงร้อยละ 20 ของจีดีพี ทำให้ความเสี่ยงเกิดการล่มสลายทางการเงินของธนาคารและสถาบันการเงินเนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่นั้นมีสูงมาก โดยเฉพาะในสหรัฐและยุโรป
จนถึงขณะนี้ วิกฤตการเงินโลกครั้งใหม่เป็นแค่การพยากรณ์เท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในทั่วโลกนั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน./.