ความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์สร้างกรอบทางนิตินัยในการแก้ไขปัญหาทะเลตะวันออก

(VOVworld) - อาเซียนและจีนได้เห็นพ้อง เกี่ยวกับการผลักดันการเจรจาเพื่อเสร็จสิ้นการจัดทำร่างหลักปฏิบัติต่อกันของทุก ฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีภายในกลางปี 2017 ผลงานนี้ได้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ต่อท่าทีของปักกิ่งเกี่ยวกับ ปัญหาที่ซับซ้อนของภูมิภาค เพราะนี่คือครั้งแรกที่มีการกำหนดกรอบเวลาอย่างเป็นทางการให้แก่ซีโอซี
(VOVworld) - อาเซียนและจีนได้เห็นพ้องเกี่ยวกับการผลักดันการเจรจาเพื่อเสร็จสิ้นการจัดทำร่างหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีภายในกลางปี 2017 ผลงานนี้ได้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ต่อท่าทีของปักกิ่งเกี่ยวกับปัญหาที่ซับซ้อนของภูมิภาค เพราะนี่คือครั้งแรกที่มีการกำหนดกรอบเวลาอย่างเป็นทางการให้แก่ซีโอซี

ความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์สร้างกรอบทางนิตินัยในการแก้ไขปัญหาทะเลตะวันออก - ảnh 1
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-จีนหารือเกี่ยวกับดีโอซี (Xinhua)
ตั้งแต่ปี 2010 จีนและ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้หารือเกี่ยวกับหลักการเพื่อมุ่งสู่การหลีกเลี่ยงการปะทะระหว่างทุกฝ่ายที่มีคำเรียกร้องในทะเลตะวันออก แต่จนถึงปี 2013 ทั้งสองฝ่ายถึงจะได้ทำการทาบทามความคิดเห็นเกี่ยวกับเอกสารทางกฎหมายนี้อย่างเป็นทางการ และก็ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก เพราะการเจรจาเกี่ยวกับซีโอซีถูกเลื่อนไปหลายรอบเนื่องจากได้รับผลกระทบจากความตึงเครียดในภูมิภาค
บรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์
การประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสจีน-อาเซียนเกี่ยวกับการปฏิบัติแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซี ได้มีขึ้นตั้งแต่วันที่ 15-16 สิงหาคม ณ  เมืองท่า มานโจวหลี ในภาคเหนือของจีน หลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีนเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ณ ประเทศลาว ในการประชุมนี้ อาเซียนและจีนได้เห็นพ้องเกี่ยวกับแผนการแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออกผ่านการเจรจาและอาศัยตามหลักการของภูมิภาค การปฏิบัติดีโอซีต่อไป ผลักดันความร่วมมือทางทะเล และมุ่งสู่การเจรจาเกี่ยวกับหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีเพื่อรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
ก่อนหน้านั้น อาเซียนและจีนก็ได้เห็นพ้องเกี่ยวกับการติดตั้งโทรศัพท์สายด่วนและใช้หลักการปฏิบัติต่อกันในกรณีที่เกิดการกระทบกระทั่งโดยไม่เจตนาในทะเลตะวันออกที่ถูกเสนอเมื่อปี 2014 และมีหลายประเทศลงนาม รวมทั้งประเทศในเอเชียแปซิฟิก เช่นสหรัฐ ญี่ปุ่น จีนและเวียดนาม ร่างเอกสารเกี่ยวกับโทรศัพทย์สายด่วนและข้อตกลงหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งในทะเลจะถูกยื่นเสนอเพื่ออนุมัติในการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ณ กรุงเวียงจัทน์ ประเทศลาวในวันที่ 7 กันยายนนี้
ในสภาวการณ์ที่ภัยคุกคามเกี่ยวกับการเกิดการปะทะในทะเลตะวันออกนับวันเพิ่มมากขึ้น ทัศนะของอาเซียนคือต้องมีการบังคับใช้ข้อผูกมัดของซีโอซีโดยเร็ว กำหนดหลักการและการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายแบบบูรณาการเพื่อรักษาสันติภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัยในการเดินเรือในทะเลตะวันออก ขัดขวางและควบคุมการปะทะ แก้ไขการพิพาทผ่านมาตรการที่สันติ บนพื้นฐานการปฏิบัติตามกฎหมายสากลและอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 ซีโอซีจะมีส่วนร่วมผลักดันความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์อาเซียน-จีน รักษาสันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนาในทะเลตะวันออก ตลอดจนภูมิภาค แต่นับตั้งแต่รื้อฟื้นการทาบทามซีโอซีระหว่างอาเซียนกับจีนเมื่อปี 2013 การเจรจาถูกยกเลิกหลายครั้งเนื่องจากฝ่ายจีน ดังนั้น การที่อาเซียนและจีนบรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เป็นครั้งแรกเกี่ยวกับร่างกรอบซีโอซีในกลางปี 2017 ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากผู้สังเกตการณ์ เพราะมีขึ้นหลังจากศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกหรือพีซีเอมีคำวินิจฉัยปฏิเสธ “เส้นประ 9 เส้น” ที่ไร้มูลความจริงของจีนในทะเลตะวันออก จีนประกาศอธิปไตยในทะเลตะวันออกส่วนใหญ่ เสนอเส้นประ 9 เส้นที่ครอบคลุมเขตทะเลของเวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซียและบรูไน ดังนั้น การที่จีนและอาเซียนประกาศกรอบเวลาให้แก่ซีโอซีเป็นครั้งแรกถูกมองว่า เป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาดีต่อการแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออกผ่านซีโอซี
ความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์สร้างกรอบทางนิตินัยในการแก้ไขปัญหาทะเลตะวันออก - ảnh 2
จีนปรับเปลี่ยนและก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างบนเกาะเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ของเวียดนาม (Reuters/U.S.Navy)

ก้าวเดินที่เข้มแข็ง
ในสภาวการณ์ที่การกระทบกระทั่งในทะเลตะวันออกเพิ่มมากขึ้น ทัศนะของอาเซียนคือต้องมีการบังคับใช้ข้อผูกมัดของซีโอซีโดยเร็ว กำหนดหลักการและการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายแบบบูรณาการเพื่อรักษาสันติภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัยในการเดินเรือในทะเลตะวันออก ป้องกันและควบคุมการปะทะ แก้ไขการพิพาทผ่านมาตรการที่สันติ บนพื้นฐานการปฏิบัติตามกฎหมายสากลและอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 ซีโอซีจะมีส่วนร่วมผลักดันความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์อาเซียน-จีน รักษาสันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนาในทะเลตะวันออก ตลอดจนภูมิภาค แต่นับตั้งแต่มีการรื้อฟื้นการทาบทามเรื่องซีโอซีระหว่างอาเซียนกับจีนเมื่อปี 2013 การเจรจาได้ถูกเลื่อนหลายครั้งโดยฝ่ายจีน ดังนั้น การที่อาเซียนและจีนบรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เป็นครั้งแรกเกี่ยวกับการจัดทำร่างซีโอซีในกลางปี 2017 ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากผู้สังเกตการณ์ เพราะมีขึ้นหลังจากศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกมีคำวินิจฉัยปฏิเสธ “เส้นประ 9 เส้น” ที่ไร้มูลความจริงของจีนในทะเลตะวันออก โดยจีนได้ประกาศอธิปไตยพื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลตะวันออก และเสนอเส้นประ 9 เส้นที่ครอบคลุมเขตทะเลของเวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซียและบรูไน ดังนั้น การที่จีนและอาเซียนประกาศกรอบเวลาให้แก่ซีโอซีเป็นครั้งแรกจึงถูกมองว่า เป็นการแสดงให้เห็นถึงเจตนาดีต่อการแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออกผ่านดีโอซี
หลังการประชุมครั้งนี้ สื่อของจีนได้รายงานว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน เลี้ยวเชิ่นหมิน ได้ยืนยันว่า ปักกิ่งอยากธำรงความสัมพันธ์ที่ดีงามกับอาเซียน และถือว่า นี่คือผลงานระหว่างอาเซียนกับจีน เมื่อทุกฝ่ายได้เห็นพ้องกับการธำรงการเจรจาและตั้งใจเสร็จสิ้นการจัดทำร่างหลักปฏิบัติต่อกันซีโอซีในกลางปี 2017 ก่อนหน้านั้น เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2016 ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน จีนได้ยืนยันอีกครั้งถึงคำมั่นที่จะใช้ความอดกลั้น ไม่มีปฏิบัติการที่ทำให้สถานการณ์มีความซับซ้อนหรือทวีความตึงเครียดในทะเลตะวันออก แก้ไขการพิพาทดินแดนและสิทธิเขตอำนาจศาลผ่านมาตรการที่สันติ การทาบทามความคิดเห็นและทำการเจรจาอย่างสันติระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องโดยตรง ไม่ข่มขู่หรือข่มขู่ที่จะใช้ความรุนแรง สอดคล้องกับหลักการและกฎหมายสากลที่ได้รับการรับรองอย่างกว้างขวาง รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982
ประวัติศาสตร์ในหลายทศวรรษที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า สันติภาพและเสถียรภาพได้นำความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาในภูมิภาค สถานการณ์ความตึงเครียดและเผชิญหน้าในทะเลตะวันออกอาจจะนำไปสู่ผลร้ายที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ดังนั้น ยิ่งกว่าเวลาใดทั้งหมด อาเซียนและจีนต่างเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมีหลักปฏิบัติต่อกันเพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิผลประโยชน์ในทะเลตะวันออก และซีโอซีคือเอกสารที่มีข้อผูกมัดทางนิตินัยในระดับที่สูงขึ้น และหวังว่า จะได้ใช้แทนดีโอซีโดยเร็ว ซึ่งบังคับใช้มาเป็นเวลากว่า 10 ปีผ่านเจตนาที่ดีของทุกฝ่าย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด