ค้ำประกันสิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจน

(VOVWORLD) - พรรคและรัฐเวียดนามถืองานด้านการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนคือแนวทางที่สำคัญและเสมอต้นเสมอปลายในการปฏิบัติภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ การสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศ อีกทั้งเป็นแนวทางที่สำคัญเพื่อก้าวไปสู่สังคมนิยมภายใต้การนำของพรรคฯเพื่อค้ำประกันสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการได้รับการค้ำประกันด้านสวัสดิการสังคมตามมาตราที่ 34 รัฐธรรมนูญประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามปี 2013

 

ค้ำประกันสิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจน - ảnh 1ประธานแนวร่วมปิตุภูมิกรุงฮานอย เหงวียนลานเฮือง มอบบ้านสามัคคีให้แก่นาง ยือถิฟุก ที่ตำบลหว่าฟู้ อำเภออึ๊งหว่า(hanoimoi.com.vn)

ในช่วงปี 2016-2020 งานด้านการแก้ปัญหาความยากจนของเวียดนามได้ประสบผลงานที่สำคัญ โดยอัตราครอบครัวที่ยากจนได้ลดลงจากร้อยละ 9.88 ในปี 2015 ลงเหลือร้อยละ 2.75 ในปี 2020 รัฐบาลได้ประกาศใช้กลไกล นโยบาย กฎหมายและโครงการช่วยเหลือผู้ที่มีฐานะยากจนอย่างพร้อมเพรียง อีกทั้งมีนโยบายพิเศษเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยง เขตชนกลุ่มน้อยและเขตที่ยากจนพิเศษ โดยใช้งบประมาณและเงินจากแหล่งต่างๆ รวมมูลค่า 120 ล้านล้านด่งเพื่อปฏิบัติโครงการแก้ปัญหาความยากจนระดับชาติในช่วงปี 2016-2020 ประกาศมาตรฐานความยากจนระดับชาติตามรูปแบบปิรามิดแห่งการลดความยากจนที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนและสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจสังคมของประเทศในระยะต่างๆ ปัจจุบัน เวียดนามคือหนึ่งใน 30 ประเทศแรกและเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆในเอเชียที่ประยุกต์ใช้มาตรฐานความยากจนในหลายมิติเพื่อค้ำประกันชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนควบคู่กับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เพื่อปฏิบัติเป้าหมายการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน มีประสิทธิภาพและค้ำประกันสวัสดิการสังคมให้แก่ผู้ที่มีฐานะยากจน เวียดนามได้ประกาศมาตรฐานความยากจนในหลายมิติระยะปี 2021-2025 ที่กำหนดเกณฑ์เกี่ยวกับรายได้ การเข้าถึงบริการสังคมขั้นพื้นฐานที่ได้รับการยกระดับเมื่อเทียบกับระยะปี 2016-2020 เพื่อมุ่งสู่การค้ำประกันสวัสดิการสังคม การเข้าถึงบริการสังคมขั้นพื้นฐานของผู้ที่มีฐานะยากจน เช่น การสื่อสาร งานทำ สาธารณสุข การศึกษา ที่อยู่อาศัย น้ำประปา สุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ส่วนตัวชี้วัดความยากจนอื่นๆ เช่น โภชนาการ การได้ไปโรงเรียน วุฒิการศึกษาและแรงงานไม่มีงานทำได้รับการกำหนดเพิ่มเติม รวมถึงการบริการสังคมขั้นพื้นฐานได้รับความสนใจและส่งเสริมผ่านการปรับปรุงนโยบายแก้ปัญหาความยากจนและสวัสดิการสังคมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ นอกจากนี้ เวียดนามยังจัดทำมาตรฐานความยากจนระยะปี 2021-2025 ที่กำหนดรายได้ต่อหัวประชากรในเขตชนบทที่ 1.5 ล้านด่งต่อเดือนและเขตตัวเมืองคือ 2 ล้านด่งต่อเดือน ปัจจุบัน รัฐบาลได้ชี้นำจังหวัดและนครต่างๆตรวจสอบครอบครัวที่ยากจนเพื่อเป็นพื้นฐานให้แก่การจัดทำและปฏิบัตินโยบาย โครงการและมาตรการแก้ปัญหาความยากจน สภาแห่งชาติและรัฐบาลได้จัดสรรค์งบและแหล่งพลังต่างๆเพื่อปฏิบัตินโยบายช่วยเหลือครอบครัวที่ยากจนในทุกด้าน เช่น การปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษ การสอนอาชีพและช่วยเหลือแรงงานและประชาชนชนกลุ่มน้อยให้ไปทำงานในต่างประเทศ การช่วยเหลือด้านสาธารณสุข กฎหมาย การศึกษา ที่อยู่อาศัย น้ำประปา สุขอนามัยและการชำระค่าไฟฟ้า เป็นต้น

ควบคู่กับนโยบายแก้ปัญหาความยากจนที่ได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องแล้ว ในปี 2021 สภาแห่งชาติได้ประกาศมติที่ 24 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมที่อนุมัติแนวทางการลงทุนในโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนระยะปี 2021-2025 เพื่อแก้ปัญหาความยากจนในหลายมิติอย่างครอบคลุม ยั่งยืน ปัญหาผู้ที่หลุดพ้นจากความยากจนแล้วกลับไปยากจนอีกครั้ง ช่วยเหลือครอบครัวที่ยากจนให้มีชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถเข้าถึงบริการสังคมขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานความยากจนในหลายมิติระดับชาติ สนับสนุนอำเภอและตำบลที่ยากจนพิเศษในเขตริมฝั่งทะเลและเกาะแก่งให้หลุดพ้นจากความยากจน โดยโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนระยะปี2021 -2025 เน้นแก้ไขปัญหาที่สำคัญและเร่งด่วนตามเป้าหมายค้ำประกันสิทธิมนุษยชน อีกทั้งลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจสังคมในเขตที่ยากจน เพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ การอบรมและสอนอาชีพ การสร้างงานทำให้แก่ผู้ที่มีฐานะยากจนและช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงในสังคม

ในการปฏิบัติเป้าหมายค้ำประกันสิทธิของผู้ที่มีฐานะยากจนผ่านการปฏิบัติโครงการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ทัศนะที่เสมอต้นเสมอปลายของเวียดนามคือไม่ยอมสูญเสียความก้าวหน้าและความยุติธรรมทางสังคมเพื่อแลกกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เวียดนามถือการปฏิบัติงานด้านการแก้ปัญหาความยากจนคือการลงทุนเพื่อพัฒนา การช่วยเหลือประชาชนหลุดพ้นจากความยากจน สร้างฐานะที่ดีขึ้นและสนับสนุนท้องถิ่นต่างๆหลุดพ้นจากความยากจน สร้างสรรค์มาตรฐานเขตชนบทใหม่ ปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีส่วนร่วมกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผลักดันการปฏิบัติเป้าหมายการแก้ปัญหาความยากจนอย่างครอบคลุม โดยเฉพาะการเพิ่มรายได้และค้ำประกันบริการทางสังคมขั้นพื้นฐาน เช่น งานทำ การศึกษา สาธารณสุข ที่อยู่อาศัย น้ำประปา สุขอนามัยและการสื่อสารเพื่อมุ่งสู่การแก้ปัญหาความยากจนในหลายมิติอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ เวียดนามยังเปลี่ยนแปลงใหม่นโยบายแก้ปัญหาความยากจน ปลูกฝังความคาดหวังเกี่ยวกับการสร้างชีวิตที่อิ่มหนำผาสุกให้แก่ประชาชนและส่งเสริมพลังที่เข้มแข็งของทั้งระบบการเมืองในการปฏิบัติภารกิจการแก้ปัญหาความยากจนในสภาวการณ์ใหม่เพื่อปฏิบัติตามคำมั่นเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและแก้ปัญหาความยากจนจนถึงปี 2030 ให้ประสบความสำเร็จโดยเร็ว.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด