(VOVworld) – เป็นเวลากว่า 1 เดือน นับตั้งแต่ที่ศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกออกคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคดี ฟิลิปปินส์ฟ้องร้องจีนว่าด้วยการอธิบายและใช้อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยว กับกฎหมายทางทะเลปี 1982 สิ่งที่ประชามติยังคงให้ความสนใจคือการบังคับใช้คำวินิจฉัยดังกล่าว ซึ่งถึงแม้การบังคับใช้เป็นเส้นทางที่ยาวนานและลำบากแต่ประชาคมระหว่าง ประเทศได้เห็นพ้องกันว่า ศาลอนุญาโตตุลาการจะเป็นเครื่องมือด้านนิตินัยเพื่อช่วยแก้ไขการพิพาทในทะเล ตะวันออกในเวลาข้างหน้า
(VOVworld) – เป็นเวลากว่า 1 เดือน นับตั้งแต่ที่ศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกออกคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคดีฟิลิปปินส์ฟ้องร้องจีนว่าด้วยการอธิบายและใช้อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 สิ่งที่ประชามติยังคงให้ความสนใจคือการบังคับใช้คำวินิจฉัยดังกล่าว ซึ่งถึงแม้การบังคับใช้เป็นเส้นทางที่ยาวนานและลำบากแต่ประชาคมระหว่างประเทศได้เห็นพ้องกันว่า ศาลอนุญาโตตุลาการจะเป็นเครื่องมือด้านนิตินัยเพื่อช่วยแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออกในเวลาข้างหน้า
รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์รายงานในพิธีเปิดของศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮก (Photo: ศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮก)
|
อาจยืนยันได้ว่า การยื่นฟ้องและกระบวนการไต่สวนนับตั้งแต่ปี 2013 เมื่อฟิลิปปินส์ยื่นเอกสารฟ้องร้องถึงศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกสอดคล้องกับข้อกำหนดต่างๆของอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลหรือ UNCLOS ปี 1982 ซึ่งความชอบธรรมของศาลฯได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศ และมีลักษณะบังคับต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงถึงแม้จะเป็นการปฏิบัติเพียงฝ่ายเดียวหรือปฏิเสธเข้าร่วมการไต่สวนก็ตาม
พยายามแสวงหามาตรการแก้ไขอย่างสันติ
การที่ฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนไม่ใช่ปฏิบัติการที่ทำให้สถานการณ์ซับซ้อมมากขึ้น หากแต่เป็นความพยายามแสวงหามาตรการแก้ไขการพิพาทด้วยสันติวิธีคือใช้การเจรจา ไม่ใช้หรือข่มขู่ที่จะใช้กำลังเพื่อแก้ไขการพิพาทดังกล่าว คดีนี้ได้มีส่วนร่วมยกระดับคุณค่าและความหมายของกฎหมายสากล ส่วนประสิทธิภาพในการบังคับคดีจะเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศและภูมิภาค ซึ่งถ้าหากตัดสินใจหารือและเห็นพ้องกันเพื่อประกาศระเบียบการที่เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ ทุกฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามและปรับเปลี่ยนการกระทำในปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอธิปไตยในทะเล
นับเป็นครั้งแรกที่คำวินิจฉัยของกลไกระหว่างประเทศที่มีอำนาจเกี่ยวข้องกับการพิพาทในทะเลตะวันออกได้ถูกประกาศ ซึ่งได้ตีความมาตราต่างๆที่ยังขาดความชัดเจนของอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982ที่ทุกฝ่ายในคดีมีส่วนเกี่ยวข้อง มีการอธิบายและและสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างทางกายภาพของหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ เพราะว่าถ้าสามารถตีความได้อย่างชัดเจน นี่จะเป็นพื้นฐานทางนิตินัยให้แก่กรณีการฟ้องร้องในลักษณะเดียวกันในเวลาข้างหน้าเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องปรับเปลี่ยนการกระทำ
ความชอบด้วยกฎหมายของศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮก
ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่า อำนาจของศาลอนุญาโตตุลาการมีพื้นฐานเพียงพอในการปฏิบัติ หนึ่งคือ ศาลดำเนินงานตามอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเล คำวินิจฉัยของศาลฯมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และในเชิงวิชาการ จึงต้องบังคับใช้ ศาลไม่ได้ตัดสินการพิพาทดินแดนแต่กำหนดความชอบธรรมของการปฏิบัติและในบางกรณีได้ยืนยันสิทธิทางดินแดนของประเทศที่มีอาณาเขตทางทะเล พื้นฐานที่สองคือ ในฐานะประเทศสมาชิกของ UNCLOS ปี 1982 จีน ฟิลิปปินส์และบรรดาประเทศที่เกี่ยวข้องต้องให้ความเคารพคำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการ เพราะไม่มีประเทศใดที่สามารถประสบความสำเร็จในการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคได้แต่เพียงฝ่ายเดียวเมื่อปฏิเสธข้อกำหนดต่างๆที่ตนได้ให้ภาคียานุวัติ พื้นฐานสุดท้ายคือ ด้วยบทบาทประเทศใหญ่ในภูมิภาค ในหลายปีที่ผ่านมา จีนได้พยายามประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับทฤษฎีแห่งการ “พัฒนาสันติภาพ” ดังนั้น ไม่มีเหตุผลใดที่จีนจะเดินสวนกับแนวทางที่ผู้นำประเทศรุ่นแล้วรุ่นเล่าได้ตั้งใจปฏิบัติ
นักวิเคราะห์สถานการณ์ยังเห็นว่า แม้ศาลฯได้ออกคำวินิจฉัยสุดท้ายเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวมาแล้วกว่า 1 เดือนแต่ฝ่ายจีนยังคงมีเพียงการประท้วงหลายครั้งว่า “เป็นคำวินิจฉัยที่ไร้มูลความจริงและไม่มีผลบังคับใช้” เท่านั้นและยังไม่มีการออกคำประกาศที่เข้มแข็งกว่าแต่อย่างใด เมื่อสองปีก่อน ประชาคมโลกได้เห็นจีนเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติในทะเลตะวันออกโดยทำการขุดเจาะน้ำมันในเขตทะเลนอกฝั่งหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลล์ที่เวียดนามได้ประกาศอธิปไตยเหนือเขตดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งจีนได้ถูกประท้วงอย่างหนักและส่งผลกระทบต่องานด้านการทูตของจีนกับประเทศต่างๆในภูมิภาค ซึ่งทำให้จีนมีความระมัดระวังในการปฏิบัติมากขึ้น นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน จึงไม่เกิดกรณีเช่นเดียวกันนี้ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศที่เกี่ยวข้อง
โขดหินจื๋อเถิบในหมู่เจื่องซาของเวียดนามที่กำลังถูกจีนยืดอย่างผิดกฎหมาย
(Photo: CSIS)
|
ศาลอนุญาโตตุลาการเปิดโอกาสแห่งการเจรจา
การเจรจายังเป็นกุญแจแก้ไขความตึงเครียดในทุกกรณี ดังนั้น เมื่อเร็วๆนี้ ทั้งฟิลิปปินส์และจีนต่างแสดงความพร้อมที่จะเจรจาหลังศาลอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัย ในการกล่าวปราศรัยในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ นาย โรดริโก ดูเตอร์เตได้แสดงความหวังว่า อาจแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออกกับจีนด้วยมาตรการที่โอนอ่อน ส่วนในการพบปะเมื่อเร็วๆนี้ระหว่างอดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ รามอสกับอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนฟู่อิ๋ง ทั้งสองฝ่ายก็ต่างไม่กล่าวถึงปัญหาอธิปไตยเหนือบริเวณที่กำลังมีการพิพาทในทะเลตะวันออก เช่น แนวปะการังสการ์โบโรห์และโขดหินแหว่งคันหรือกรณีการฟ้องร้องดังกล่าว หากย้ำถึงการหารืออย่างไม่เป็นทางการต่างๆได้เน้นถึงความต้องการสนทนาเพื่อสร้างความไว้วางใจและลดความตึงเครียดเพื่อเปิดโอกาสให้แก่ความร่วมมือ
ทั้งนี้บรรดานักวิเคราะห์ยังไม่เชื่อว่า หลังจากที่ศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกออกคำวินิจฉัยเกี่ยวกับทะเลตะวันออก สถานการณ์ในภูมิภาคจะมีเสถียรภาพอย่างสมบูรณ์ แต่การออกคำวินิจฉัยดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั่งเจรจาเพื่อลดความตึงเครียดอย่างแน่นอน ศาลอนุญาโตตุลาการอาจช่วยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องปรับเปลี่ยนการกระทำ โดยไม่มีการปฏิบัติเพียงฝ่ายเดียวเมินเฉยต่อกฎหมายสากล.