คำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกเกี่ยวกับปัญหาทะเลตะวันออก – พื้นฐานทางนิตินัยเพื่อความเป็นระเบียบทางทะเล

(VOVWORLD) - เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมปี 2016 ศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกหรือพีซีเอที่ได้รับการจัดตั้งตามภาคผนวกที่ 7 ของอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 หรือ UNCLOS ได้ออกคำวินิจฉัยกรณีฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนเรื่องข้อพิพาทในทะเลตะวันออก 
คำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกเกี่ยวกับปัญหาทะเลตะวันออก – พื้นฐานทางนิตินัยเพื่อความเป็นระเบียบทางทะเล - ảnh 1การพิจารณากรณีฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนเรื่องข้อพิพาทในทะเลตะวันออกของศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮก(PCA)
ภายหลัง 5ปีที่ศาลอนุญาโตตุลาการฯออกคำวินิจฉัยดังกล่าว สถานการณ์ในทะเลตะวันออกยังคงมีความผันผวนอย่างซับซ้อน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า นอกจาก UNCLOS1982คำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลอนุญาโตตุลาการฯได้เป็นนิมิตหมายที่สำคัญและเป็นพื้นฐานให้แก่การแก้ไขปัญหาการพิพาทในทะเลตะวันออกอย่างสันติ อีกทั้งเป็นพื้นฐานทางนิตินัยระหว่างประเทศเพื่อรักษาความเป็นระเบียบทางทะเล

ตามคำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการฯ จีนไม่มีพื้นฐานทางนิตินัยเพื่อยืนยันสิทธิตามประวัติศาสตร์ต่อทรัพยากรต่างๆในทะเลตะวันออกในเขตที่เรียกว่า เส้นประ9เส้น ไม่สามารถเรียกร้องอธิปไตยต่อเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไม่มีสิทธิ์ด้านประวัติศาสตร์เพื่อประกาศอธิปไตยต่อกระบวนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในภูมิภาค

คำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการฯดึงดูดความสนใจเป็นพิเศษจากประชามติโลก

คำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการฯไม่เพียงแต่ได้รับความสนใจจากประเทศต่างๆในภูมิภาคและประเทศที่มีการพิพาทด้านอธิปไตยในทะเลตะวันออกเท่านั้น หากยังดึงดูดความสนใจจากประเทศต่างๆนอกภูมิภาคอีกด้วย โดยประกาศของผู้นำประเทศต่างๆ บทวิเคราะห์หลายร้อยบท รวมถึงความคิดเห็นของนักวิชาการและนักวิจัยด้านประวัติศาสตร์ทั้งภายในและนอกภูมิภาคได้ชื่นชมคำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลอนุญาโตตุลาการฯ ซึ่งคำวินิจฉัยดังกล่าวและ UNCLOS 1982 ถือเป็นพื้นฐานทางนิตินัยเพื่อมีส่วนร่วมจำกัดและแก้ไขปัญหาการพิพาทด้านอธิปไตยในทะเลตะวันออก ส่วนประชามติโลกได้ยืนยันว่า ศาลอนุญาโตตุลาการฯได้เชิดชูบทบาทของกฎหมายสากลในการแก้ไขปัญหาการพิพาทในทะเลตะวันออก พร้อมทั้งย้ำถึงหน้าที่ของฝ่ายต่างๆตามกรอบ UNCLOS 1982 และประณามปฏิบัติการลำพังเพียงฝ่ายเดียวที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายสากลและสร้างความไร้เสถียรภาพในภูมิภาค

ในตลอด 5ปีที่ผ่านมา แม้สถานการณ์ในทะเลตะวันออกไม่ได้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการฯ แต่คำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลอนุญาโตตุลาการฯได้สร้างแรงกระตุ้นให้แก่ท่าทีที่แข็งกร้าวต่อการกระทำของจีนในทะเลตะวันออก ทำให้ปัญหาการพิพาทด้านอธิปไตยในทะเลตะวันออกและการปฏิบัติตาม UNCLOS 1982 กลายเป็นประเด็นร้อนในฟอรั่มและการประชุมทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีต่างๆ ทะเลตะวันออกนับวันได้รับความสนใจจากหลายประเทศทั้งภายในและนอกภูมิภาค โดยเมื่อปี 2020 ประเทศต่างๆได้ส่งหนังสือทางการที่ระบุถึงการที่ศาลอนุญาโตตุลาการฯออกคำวินิจฉัยกรณีฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนเรื่องข้อพิพาทในทะเลตะวันออกเมื่อปี 2016 และคัดค้านทุกคำเรียกร้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายของจีนในทะเลตะวันออกถึงสหประชาชาติ ซึ่งเป็นการพิสูจน์อย่างเด่นชัดถึงการที่ปัญหาทะเลตะวันออกไม่ใช่เป็นปัญหาระหว่างประเทศในภูมิภาคกับจีนเท่านั้น หากยังเป็นประเด็นที่แทบทุกประเทศในทั่วโลกให้ความสนใจอีกด้วย

เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2021 เกือบ 100 ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติได้เข้าร่วม “กลุ่มเพื่อนมิตรของ UNCLOS” และนับวันมีประเทศที่เข้าร่วมการเดินเรืออย่างเสรีในทะเลตะวันออกมากขึ้น ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงทัศนะคัดค้านคำเรียกร้องอธิปไตยที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนบรรดาผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า สถานการณ์ในภูมิภาคได้รับผลจากคำวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาทะเลตะวันออกของศาลอนุญาโตตุลาการฯเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมปี 2016 และแน่นอนว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลอนุญาโตตุลาการฯได้กลายเป็นนิมิตหมายที่สำคัญและยืนยันถึงการแก้ไขปัญหาการพิพาทด้านอธิปไตยในทะเลตะวันออกผ่านสันติวิธีบนพื้นฐานของกฎหมายสากล

คำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการในกรุงเฮกเกี่ยวกับปัญหาทะเลตะวันออก – พื้นฐานทางนิตินัยเพื่อความเป็นระเบียบทางทะเล - ảnh 2การชุมนุมด้านหน้าสถานกงสุลใหญ่ขีนที่เมือง Makati ประเทศฟิลิปปินส์ในโอกาสรำลึกครบรอบ 5ปีการที่ศาลอนุญาโตตุลาการฯออกคำวินิจฉัยกรณีฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนเรื่องข้อพิพาทในทะเลตะวันออก  (ABS-CBN News)

ไม่มีทางให้แก่การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวในทะเลตะวันออก

ทะเลตะวันออกไม่เพียงแต่มีสถานะทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญต่อประเทศและดินแดนในภูมิภาคเท่านั้น หากยังมีความสำคัญต่อทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกและโลกอีกด้วย โดยตั้งอยู่ในเส้นทางการขนส่งสินค้าที่เชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ระหว่างยุโรปกับเอเชียและระหว่างตะวันออกกลางกับเอเชีย เป็นส่วนหนึ่งของการเดินเรือระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดียและมีบทบาทสำคัญต่อการค้าทางทะเลทั่วโลก

ด้วยสถานะทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญของทะเลตะวันออก การรักษาสันติภาพ เสถียรภาพและความปลอดภัยในทะเลตะวันออกถือเป็นหน้าที่ของทุกประเทศในภูมิภาคและประเทศนอกภูมิภาคที่มีผลประโยชน์ต่างๆ การพิพาทในทะเลตะวันออกต้องได้รับการแก้ไขอย่างสันติบนพื้นฐานของกฎหมายสากลและไม่มีทางให้แก่การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวในทะเลตะวันออก

ทั้งนี้ คำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการฯเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมปี 2016 และ UNCLOS 1982 ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ปัญหาทะเลตะวันออกคือบททดสอบให้แก่ประเทศต่างๆที่เกี่ยวข้องในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพและความร่วมมือในภูมิภาค อีกทั้งเป็นสัญลักษณ์ของการให้ความเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายสากลเพื่อรักษาความเป็นระเบียบของโลกตามกรอบของกฎหมาย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด