ญี่ปุ่นและอินเดียพยายามสร้างอำนาจถ่วงดุลในเอเชีย

(VOVworld) – ท่านนเรนดรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดียคนใหม่เพิ่งเสร็จสิ้นการเยือนญี่ปุ่นเป็นเวลา๕วันซึ่งเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกของท่านในฐานะนายกรัฐมนตรีอินเดียซึ่งมีส่วนร่วมส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีให้พัฒนาขึ้นสู่ขั้นสูงใหม่อีกทั้งเป็นก้าวเดินเพื่อสร้างพันธมิตรใหม่ในภูมิภาค

(VOVworld) – ท่านนเรนดรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดียคนใหม่เพิ่งเสร็จสิ้นการเยือนญี่ปุ่นเป็นเวลา๕วันซึ่งเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกของท่านในฐานะนายกรัฐมนตรีอินเดียซึ่งมีส่วนร่วมส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีให้พัฒนาขึ้นสู่ขั้นสูงใหม่อีกทั้งเป็นก้าวเดินเพื่อสร้างพันธมิตรใหม่ในภูมิภาค

ญี่ปุ่นและอินเดียพยายามสร้างอำนาจถ่วงดุลในเอเชีย - ảnh 1
ท่านนเรนดรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดียและท่านชินโซ อาเบะนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น(Photo:AFP/Getty/WSJ )

คำปราศรัยของท่านชินโซ อาเบะนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและท่านนเรนดรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดียในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนร่วมกันได้สะท้อนให้เห็นถึงความทะเยอทะยานและความตั้งใจของทั้งสองฝ่ายในการแสวงหาความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันซึ่ง ท่านนเรนดรา โมดี ยืนยันว่า รูปแบบความร่วมมือญี่ปุ่น– อินเดียจะเป็นสิ่งชี้ขาดอนาคตของเอเชีย ส่วนท่านชินโซ อาเบะยืนยันว่า ความสัมพันธ์กับอินเดียถือว่ามีศักยภาพมากที่สุดในโลกและจำเป็นต้องยกระดับความสัมพันธ์นี้ให้กลายเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์พิเศษระดับโลก

จากการผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจทวิภาคี....

ญี่ปุ่นให้คำมั่นว่า ใน๕ปีข้างหน้า จะเพิ่มเงินลงทุนในอินเดียเป็น๒เท่าเมื่อเทียบกับปี๒๐๑๓ที่๒พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งถือเป็นผลสำเร็จที่โดดเด่นที่สุดในด้านเศรษฐกิจในการเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้ของนายกรัฐมนตรีอินเดีย นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังให้อินเดียกู้เงิน๕หมื่นล้านเยน หรือประมาณ๔๘๐ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยคณะที่ร่วมเดินทางในครั้งนี้ประกอบด้วยนักธุรกิจจำนวนมากดังนั้นจึงมีสัญญาหลายฉบับที่ได้รับการลงนามในการเยือนนี้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะผลักดันความร่วมมือระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย

สิ่งที่น่าสนใจที่สุดในการเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้ของนายกรัฐมนตรีนเรนดรา โมดี คือผู้นำทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการที่อินเดียจะส่งออกแร่โลหะที่หายากตั้งแต่๒พันถึง๒พัน๓ร้อยตันไปยังญี่ปุ่นซึ่งตอบสนองความต้องการร้อยละ๑๕ต่อปีของญี่ปุ่นและจะเริ่มส่งออกงวดแรกในเดือนกุมภาพันธ์ปี๒๐๑๕ แร่โลหะที่หายากเป็นวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและปัจจุบัน ญี่ปุ่นกำลังนำเข้าจากจีนร้อยละ๖๐ ดังนั้นข้อตกลงฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของญี่ปุ่นในการสร้างความหลากหลายของแหล่งสนองวัตถุดิบและลดการพึ่งพาจีน ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องกันว่า จะทำการเจรจาเกี่ยวกับการที่กรุงโตเกียวขายเครื่องบินน้ำยูเอส๒จำนวน๑๕ลำให้แก่อินเดียซึ่งเป็นสินค้าที่เคยถูกห้ามนำเข้าและถ่ายโอนเทคโนโลยีด้านกลาโหมในเกือบ๕๐ปีที่ผ่านมาของญี่ปุ่นคิดเป็นมูลค่า๑.๖๕พันล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น อินเดียได้กลายเป็นประเทศแรกที่ซื้อเครื่องบินทหารของญี่ปุ่นนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่๒ นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังอนุญาตให้อินเดียร่วมมือในการผลิตอะไหล่ของเครื่องบินชนิดนี้ในดินแดนอินเดีย

ทั้งสองฝ่ายยังตัดสินใจยกระดับและผลักดันความสัมพันธ์ด้านกลาโหม และย้ำถึงความสำคัญของการซ้อมรบของกองทัพเรือระหว่างสองประเทศและการที่ญี่ปุ่นจะเข้าร่วมการซ้อมรบมาลาบาร์ระหว่างอินเดียกับสหรัฐต่อไป

ถึงการขยายความร่วมมือด้านความมั่นคงและกลาโหม

ในเวลาที่ผ่านมา ทั้งญี่ปุ่นและอินเดียต่างมีความกังวลเกี่ยวกับความทะเยอทะยานที่นับวันยิ่งมากขึ้นของจีนและต่างมีความประสงค์ที่จะจำกัดปฏิบัติการของจีนในทะเลตะวันออก ทะเลหัวตุ้งและมหาสมุทรอินเดีย นอกจากนี้ ทั้งกรุงโตเกียวและกรุงนิว เดลียังคงมีการพิพาททางดินแดนกับกรุงปักกิ่งมานานแล้วและสิ่งที่น่าสนใจคือ การแถลงเกี่ยวกับอธิปไตยที่นับวันเพิ่มขึ้นของกรุงปักกิ่งในหลายปีที่ผ่านมายิ่งสร้างความกังวลในภูมิภาค แม้ว่า นายกรัฐมนตรีทั้งสองท่านไม่กล่าวถึงความสัมพันธ์กับจีนแต่ตามผู้สังเกตุการณ์ เนื้อหาที่หยิบยกขึ้นมาอภิปรายและกล่าวปราศรัยระหว่างผู้นำทั้งสองท่านในการเยือนคือทัศนะและนโยบายต่างประเทศเกี่ยวกับการที่กรุงโตเกียวและกรุงนิวเดลีร่วมมือกันในการเผชิญหน้ากับจีนในปัญหาการพิพาททางดินแดน

สร้างดุลอำนาจในภูมิภาค เสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีและประสานผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน

ในทางเป็นจริง เมื่อขึ้นบริหารประเทศ รัฐบาลของท่านนเรนดรา โมดี ได้ประกาศแผนเสริมความแข็งแกร่งให้แก่กองทัพ โดยเฉพาะ การขยายการป้องกันตามแนวชายแดนที่ติดกับจีน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังขยายความร่วมมือด้านกลาโหมผ่านการซ้อมรบของกองทัพเรือเมื่อเร็วๆนี้และ เรือรบของอินเดีย ญี่ปุ่นและสหรัฐเพิ่งทำการซ้อมรบร่วมขนาดใหญ่เพื่อต่อต้านเรือดำน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การที่ญี่ปุ่นและอินเดียกลายเป็นหุ้นส่วนเพื่อร่วมมือกันในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ ความมั่นคงและกลาโหมแสดงให้เห็นว่า ทางการของทั้งสองประเทศกำลังมีก้าวเดินเพื่อจัดตั้งพันธมิตรใหม่ สำหรับญี่ปุ่น การเป็นพันธมิตรกับอินเดียจะช่วยให้กรุงโตเกียวมีโอกาสขยายการส่งออกไปยังประเทศที่มีประชากรจำนวนมาก และร่วมมือกันด้านความมั่นคงเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่นับวันเพิ่มขึ้นเนื่องจากการพัฒนาอย่างเข้มแข็งทางทหารของจีน ส่วนสำหรับอินเดีย การเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นจะช่วยให้นายกรัฐมนตรีนเรนดรา โมดี ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้จากการหาเสียงเลือกตั้งคือ ฟื้นฟูพลังที่เข้มแข็ง และอิทธิพลของนิวเดลีในภูมิภาคและโลก ในฐานะนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ท่านนเรนดรา โมดี ได้มีมองการณ์ไกลในนโยบายต่างประเทศของตนผ่านการเยือนญี่ปุ่นเป็นเวลา๕วัน ดังนั้น ในเวลาข้างหน้า ความสัมพันธ์ที่อบอุ่นระหว่างกรุงโตเกียวกับกรุงนิวเดลีจะส่งผลกระทบไม่น้อยต่อภูมิศาสตร์การเมืองในภูมิภาคที่มีความผันผวนมากมายนี้./.

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด