ญี่ปุ่นไม่อ่อนข้อให้กับการก่อการร้าย

(VOVworld) –  การที่ตัวประกันชาวญี่ปุ่น๒คนถูกสังหารทำให้ทางการโตเกียวอยู่บนทางเลือกที่ยากลำบากทั้งการถอนทหารออกจากกระบวนการต่อต้านกลุ่มไอเอสเพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่พลเมืองหรือจะเดินหน้าต่อไปเพื่อยืนยันว่าจะไม่อ่อนข้อให้ลัทธิก่อการร้ายซึ่งถือเป็นความท้าทายทางการเมืองที่สำคัญต่อทางการของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะและแน่นอนว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในนโยบายความมั่นคงของญี่ปุ่นในเวลาข้างหน้าและญี่ปุ่นจะไม่ยกเลิกคำมั่นในการต่อต้านการก่อการร้าย

(VOVworld) –  การที่ตัวประกันชาวญี่ปุ่น๒คนถูกสังหารทำให้ทางการโตเกียวอยู่บนทางเลือกที่ยากลำบากทั้งการถอนทหารออกจากกระบวนการต่อต้านกลุ่มไอเอสเพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่พลเมืองหรือจะเดินหน้าต่อไปเพื่อยืนยันว่าจะไม่อ่อนข้อให้ลัทธิก่อการร้ายซึ่งถือเป็นความท้าทายทางการเมืองที่สำคัญต่อทางการของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะและแน่นอนว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในนโยบายความมั่นคงของญี่ปุ่นในเวลาข้างหน้าและญี่ปุ่นจะไม่ยกเลิกคำมั่นในการต่อต้านการก่อการร้าย

ญี่ปุ่นไม่อ่อนข้อให้กับการก่อการร้าย - ảnh 1
นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะเยือนฐานทัพทหารโอกินาวา (Photo:Pháp luật)

ญี่ปุ่นถือว่า เป็นประเทศที่ปลอดภัยนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่๒แต่ก็ต้องเผชิญกับเหตุสะเทือนขวัญหลังจากที่พลเมืองญี่ปุ่น๒คนได้ถูกกลุ่มไอเอสในอิรักสังหารเมื่อเร็วๆนี้ซึ่งเหตุนี้ได้สร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของพลเมืองญี่ปุ่นทั้งในและต่างประเทศและการสนับสนุนของประชาชนต่อนโยบายต่างประเทศ โดยเฉพาะ การอนุมัติรัฐธรรมนูญที่อนุญาติให้กองกำลังป้องกันตนเองหรือเอสดีเอฟมีบทบาทในเชิงรุกในต่างประเทศมากขึ้น

ไม่ละทิ้งการต่อต้านการก่อการร้าย

ในประวัติศาสตร์ นี่มิใช่เป็นครั้งแรกที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับวิกฤตโดยเมื่อปี๑๙๙๒ รัฐสภาญี่ปุ่นได้อนุมัติรัฐบัญญัติที่อนุญาติให้ส่งทหารและกองกำลังอื่นๆของญี่ปุ่นเข้าร่วมกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ แต่เพียงใน๑ปีต่อมา ตำรวจ๑นายของญี่ปุ่นได้ถูกสังหารในกัมพูชาและเมื่อปี๒๐๐๔ มีตัวประกันชาวญี่ปุ่น๑คนถูกสังหารในอิรักหลังจากที่ญี่ปุ่นส่งทหารนับร้อยนายไปยังอิรักเพื่อช่วยเหลือการฟื้นฟูบูรณะอิรักซึ่งส่งผลให้เกิดการเรียกร้องให้รัฐบาลถอนทหารกลับประเทศแต่ญี่ปุ่นยังคงปฏิบัติหน้าที่นี้จนถึงปี๒๐๐๖

หลังจากนั้น๑๐ปี เมื่อนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะได้กลับมาขึ้นกุมอำนาจเมื่อปี๒๐๑๒ เขาก็ได้พยายามผลักดันให้ญี่ปุ่นมีบทบาทบนเวทีโลกมากขึ้นและใน๒ปีที่ผ่านมา นายชินโซ อาเบะ ได้เดินทางไปเยือนต่างประเทศมากกว่านายกรัฐมนตรีคนก่อนๆโดยได้มีการพบปะกับนายกรัฐมนตรีนับสิบท่านในลาติอเมริกา แอฟริกา ยุโรป และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล่าสุดคือในการเยือนตะวันออกกลาง นายชินโซ อาเบะได้ให้คำมั่น จะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเป็นจำนวนเงิน๒๐๐ล้านดอลล่าร์สหรัฐให้แก่ประเทศที่กำลังเข้าร่วมการต่อต้านกลุ่มไอเอสซึ่งนักการเมืองฝ่ายค้านจำนวนหนึ่งได้ใช้สิ่งนี้เป็นข้ออ้างเพื่อประณามรัฐบาลชุดปัจจุบันโดยกล่าวว่า วงเงินช่วยเหลือนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้พลเมืองญี่ปุ่นถูกสังหารและทำให้ญี่ปุ่นตกเข้าสู่วิกฤตตัวประกัน

แต่ทั้งนี้โดยไม่สนใจต่อคำกล่าวหาดังกล่าว นายชินโซ อาเบะ ยังคงยืนหยัดปฏิบัติแนวทางต่อต้านการก่อการร้าย ในการประชุมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติหลังจากที่ตัวประกันคนที่๒ถูกสังหาร นายชินโซ อาเบะ ได้ยืนยันว่า ญี่ปุ่นจะไม่ยอมอ่อนข้อต่อลัทธิก่อการร้ายและยังจะออกมาตรการที่สอดคล้องกับนโยบายต่างประเทศและผลประโยชน์ของชาติ

ยุทธศาสตร์ความมั่นคงใหม่ของญี่ปุ่น

การที่กลุ่มไอเอสสังหารตัวประกันชาวญี่ปุ่นสองคนไม่ได้ทำให้ประเทศนี้ย่อท้อหากกลับเป็นแรงผลักดันให้นายชินโซ อาเบะ ยืนหยัดปรับปรุงรัฐธรรมนูญเพื่ออนุญาติให้กองทัพสามารถช่วยชีวิตตัวประกันในต่างประเทศได้และปัจจุบัน รัฐบาลของนายชินโซ อาเบะกำลังร่างรัฐบัญญัติเพื่อผลักดันการประจำการทหารญี่ปุ่นในต่างประเทศ ถ้ารัฐสภาญี่ปุ่นอนุมัติรัฐบัญญัติฉบับนี้ในไตรมาสแรกของปีนี้ กองทัพญี่ปุ่นก็จะสามารถเข้าร่วมการช่วยเหลือพันธมิตรในต่างประเทศและได้ถือเป็นปฏิบัติการป้องกันร่วมกันซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่นายชินโซ อาเบะสามารถปฏิบัติเป้าหมายของตนได้อย่างแน่นอนเพราะพรรคเสรีประชาธิปไตยของนายชินโซ อาเบะกำลังครองที่นั่งข้างมากในรัฐสภา

ในสภาวการณ์ที่ญี่ปุ่นและภูมิภาคประสบความท้าทายด้านความมั่นคงและ ดุลอำนาจในภูมิภาคกำลังมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งทำให้ญี่ปุ่นต้องดำเนินนโยบายความมั่นคงที่มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น วิกฤตตัวประกันทำให้ทางการโตเกียวต้องมีนโยบายความมั่นคงที่เเหลมคมในเชิงรุกและต้องขยายอิทธิพลให้ไกลกว่าเอเชียตะวันออกและเพื่อแปรสิ่งนี้ให้กลายเป็นความจริงก็มีงานที่ต้องทำมากมายโดยรัฐบาลญี่ปุ่นต้องควบคุมวิกฤตอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นผ่านองค์การและแหล่งพลังใหม่ เช่น สภาความมั่นคงแห่งชาติและต้องปรับปรุงกองกำลังป้องกันตนเองและความมั่นคงเพื่อรับมือกับภัยคุกคามใหม่และเหตุสังหารตัวประกันญี่ปุ่น ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลญี่ปุ่นได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในการต่อต้านลัทธิก่อการร้ายมากขึ้น

วิกฤตตัวประกันครั้งนี้เป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อให้นายชินโซ อาเบะมีความตั้งใจมากขึ้นในการแปรยุทธศาสตร์“สันติภาพในเชิงรุก”ให้เป็นรูปธรรมเพื่อให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่มีสถานะและบทบาทสำคัญมากขึ้นบนเวทีโลก./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด