ตุรกีและความท้าทายหลังการเลือกตั้ง

(VOVworld) – การเลือกตั้งรัฐสภาของตุรกีได้เสร็จสิ้นลงโดยชัยชนะเป็นของพรรคยุติธรรมและการพัฒนาหรือเอเคพีของฝ่ายอนุรักษ์นิยมของประธานาธิบดีเรเซป ตอยยิป เออร์โดกาน นักวิเคราะห์เผยว่า ผลการเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนความปรารถนาของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตุรกีเกี่ยวกับการที่จะได้อาศัยอยู่ในบรรยากาศที่มั่นคงและพัฒนา รวมทั้งตั้งความไว้วางใจต่อการบริหารประเทศของพรรคเอเคพี (AKP)
(VOVworld) – การเลือกตั้งรัฐสภาของตุรกีได้เสร็จสิ้นลงโดยชัยชนะเป็นของพรรคยุติธรรมและการพัฒนาหรือเอเคพีของฝ่ายอนุรักษ์นิยมของประธานาธิบดีเรเซป ตอยยิป เออร์โดกาน นักวิเคราะห์เผยว่า ผลการเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนความปรารถนาของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตุรกีเกี่ยวกับการที่จะได้อาศัยอยู่ในบรรยากาศที่มั่นคงและพัฒนา รวมทั้งตั้งมั่นความไว้วางใจต่อการบริหารประเทศของพรรคเอเคพี (AKP)
ตุรกีและความท้าทายหลังการเลือกตั้ง - ảnh 1
พรรคเอเคพีได้รับเสียงสนับสนุนร้อยละ 49.4 หรือ 315 ที่นั่ง
จากจำนวนทั้งหมด 550 ที่นั่ง 
(Photo AP)

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน จากเสียงเลือกตั้งร้อยละ 97 เสียง พรรคเอเคพีซึ่งก่อตั้งโดยประธานาธิบดีเรเซป ตอยยิป เออร์โดกานได้รับเสียงสนับสนุนร้อยละ 49.4 หรือ 315 ที่นั่งจากจำนวนทั้งหมด 550 ที่นั่ง ส่วนพรรคฝ่ายค้านสาธารณรัฐประชาชนหรือซีเอชพี(CHP)ได้คะแนนเสียงร้อยละ 23 พรรคประชาธิปไตยประชาชนหรือพรรคเอชดีพี (HDP)ได้คะแนนเสียงร้อยละ 10 ส่วนพรรคขบวนการชาตินิยมหรือเอมเอชพี (MHP) ได้ร้อยละ 11 ดังนั้นพรรคเอเคพีจึงมีอำนาจจัดตั้งรัฐบาลเอง
ทำไม่เอเคพีได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากในการเลือกตั้งครั้งนี้
การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญที่สุดของตุรกีในหลายปีที่ผ่านมาในขณะที่รัฐบาลกำลังมีความแตกแยกอย่างหนักต่อกระแสการโจมตีอย่างนองเลือดจากกลุ่มครูเสด ตลอดจนความขัดแย้งใหม่ๆกับพรรคกรรมกรชาวเคิร์ดหรือพีเคเค (PKK) ก่อนการเลือกตั้งดังกล่าว นักวิเคราะห์หลายคนแสดงความกังวลว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะไม่สามารถยุติความชงักงันทางการเมืองในปัจจุบันได้ ผลสำรวจความคิดเหตุก่อนการเลือกตั้งระบุว่า พรรครัฐบาลเอเคพีของประธานาธิบดีเรเซป ตอยยิป เออร์โดกาน จะได้คะแนนเสียงจากการเลือกตั้งครั้งนี้ประมาณร้อยละ 40-43 เท่านั้น ซึ่งยังไม่เพียงพอเพื่อจัดตั้งรัฐบาลเดี่ยว ส่วนพรรคที่นิยมชาวเคิร์ดยังคงได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมากจากประชาชน แต่อย่างไรก็ตาม พรรคเอเคพีได้เสียงสนับสนุนถึงร้อยละ 49.4 ซึ่งเพียงพอสำหรับการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ด้วยตนเองโดยไม่ต้องจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคการเมืองอื่นๆ
ชัยชนะของพรรคเอเคพีถือว่าเป็นผลที่ไม่คาดคิดเพราะว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งตุรกีต้องไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งที่ 2 ในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา ในการเลือกตั้งเมื่อเดือนมิถุนายน พรรคเอเคพีได้เก้าอี้ไม่เพียงพอสำหรับการจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2002 แล้วมาล้มเหลวในการจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคฝ่ายค้านต่างๆ จึงทำให้ตุรกีต้องจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ตามรัฐธรรมนูญ
เหตุผลที่ทำให้เอเคพี ซึ่งถูกตำหนิอยู่เสมอว่า มีแนวทางการบริหารที่แข็งกร้าวได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากในการเลือกตั้งรัฐสภาครั้งนี้คือปัญหาการก่อการร้ายและความกังวลเกี่ยวกับความไร้เสถียรภาพ การฟื้นตัวอย่างเข้มแข็งของพรรคกรรมกรชาวเคิร์ดหรือพีเคเค (PKK) สงครามในประเทศเพื่อนบ้านซีเรียที่ลุกลามไปยังตุรกีและกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสล้วนเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลต่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งตุรกี ความไร้เสถียรภาพในตุรกีในเวลาที่ผ่านมาได้ทำให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอยากหวนกลับไปสู่ยุคที่ประเทศปกครองด้วยพรรคเดียว เพื่ออำนวยความสะดวกให้รัฐบาลมีปฏิบัติการอย่างเข้มแข็งในการต่อต้านการก่อการร้าย นอกจากนี้ ต้องยอมรับว่า ในเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลเปลี่ยนผ่านของตรุกีได้ประสบผลงานต่างๆในการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมเนื่องจากความมีเสถียรภาพของรัฐบาลที่มีพรรคเดียวและได้ที่นั่งข้างมากในรัฐสภา จากการปฏิรูปและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน เอเคพีได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหลังให้คำมั่นว่า มีแต่การบริหารด้วยพรรคเดียวเท่านั้นที่สามารถช่วยยุติความไร้เสถียรภาพทางการเมืองที่ยืดเยื้อมากว่า 5 เดือนเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างพรรคต่างๆในตุรกี
ตุรกีและความท้าทายหลังการเลือกตั้ง - ảnh 2
สมาชิกพรรคเอเคพีแสดงความยินดีต่อชัยชนะ (Photo AFP)

ความท้าทายหลังการเลือกตั้ง
แต่อย่างไรก็ตาม พรรคเอเคพีของประธานาธิบดีเรเซป ตอยยิป เออร์โดกานก็ไม่สามารถปฏิบัติตามความปรารถนาของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้ง่ายเพราะว่า แม้สามารถแก้ไขความชงักงันทางการเมืองที่ยืดเยื้อในตลอด 5 เดือนที่ผ่านมาได้แต่ก็ยังมีความท้าทายต่างๆรออยู่เบื้องหน้า นั่นคือการแตกแยกระหว่างพรรคการเมืองและสถานการณ์เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงทำให้เอเคพีต้องแสวงหามาตรการแก้ไขอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะความท้าทายด้านความมั่นคงที่ต้องรับมือกับกระแสผู้อพยพ ส่วนการปะทะระหว่างรัฐบาลกับกองกำลังลุกขึ้นสู้ของพรรคกรรมกรชาวเคิร์ดหรือพีเคเคนับวันยิ่งทวีความรุนแรงจนทำให้กระบวนการสันติภาพกับชาวเคิร์ดไม่ประสบความคืบหน้าแต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้น การตัดสินใจเข้าร่วมพันธมิตรต่อต้านกลุ่มไอเอสของสหรัฐได้ทำให้ตุรกีกลายเป็นเป้าหมายใหม่ของกลุ่มก่อการร้าย
ผลการเลือกตั้งในตุรกีได้แสดงให้เห็นว่า ประชาชนตุรกีสนับสนุนความเป็นเอกภาพ บูรณะภาพแห่งดินแดนและมีความปรารถนาที่จะได้อาศัยอยู่ในบรรยากาศที่มีเสถียรภาพและสันติภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ความปรารถนาของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งตุรกีจะกลายเป็นความจริงหรือไม่คำตอบกำลังรออยู่เบื้องหน้า.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด