ปี2011-ช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความผันผวนในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง

     วัน ที่17ธันวาคม เป็นวันครบรอบ1ปีการเกิดกระแสเดินขบวนประท้วงเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการ ปกครองในแถบแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง โดยมีจุดเริ่มต้นที่ประเทศตูนีเซียและปานปลายไปยังทั้งภูมิภาคส่งผลให้ภูมิภาคนี้ก็ยังคงเต็มไปด้วยความซับซ้อนไม่ว่าจะเป็นการใช้ความรุนแรง ปัญหาเศรษฐกิจหรือการเเย่งชิงอำนาจ.

       วัน ที่17ธันวาคม เป็นวันครบรอบ1ปีการเกิดกระแสเดินขบวนประท้วงเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการ ปกครองในแถบแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง โดยมีจุดเริ่มต้นที่ประเทศตูนีเซียและปานปลายไปยังทั้งภูมิภาคส่งผลให้ สถานการณ์การเมืองในตูนีเซีย อิยิปต์ เยเมน ลิเบียและซีเรียมีความผันผวนและถึงแม้เวลาจะผ่านไปแล้ว1ปีแต่สถานการณ์ใน ภูมิภาคนี้ก็ยังคงเต็มไปด้วยความซับซ้อนไม่ว่าจะเป็นการใช้ความรุนแรง ปัญหาเศรษฐกิจหรือการเเย่งชิงอำนาจ.

       ไม่มีใครคิดเลยว่า การที่นาย Mohamed el-Bouzazi พ่อค้าแผงลอยที่เผาตัวเองเมื่อวันที่17ธันวาคมปี2010เพื่อคัดค้านการกระทำ ที่อยุติธรรมของทางการปกครองท้องถิ่นนั้นได้เป็นการจุดชนวนให้ประชาชนใน อำเภอเมือง Sidi Bouzid มองเห็นสภาพชีวิตของตัวเองจนนำไปสู่การเดินขบวนประท้วงเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจซบเซาและปัญหาคนว่างงานที่นับวันยิ่งสูงขึ้น  ส่วนสื่อต่างๆทั้งในตูนีเซียและต่างประเทศก็สนับสนุนการประท้วงนี้โดยเมื่อวันที่ 30ธันวาคม ปี2010 สถานีโทรทัศน์เอกชน Nessma ได้ แพร่ภาพการเดินขบวนประท้วงและจัดการเสวนาเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะต้องทำการ ปรับเปลี่ยนด้านประชาธิปไตย ส่วนการเดินขบวนประท้วงก็ได้ทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นการจราจลครั้งใหญ่ เมื่อผู้ประท้วงได้ปะทะกับกองกำลังรัฐบาลและสถานการณ์การเมืองและสังคมก็ ยิ่งเล็วร้ายลงทุกขณะจนทำให้ประธานาธิบดี Zine El Abidine Ben Ali ต้อง หนีออกนอกประเทศสิ้นสุดการกุมอำนาจในตูนีเซียตลอด23ปีของเขา อาจกล่าวได้ว่า การที่ประธานาธิบดีตูนีเซียถูกโค่นล้มนั้นได้เป็นแรงกระตุ้นทำให้เกิดการ เดินขบวนเรียกร้องความมีประชาธิปไตยและปรับเปลี่ยนระบอบการปกครองในอีกหลาย ประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือและผลที่ตามมาก็คือผู้นำของอิยิปต์และ เยเมนต่างถูกโค่นล้ม ผู้นำลิเบียถูกจับและสังหารส่วนผู้นำซีเรียกำลังต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ของคณะรัฐบาลในขณะที่ความไม่พอใจของประชาชนและแรงกดดันจากภายนอกกำลังเพิ่ม มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  โดยฝ่ายค้านในซีเรียได้ใช้แผนการเหมือนที่ประเทศลิเบียเพื่อดึงความสนใจและการแทรกแซงจากฝ่ายตะวันตก ในขณะที่สันนิบาตอาหรับหรือALและฝ่ายตะวันตกกำลังสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลของประธานาธิบดีบาซาร์ อัล อาสซาดโดยระงับการเป็นสมาชิกภาพของซีเรียในAlและประกาศมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อดามัสกัส   ส่วนในประเทศอื่นๆเช่นบาเรน  จอร์แดน คูเวต โอมาน เป็นต้น ต่างก็กำลังเผชิญแนวโน้มของการถูกกดดันเช่นกัน ส่วนอิหร่านต้องรับมือกับแรงกดดันจากภายนอกที่นับวันยิ่งเพิ่มขึ้นในขณะที่ อิสราเอลมีความกังวลต่อความผันผวนจากโลกอาหรับที่อาจจะส่งผลมาถึงตน ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่ทั้งภูมิภาคและ ทำให้รัฐบาลหลายประเทศต้องพยายามแสวงหามาตรการแก้ไขอย่างเหมาะสมเพื่อความ อยู่รอดหรือจะต้องยอมสละอำนาจเหมือนกรณีของประธานาธิบดีเยเมน  แต่ ทว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ก็ไม่สามารถนำมาซึ่งดอกผลตามความคาดหวังของประชาชนที่ กำลังรอชีวิตใหม่ที่สดใส เพราะอาหรับได้เปิดศักราชใหม่ที่เต็มไปด้วยความผันผวนและการพัฒนาอย่างเข้ม แข็งของการเมืองอิสลามในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางก็ได้สะท้อนให้เห็นถึง แนวโน้มใหม่ที่มาจากการเลือกเฟ้นของประชาชน แต่ถึงอย่างไรก็ดี การเลือกเฟ้นนี้จะถูกต้องหรือไม่นั้นก็ต้องผ่านการทดสอบระยะยาวจากสถานการณ์ ที่เป็นจริง โดยสำหรับ4ประเทศที่ได้มีความเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองแล้วได้แก่ ตูนีเซีย เยเมน อิยิปต์และลิเบียนั้น รัฐบาลชุดใหม่กำลังต้องพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ความแตกแยกในสังคม หรือการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจ โดยที่ประเทศตูนีเซียซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ5ในรอบ20ปีที่ ผ่านกำลังอยู่ในภาวะถอดถอยอย่างต่อเนื่องเพราะความไร้เสถียรภาพ ประชาชนต้องเผชิญกับภาวะการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่การเดินขบวนครั้ง ใหญ่ก็ยังคงมีขึ้นต่อไป ที่ประเทศเยเมน ถึงแม้นาย Ali Abdullah Saleh ได้ ทำการถ่ายโอนอำนาจไปแล้วแต่สถานการณ์การเมืองของประเทศนี้ก็ไม่สดใสขึ้นซึ่ง จะเห็นได้จากการแย่งชิงอำนาจอย่างดุเดือดระหว่างกองกำลังที่ภักดีต่อนาย Salehกับกองกำลังฝ่ายค้าน ส่วนที่ประเทศอิยิปต์ ก็มีความขัดแย้งระหว่างพรรคฝ่ายต่างๆในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะซบเซาตลอดจนการใช้ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นทุกวัน สำหรับทางการลิเบียนั้นก็ต้องพยายามแก้ไขความขัดแย้งด้านการแบ่งอำนาจ การฟื้นฟูความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคมและเมืองหลายแห่งที่ถูกทำลายในช่วงสงครามและทำการปลดอาวุธกองกำลังต่างๆ

       เวลา1ปี ได้ผ่านไป กระแสการเรียกร้องประชาธิปไตยและเปลี่ยนแปลงระบอบการบริหารยังคงยืดเยื้อใน ทั้งแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง โดยขบวนการลุกขึ้นในบรรดาประเทศอาหรับนั้นแม้จะได้สร้างพื้นฐานให้แก่โครง สร้างการเมืองใหม่แต่ปัญหาทุกอย่างที่คั่งค้างอยู่ก็ยังคงเป็นการท้าทายต่อ ทั้งระบบการเมืองใหม่และเก่าในภูมิภาคนี้./.

Doan Trung-VOV5

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด