ปฎิบัติการของจีนส่งผลเสียต่อหลายประเทศที่มีอธิปไตยในทะเลตะวันออก
(VOVWORLD) - นี่เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ที่เรือสำรวจไหหยาง 8 และเรือคุ้มกันของจีนได้รุกล้ำไหล่ทวีปของเวียดนาม ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายสากลอย่างรุนแรง เพราะเขตนี้อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยและสิทธิอำนาจศาลของเวียดนามตามข้อกำหนดของอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลหรือ UNCLOS ปี 1982 ยิ่งไปกว่านั้น ปฏิบัติการดังกล่าวของจีนยังส่งผลเสียต่อหลายประเทศที่มีอธิปไตยในภูมิภาคนี้ด้วย
บริเวณที่ตั้งแท่นขุดเจาะน้ำมัน ดีเค 1 ซึ่งในบริเวณนั้นมีแนวปะการังตือชิ้ง ที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานชายฝั่งของเวียดนาม |
ในหลายวันที่ผ่านมา กลุ่มเรือสำรวจไหหยาง 8 ของจีนได้รุกล้ำเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามในทะเลตะวันออกเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งสร้างความวิตกกังวลต่อประชามติโลกว่า นี่เป็นการทำลายความไว้วางใจ ทวีความตึงเครียดและส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ความปลอดภัยและเสรีภาพในการเดินเรือและการบินในทะเลตะวันออก
เวียดนามได้ติดต่อกับจีนเพื่อประท้วงการละเมิดที่รุนแรงอีกครั้งของจีนและเรียกร้องให้จีนถอนเรือเหล่านี้ออกจากเขตทะเลของเวียดนาม ให้ความเคารพอำนาจอธิปไตยและสิทธิอำนาจศาล สิทธิและผลประโยชน์ที่ชอบธรรมของเวียดนามตาม UNCLOS และกฎหมายสากล
ประชาคมโลกไม่พอใจและประท้วงการกระทำของจีน
การรุกล้ำอย่างต่อเนื่องของจีนทำให้ประชาคมโลกไม่พอใจและแสดงความไม่เห็นด้วย ศ. Alexander Vuving เจ้าหน้าที่อาวุโสศูนย์วิจัยความมั่นคงเอเชีย – แปซิฟิกของสหรัฐให้ข้อสังเกตว่า ปฏิบัติการที่ก้าวร้าวของจีนอาจส่งผลกระทบทำให้ภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกต้องรับมือกับภัยคุกคามต่างๆ “ผมคิดว่า ภูมิภาคนี้จะต้องรับมือกับภัยคุกคามสองอย่าง หนึ่งคือ จีนจะมุ่งสู่การขยายอิทธิพลต่อไปเพื่อควบคุมทะเลตะวันออก สองคือ ปฏิบัติการที่บังคับเพียงฝ่ายเดียวนี้ของจีนเป็นการเพิกเฉยกฎหมายสากล ถ้าหากไม่ยับยั้ง ก็จะทำให้ “เรื่องที่จีนมีอำนาจเหนือกว่ากฎหมายสากล” กลายเป็นความจริงและทุกคนต้องยอมรับ”
ในเวลาที่ผ่านมา ประเทศต่างๆในภูมิภาคและโลกต่างแสดงความกังวลต่อปฏิบัติการที่จีนรุกล้ำเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามอย่างต่อเนื่อง ถึงขณะนี้ เวียดนามยังคงยืนหยัดการแก้ไขปัญหานี้ผ่านมาตรการทางการทูตที่สันติ เรียกร้องให้จีนยุติการละเมิดอธิปไตยและอำนาจอธิปไตยของเวียดนาม เรียกร้องความสามัคคีภายในภูมิภาคและให้ความสำคัญต่อการบังคับใช้กฎหมายสากล บรรดาผู้เชี่ยวชาญนานาชาติยังเผยว่า ถ้าหากมองในแง่กฎหมายสากล เสียงพูดร่วมกันของประชามติที่ก้าวหน้าทั่วโลกจะเป็นมาตรการปกป้องการบังคับใช้กฎหมายและเป็นพื้นฐานทางนิตินัยเพื่อให้จีนต้องปฏิบัติตามกฎหมายสากล ศ. Alexander Vuving แสดงความคิดเห็นว่า “ผมคิดว่า ไม่เพียงแต่ประเทศริมฝั่งทะเล เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์และมาเลเซียเท่านั้น หากประเทศนอกภูมิภาคที่มีผลประโยชน์ร่วมในการปกป้องกฎหมายสากลก็สามารถร่วมมือกันได้ ไม่เพียงความร่วมมือทางทหารเท่านั้น หากยังรวมถึงการส่งเรือบังคับใช้กฎหมายมาสนับสนุนกันเพิ่มทักษะความสามารถในการปกป้องการปฏิบัติกฎหมายสากลในภูมิภาค ทุกประเทศควรร่วมมือกันมากขึ้นเพื่อสร้างแนวร่วมระหว่างประเทศที่เข้มแข็ง ต่อต้านการละเมิดของจีนในทะเลตะวันออก รวมไปถึงคำเรียกร้องเส้นประ 9 เส้นเพื่อกดดันให้จีนเปลี่ยนพฤติกรรม”
ไม่สามารถยอมรับพฤติกรรม “แต่เพียงฝ่ายเดียว”
เป็นที่ชัดเจนว่า การที่จีนส่งเรือไปยังเขตทะเลที่อยู่ในอธิปไตยของเวียดนามและขับไล่เรือประมงเวียดนาม เป็นการละเมิดกฎหมายและความทะเยอทะยานและแผนการของจีนในทะเลตะวันออกคือการเพิกเฉยต่อกฎหมายสากล
อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 หรือ UNCLOS ระบุว่า ถ้าหากประเทศใดอยากทำการสำรวจ ขุดเจาะและทำประมงในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศอื่น ก็ต้องขออนุญาตจากประเทศนั้น ถ้าหากไม่ได้รับอนุญาต ปฏิบัติการนั้นจะเป็นการละเมิดกฎหมายสากล อธิปไตย อำนาจอธิปไตยและสิทธิอำนาจศาลของประเทศเจ้าของเขตเศรษกิจจำเพาะนั้น ดังนั้นในกรณีนี้ การส่งเรือไหหยาง 8 มาทำการสำรวจที่แนวปะการังตือชิ้งของเวียดนามก็เป็นการละเมิด UNCLOS 1982 อย่างรุนแรง รวมถึงได้ละเมิดแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีที่จีนได้ลงนามกับบรรดาประเทศอาเซียน ณ ประเทศกัมพูชาอีกด้วย
นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2012 จีนได้ให้คำมั่นอย่างเป็นทางกาารถึง 10 ครั้งกับผู้นำเวียดนามและบรรดาประเทศอาเซียนว่า จีนมีความรับผิดชอบในการธำรงสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลตะวันออก โดยเฉพาะในหนังสือปกขาวของจีนที่ประกาศเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมาก็ได้ระบุว่า จีนจะไม่รุกล้ำอธิปไตยของประเทศอื่น แต่การกระทำของจีนที่ส่งเรือมาสำรวจในแนวปะการังตือชิ้งของเวียดนามถือเป็นการกระทำที่ขัดกับกฎหมายสากลและคำมั่นที่จีนให้ไว้กับโลกและเวียดนาม ซึ่งจะเป็นการทำลายชื่อเสียงของจีนบนเวทีโลกแน่นอน.