ปฏิญญาฮานอย : จุดเริ่มต้นให้แก่เป้าหมายอันสูงส่งของไอพียู

(VOVworld)-สมัชชาสหภาพรัฐสภาโลกครั้งที่132-ไอพียู132 ที่กรุงฮานอยได้เสร็จสิ้นลงด้วยผลสำเร็จอย่างงดงามโดยมีการออกปฏิญญาฮานอย ซึ่งเป็นเอกสารที่สำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของสมาชิกไอพียูเพื่อมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติหลังปี2015 

(VOVworld)-สมัชชาสหภาพรัฐสภาโลกครั้งที่132-ไอพียู132 ที่กรุงฮานอยได้เสร็จสิ้นลงด้วยผลสำเร็จอย่างงดงามโดยมีการออกปฏิญญาฮานอย ซึ่งเป็นเอกสารที่สำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของสมาชิกไอพียูเพื่อมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติหลังปี2015 
ปฏิญญาฮานอย : จุดเริ่มต้นให้แก่เป้าหมายอันสูงส่งของไอพียู - ảnh 1
เวียดนามได้มีส่วนร่วมที่เข้มแข็งในการประชุมไอพียู

ปฏิญญาฮานอยได้ยืนยันถึงความมุ่งมั่นที่เข้มแข็งของไอพียูที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลางและอาศัยบนพื้นฐานของการปฏิบัติสิทธิมนุษยชนต่างๆและคำมั่นผลักดันบทบาทของทุกประเทศในการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งในสภาวการณ์ที่โลกกำลังสรุปการปฏิบัติเป้าหมายแห่งสหัสวรรษและเตรียมกำหนดโครงการพัฒนาใหม่หลังปี2015 ปฏิญญาฮานอยจะถูกยื่นต่อสมัชชาใหญ่สหประชาชาติที่มีขึ้นในเดือนกันยายนนี้เพื่อเป็นพื้นฐานให้แก่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนใหม่ของประชาคมระหว่างประเทศ

คำพูดต้องควบคู่กับการปฏิบัติ

อาจกล่าวได้ว่าปฏิญญาฮานอยถือเป็นการสร้างแนวโน้มในกิจกรรมของไอพียูนั่นคือการให้ความสำคัญต่อการแสวงหามาตรการที่ดีที่สุดเพื่อแปรคำมั่นต่างๆให้เป็นการปฏิบัติตามการยืนยันของผู้นำไอพียู ซึ่งถ้าหากในการประชุมไอพียูสมัยก่อนๆมีแต่การออกมติของที่ประชุมหรือถ้ามีการออกแถลงการณ์ก็มีเฉพาะตามหัวข้อเท่านั้นโดยไม่มีลักษณะเป็นภาพรวม แต่ในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ไอพียูได้พิจารณาและออกปฏิญญาฮานอยโดยคลอบคลุมทุกเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับโลก นาย ชาเบอร์ ซอห์ดฮูรี ประธานไอพียูได้ยืนยันว่า“ในการประชุมครั้งก่อนๆเรามีแต่หารือตามประเด็นตามหัวข้อและแผนการประสานการปฏิบัติ แต่ในการประชุมที่ฮานอยครั้งนี้ได้มีการเข้าถึงทุกปัญหาในแนวทางใหม่ที่เน้นเจาะลึกถึงมาตรการปฏิบัติมิใช่เป็นการเสนอปัญหาเพียงอย่างเดียว เช่นไอพียู132ได้อนุมัติมติว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินหรือการหารือเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อแปรคำพูดเป็นการปฏิบัติเพื่อรับใช้ประชาชน ซึ่งผมเห็นว่า ปฏิญญาฮานอยเป็นนิมิตหมายแห่งการเปลี่ยนแปลงด้านจิตสำนึก เป็นมรดกของไอพียูและเป็นส่วนร่วมของเวียดนามในประชาคมโลก”

ในระหว่างดำเนินการประชุม “เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน-แปรคำพูดให้เป็นการปฏิบัติ” ซึ่งเป็นหัวข้อที่เวียดนามเสนอได้กลายเป็นประเด็นหลักของการประชุมสมัยนี้และกำหนดแนวทางการหารือต่างๆของไอพียู โดยการพัฒนาอย่างยั่งยืนคือความปรารถนาของทุกชาติแต่ประเทศต่างๆจะไม่สามารถพัฒนาเจริญรุ่งเรืองได้ถ้าหากไม่สามารถแก้ไขความท้าทายต่างๆเช่นความยากจน การเพิ่มขึ้นของประชากร การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ มลภาวะสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยเฉพาะโลกจะไม่สามารถพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ถ้าหากไม่มีสันติภาพ ความเสมอภาคระหว่างประเทศและการไม่เคารพกฎหมายสากลซึ่งสิ่งนี้ก็ได้รับการยืนยันอย่างชัดเจนในปฏิญญาฮานอย สส.เนเธอแลนด์ ฮานส์แฟรงเกนกล่าวว่า “สิทธิการตัดสินใจของทุกชาตินั้นถือว่าสำคัญมากเพราะนี่คือการตัดสินชะตากรรมของตนเองและถ้าทำผิดก็ถือว่าได้ละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่อันที่จริงก็ยังมีเหยื่อของการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก ดังนั้นกฎหมายสากลคือพื้นฐานที่สำคัญเพื่อแก้ไขทุกความขัดแย้งและข้อพิพาททางดินแดนระหว่างประเทศต่างๆและทุกประเทศต้องให้ความเคารพและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด”

มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ปี2015เป็นช่วงที่ไอพียูกำลังผลักดันแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับโครงการต่างๆของสหประชาชาติที่วางไว้สำหรับ15ปีข้างหน้า ดังนั้นผลงานที่สำคัญของไอพียู132ได้สะท้อนให้เห็นผ่านปฏิญญาฮานอย ซึ่งเป็นตัวแทนให้แก่ความปรารถนาและคำมั่นของไอพียูและประเทศสมาชิกในการสร้างและผลักดันการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สหประชาชาติได้กำหนดจนถึงปี2030 นาง อานเนตต์ กิง สส.จากนิวซีแลนด์ได้ย้ำว่า “นี่คือจุดเริ่มต้นเพื่อการพัฒนาและปฏิบัติเป้าหมายต่างๆและปฏิญญาฮานอยเป็นผลของการทำงานอย่างจริงจังของบรรดาสส.จากรัฐสภากว่า100ประเทศที่สามารถบรรลุความเห็นพ้องกันเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

ภายหลังได้เข้าเป็นสมาชิกของไอพียูมา36ปี นี่เป็นครั้งแรกที่เวียดนามได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมสมัชชาเพื่อต้อนรับนักนิติบัญญัติที่เป็นตัวแทนของประชาชนจากทั่วทุกทวีป ซึ่งในกระแสการพัฒนาที่คึกคักแต่ก็เต็มไปด้วยความซับซ้อนนั้น ผลงานอันดีงามของกิจกรรมด้านการต่างประเทศครั้งใหญ่ที่ดึงดูดความสนใจของสส.จากทั่วโลกมาร่วมหารือในหัวข้อเดียวกันนั้นก็ถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เพื่อเปิดแนวทางแห่งการพัฒนาใหม่ให้แก่ไอพียู องค์การระหว่างรัฐสภาที่ใหญ่ที่สุดของโลก./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด