ประชามติโลกประณามการเคลื่อนไหวของจีนในทะเลตะวันออก

(VOVWORLD) - การที่กระทรวงกิจการพลเรือนจีนได้ประกาศสิ่งที่เรียกว่า “เขตซีซา” และ “เขตหนานซา” สังกัด “นครซานซา” เพื่อบริหารหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลส์และเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของเวียดนามในทะเลตะวันออก ได้ถูกประท้วงจากประชามติทั้งในเวียดนามและในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและยังสร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับก้าวเดินต่อไปของจีนในทะเลตะวันออก
ประชามติโลกประณามการเคลื่อนไหวของจีนในทะเลตะวันออก - ảnh 1 (Photo Reuter/ VOV)

นักวิชาระหว่างประเทศได้ถือว่า จากการจัดตั้งสิ่งที่เรียกว่า “เขตซีซา” และ “เขตหนานซา” จีนกำลังผลักดันยุทธศาสตร์ “ตื๊อซา” ที่ประกาศเมื่อปี 2017 ในความเป็นจริง ยุทธศาสตร์ “ตื๊อซา” คือรูปแบบใหม่เพื่อแทนยุทธศาสตร์ “เส้นประ 9 เส้น” ที่ถูกศาลอนุญาโตตุลาการปฏิเสธเมื่อปี2016

แผนการที่ไม่คำนึงหลักฐานทางนิตินัย

“ปฏิบัติการของจีนในทะเลตะวันออกมีจุดประสงค์เพื่อหลอกลวงประชามติและผลักดันยุทธศาสตร์ “ตื๊อซา” ที่ทะเยอทะยาน” นี่คือคำยืนยันของนาย Lucio Blanco Pitlo นักวิจัยทะเลตะวันออกและสมาชิกขององค์กรนักวิจัย “เส้นทางที่ก้าวหน้าแห่งเอเชีย – แปซิฟิก” โดยถือว่า นี่คือวิธีการที่จีนใช้เพื่อฉวยโอกาสในขณะที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในทั่วโลกเพื่อเสริมสร้างการควบคุมโครงสร้างทางกายภาพและเขตทะเลที่กำลังเกิดการพิพาทในทะเลตะวันออก “การกระทำดังกล่าวและปฏิบัติการในระดับประเทศที่จีนอาจปฏิบัติในเร็วๆนี้ก็มีเป้าหมายเพื่อผลักดันการยึดครองโครงสร้างทางกายภาพและเขตทะเลต่างๆในทะเลตะวันออก สำหรับประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีไหล่ทวีป การประกาศอธิปไตยเหนือสิทธิต่างๆในทะเลตะวันออก ประกอบด้วยเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปรวมทั้งการวาดเส้นฐานชายฝั่งโดยรอบพื้นที่ของโครงสร้างทางกายภาพต่างๆในเขต “ตื๊อซา” ถือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเรียกการสนับสนุนเห็นชอบจากประเทศอื่นได้ ดังนั้น การตัดสินใจเมื่อเร็วๆนี้ของจีนก็ไม่สามารถเสริมสร้างหลักฐานที่ไม่แน่นอนในคำประกาศอธิปไตยที่ไม่ถูกต้องของจีนในทะเลตะวันออกได้”

อันที่จริงแผนการดังกล่าวของจีนก็ไม่แตกต่างกับเป้าหมายครอบครองทะเลตะวันออกทั้งหมดที่จีนตั้งใจปฏิบัติและการเสนอยุทธศาสตร์ “ตื๊อซา” เป็นเพียงรูปแบบใหม่เพื่อใช้แทนยุทธศาสตร์ “เส้นประ 9 เส้น” ที่ได้ถูกศาลอนุญาโตตุลาการปฏิเสธเมื่อปี2016 “ยุทธศาสตร์ “ตื๊อซา” อาจเป็นก้าวเดินเพื่อมุ่งแสดงให้เห็นถึงแก่นแท้ของคำประกาศอธิปไตยของจีนเหนือทะเลตะวันออกให้เป็นรูปธรรมให้ชัดเจนกว่า “เส้นประ 9 เส้น” ที่อาศัยสิทธิทางประวัติศาสตร์ที่ไร้หลักฐาน อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง ลักษณะโครงสร้างทางกายภาพต่างๆและจีนไม่ใช่ประเทศหมู่เกาะได้ถือเป็นจุดอ่อนในข้อแก้ต่างของจีนในปัญหานี้

ปฏิบัติการที่ถูกประณามอย่างเข้มแข็ง

ปฏิบัติการของจีนได้สร้างความกังวลสงสัยและเดินสวนกับความพยายามของทุกประเทศทั้งภายในและนอกภูมิภาคต่อเป้าหมายของการควบคุมการพิพาท สร้างภูมิภาคให้มีความมั่นคง สันติภาพและเสถียรภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศหลายคนเผยว่า การที่จีนจัดตั้งฐานทัพบนแนวปะการังต่างๆแล้วประกาศจัดตั้งหน่วยบริหารราชการในเขตทะเลที่กว้างใหญ่มากกว่าพื้นที่ดินแดนของทุกประเทศอาเซียนนั้นถือเป็นการละเมิดกฎหมายสากล รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 และละเมิดอธิปไตยของทุกประเทศในทะเลตะวันออก รวมทั้งเวียดนาม รองศาสตรจารย์ ดอกเตอร์ เหงวียนห่งทาว รองประธานคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติได้เผยว่า “ปฏิบัติการดังกล่าวของจีนจะส่งผลกระทบในทางลบต่อความไว้วางใจระหว่างประเทศต่างๆในการเจรจาร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออก หรือ ซีโอซี มุ่งปฏิเสธคำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการเมื่อปี 2016 และจำกัดสิทธิการเดินเรืออย่างเสรีในทะเลตะวันออก และยังมีความเป็นไปได้ที่จีนจะปิดล้อมเพื่อกดดันให้ประเทศอื่นๆถอนตัวออกจากเกาะต่างๆแล้วจะแปรการประกาศกำหนดเขตราชการ

 ส่วนนาย Derek Grossman ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงของศูนย์นโยบายเอเชีย – แปซิฟิกสังกัดกลุ่มบริษัท RAND (Research And Development) ของสหรัฐแสดงความคิดเห็นว่า ประชามติต่างมองเห็นแผนการที่แอบแฝงของจีนในปฏิบัติการที่ “กลั่นแกล้ง” ประเทศเพื่อนบ้านในเวลาที่ผ่านมา ในขณะที่ดร. James Rogers ผู้อำนวยการของโครงการ “Global Britain” สังกัดสถาบัน Henry & Jackson ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษย้ำว่า ทุกประเทศต้องปฏิบัติตามกฎหมายสากลและบรรดาประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องระบบกฎหมายสากลควรประณามปฏิบัติการของจีนอย่างเข้มแข็งมากขึ้น พร้อมทั้งยืนยันว่า คำประกาศเหนืออธิปไตยและปฏิบัติการที่ก้าวร้าวของจีนในทะเลตะวันออกกำลังทำลายกฎหมายสากลและสร้างความไร้เสถียรภาพให้แก่ความมั่นคงของภูมิภาค  

การที่จีนประกาศจัดตั้ง “เขตซีซา” และ “เขตหนานซา” สังกัดสิ่งที่เรียกว่า “นครซานซา”คือการกระทำที่ละเมิดกฎหมายสากลและเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถยอมรับได้ในโลกของอารยธรรมปัจจุบัน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด