ประเทศต่างๆ ปฏิบัติมาตรการที่เคร่งครัดเพื่อธำรงอัตราการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

(VOVWORLD) - จากผลกระทบของการแพร่ระบาดที่ซับซ้อนของโรคโควิด-19 และความผันผวนทางการเมืองระหว่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับวิกฤตรัสเซีย - ยูเครน รัฐบาลของหลายประเทศทั่วโลกกำลังเร่งปฏิบัติมาตรการรับมือที่เข้มข้นโดยมีเป้าหมายหลักคือเสริมสร้างและธำรงอัตราฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เพิ่งเริ่มกระเตื้องขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้วและต้นปีนี้



ประเทศต่างๆ ปฏิบัติมาตรการที่เคร่งครัดเพื่อธำรงอัตราการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ - ảnh 1ประธานธนาคารกลางสหรัฐ Jerome Powell (THX)

ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ห่วงโซ่อุปทานสินค้าทั่วโลกกำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสาเหตุหลักสองประการ หนึ่งคือการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องของโรคโควิด-19 ในหลายประเทศ โดยที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ซับซ้อนในประเทศจีน ซึ่งมีส่วนร่วมในระบบการผลิตทั่วโลกถึง 1 ใน 4 สองคือการหยุดชะงักของเส้นทางการขนส่งสินค้าทางทะเลและทางอากาศหลายเส้นทางเนื่องจากสงครามในยูเครน ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันทั่วโลก ซึ่งทำให้ดัชนีทางเศรษฐกิจต่างๆมีความน่าเป็นห่วง เช่น ในการประเมินเมื่อวันที่ 15 มีนาคม กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟกล่าวว่า เศรษฐกิจโลกกำลังประสบกับ "ผลกระทบอย่างรุนแรง" ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตและทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งข้อเท็จจริงนี้ทำให้หลายประเทศต้องใช้มาตรการรับมือที่เข้มงวด   

การรับมือของเศรษฐกิจต่างๆ

หนึ่งในมาตรการที่โดดเด่นที่สุดเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจที่ประเทศต่างๆ ได้ปฏิบัติคือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน (ดอกเบี้ยอ้างอิง) ในสหรัฐซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเมื่อวันที่ 16 มีนาคม คณะกรรมการตลาดกลางแห่งสหพันธรัฐ (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง 25 จุด มาอยู่ที่ร้อยละ 0.25 – 0.5 นี่เป็นครั้งแรกที่ธนาคารกลางสหรัฐตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบกว่า 3 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อขัดขวางการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อโดยไม่ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจช้าลง การตัดสินใจมีขึ้นหลังจากราคาสินค้าในสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งเกินเป้าหมายในระยะยาวของ FED คือร้อยละ 2 เช่น ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ดัชนีราคาผู้บริโภคหรือ CPI ของสหรัฐ ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9

ในขณะเดียวกัน เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB ยังได้ประกาศว่า จะยุติโครงการซื้อพันธบัตรขนาดใหญ่เร็วกว่ากำหนด และพร้อมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปลายปีนี้ นี่ถือเป็นมาตรการที่ "หลีกเลี่ยงไม่ได้" และยุโรปจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อที่มาพร้อมกับความเสี่ยงจากภาวะถดถอย เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่า หลังจากมีการประกาศดังกล่าว ตลาดการเงินยุโรปได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง หุ้นสำคัญๆในตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงอย่างหนัก ส่วนในกลางสัปดาห์นี้ สหภาพยุโรปหรือ EU ก็ปฏิบัติก้าวเดินที่สำคัญอีกขั้น คือการอุดหนุนราคาน้ำมันสำหรับครัวเรือนและสนับสนุนสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นสูง โดยงบประมาณที่ใช้สำหรับความพยายามนี้คาดว่าจะอยู่ที่หลายแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

การใช้มาตรการที่เคร่งครัดและเข้มงวดเพื่อรับมือกับความท้าทายในปัจจุบันเพื่อธำรงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็เป็นหนึ่งในเนื้อหาหลักในการประชุมรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและรองผู้ว่าการธนาคารของฟอรั่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกหรือเอเปก 2022 ที่มีขึ้นในระหว่างวันที่ 16-17 มีนาคมในรูปแบบออนไลน์ สำหรับภูมิภาคอาเซียน นาย Gan Kim Yong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของสิงคโปร์กล่าวว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงที่จะแสวงหาวิธีการเพื่อผลักดันห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 28 ผ่านระบบออนไลน์โดยกัมพูชาเป็นประธาน รัฐมนตรี Gan Kim Yong ได้เสนอ 3 ประเด็นสำคัญที่ประเทศอาเซียนสามารถเน้นส่งเสริมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยย้ำถึงความสำคัญของการธำรงความสามัคคีและ “การผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่เปิดกว้างและอาศัยบนพื้นฐานหลักการ” ในสภาวการณ์ที่ประเทศสมาชิกต้องปรับตัวเพื่อรับมือความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น แรงกดดันด้านเงินเฟ้อและการชะงักทางเศรษฐกิจเนื่องมาจาก "ปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์" และโรคระบาด

ประเทศต่างๆ ปฏิบัติมาตรการที่เคร่งครัดเพื่อธำรงอัตราการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ - ảnh 2บรรดาผู้แทนเที่เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและรองผู้ว่าการธนาคารกลางส่วนกลางเอเปก (mof.gov.vn)

ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน

ด้วยมาตรการรับมือที่เข้มงวดของเศรษฐกิจต่างๆสามารถเห็นได้ว่า แต่ละประเทศตระหนักได้ดีถึงความสำคัญของการธำรงและส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังจากที่ถูกจำกัดหรือขัดขวางการดำเนินการเพื่อรับมือการป้องกันและควบคุมโรคระบาดเป็นเวลานาน โดยพื้นฐาน มาตรการรับมือได้รับการจัดทำขึ้นและนำไปใช้ โดยพิจารณาจากความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจภายใน การประเมินของแต่ละประเทศ ตลอดจนสถานการณ์ที่เป็นจริง ซึ่งเป็นก้าวเดินที่ได้รับการคำนวณอย่างรอบคอบ เป็นขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์และเร่งด่วน แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการใหม่ส่วนใหญ่เป็นเพียงมาตรการชั่วคราวเท่านั้น

ตามความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักวางนโยบายเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ สถานการณ์ที่ซับซ้อนบวกกับปัจจัยหลายอย่างที่อาจส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจแสดงให้เห็นว่า การสร้างและส่งเสริมการพัฒนา ที่ยั่งยืนนั้นมีความเร่งด่วนมากขึ้น นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของไทย ประธานการประชุมรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกาภารคลังและรองผู้ว่าการธนาคารกลางของเศรษฐกิจฟอรั่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกหรือเอเปก2022 ย้ำว่า ในภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ซับซ้อนในปัจจุบัน ความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของกระบวนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ มีบทบาทสำคัญในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้นสำหรับประชาชน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด