ประเทศต่างๆคัดค้านปฏิบัติการทางทหารในทะเลตะวันออกในการสนทนาแชงกรีล่า

(VOVworld)ในการ สนทนาแชงกรีล่าครั้งที่ 15 ที่มีขึ้นเป็นเวลา 3 วันตั้งแต่วันที่ 3-5 มิถุนายน สถานการณ์ในทะเลตะวันออกคือเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษโดยได้ ถูกกล่าวถึงในพิธีเปิดการประชุมและการหารือต่างๆ ประชาคมโลกได้คัดค้านการเสริมสร้างเกาะเทียมและการขยายปฏิบัติการทางทหารใน ทะเลตะวันออกอีกครั้ง พร้อมทั้งย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องธำรงเสรีภาพในการเดินเรือและการบิน ตลอดจนการแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออกผ่านมาตรการที่สันติและให้ความเคารพ กฎหมายสากล

(VOVworld)ในการสนทนาแชงกรีล่าครั้งที่ 15 ที่มีขึ้นเป็นเวลา 3 วันตั้งแต่วันที่ 3-5 มิถุนายน สถานการณ์ในทะเลตะวันออกคือเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษโดยได้ถูกกล่าวถึงในพิธีเปิดการประชุมและการหารือต่างๆ ประชาคมโลกได้คัดค้านการเสริมสร้างเกาะเทียมและการขยายปฏิบัติการทางทหารในทะเลตะวันออกอีกครั้ง พร้อมทั้งย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องธำรงเสรีภาพในการเดินเรือและการบิน ตลอดจนการแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออกผ่านมาตรการที่สันติและให้ความเคารพกฎหมายสากล

ประเทศต่างๆคัดค้านปฏิบัติการทางทหารในทะเลตะวันออกในการสนทนาแชงกรีล่า - ảnh 1
รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่นกล่าวปราศรัยในการประชุม

การสนทนาแชงกรีล่าครั้งที่ 15 ซึ่งจัดโดยสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศหรือไอไอเอสเอสที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอนได้เปิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนโดยมีผู้แทนนับร้อยคนซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีกลาโหม เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงระดับสูงและผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศเข้าร่วม
คัดค้านคำเรียกร้องอธิปไตยที่ไร้มูลความจริงของจีนในทะเลตะวันออก
ไม่มีเนื้อหาใดที่ได้รับการหารือและแสดงความคิดเห็นอย่างเข้มข้นในการสนทนาแชงกรีล่าเหมือนปัญหาทะเลตะวันออก และประเด็นนี้ก็ได้รับความสนใจมากขึ้นในฟอรั่มปีนี้หลังจากจีนเดินหน้าปรับปรุงและก่อสร้างเกาะเทียมอย่างผิดกฎหมาย โดยภายใน 1 ปี จีนได้ขยายการลาดตระเวนทางทะเลและก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างทางทหารหลายแห่งบนหาดสินดอนต่างๆในทะเลตะวันออก ซึ่งในการสนทนา รัฐมนตรีกลาโหมของหลายประเทศ รวมทั้งสหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส แคนาดาและอินเดียได้เรียกร้องให้จีนให้ความเคารพกฎหมายสากลและสนับสนุนการเดินเรือและการบินอย่างเสรีในทะเลตะวันออกที่มีเส้นทางขนส่งทางทะเลสำคัญของโลก
ในบทสุนทรพจน์เปิดการสนทนา นายกรัฐมนตรีไทย ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ถือปัญหาการพิพาทในทะเลตะวันออกเป็นปัญหาอันดับแรกใน 7 ความวิกตกกังวลด้านความมั่นคงในเอเชียแปซิฟิก โดยแสดงความเห็นว่า ภูมิภาคและโลกกำลังอยู่ในสภาวการณ์ที่ขาดความสมดุลด้านความมั่นคง ซึ่งเพื่อสามารถปฏิบัติสิ่งนี้ได้ ทุกฝ่ายต้องสร้างความไว้วางใจระหว่างกัน ให้ความเคารพกันและร่วมกันใช้ผลประโยชน์ สำหรับปัญหาทะเลตะวันออก นายกรัฐมนตรีไทยได้แสดงความเห็นว่า ประเทศต่างๆที่กำลังเกิดการพิพาทควรประกาศอธิปไตยตามแนวทางถือผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก แทนการให้ความสำคัญต่อผลประโยชน์ของประชาชาติเพียงอย่างเดียว ในขณะเดียวกัน ในการประชุมนัดแรกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายนภายใต้หัวข้อ “แก้ไขความท้าทายด้านความมั่นคงที่ซับซ้อนในเอเชีย” โดยรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐก็ได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับปฏิบัติการของจีนในทะเลตะวันออกโดยยืนยันว่า จีนกำลังขยายการเคลื่อนไหวในทะเลตะวันออกอย่างไม่เคยมีมาก่อนซึ่งสร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับแผนการเชิงยุทธศาสตร์ของจีนซึ่งปฏิบัติการนี้ได้สร้างความกังวลต่อประเทศที่เกี่ยวข้องและทำให้จีนถูกโดดเดี่ยว รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐได้แสดงความเห็นว่า ความตึงเครียดในทะเลตะวันออกคือทั้งความท้าทายและโอกาสเพื่อให้จีนและประเทศต่างๆในภูมิภาคร่วมจัดทำกลไกเพื่อป้องกันการปะทะ

ประเทศต่างๆคัดค้านปฏิบัติการทางทหารในทะเลตะวันออกในการสนทนาแชงกรีล่า - ảnh 2
นายกรัฐมนตรีไทย ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เรียกร้องให้ประเทศที่มีการพิพาทดินแดนในทะเลตะวันออกควรร่วมมือแทนการเผชิญหน้า

ในการกล่าวปราศรัยในการประชุมครบองค์นัดที่ 2 ของการสทนาแชงกรีล่าเมื่อเช้าวันที่ 4 มิถุนายนภายใต้หัวข้อ “การบริหารการแข่งขันทางทหารในเอเชีย” รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น เกน นากาตานี ได้แสดงความเห็นว่า ปฏิบัติการของจีนกำลังสร้างความท้าทายต่อสภาพเดิมของภูมิภาคและความเป็นระเบียบของโลก พร้อมทั้งยืนยันว่า ทุกประเทศล้วนมีความรับผิดชอบต่อปัญหาทะเลตะวันออกเพราะปัญหานี้เกี่ยวข้องถึงความปลอดภัยและเสรีภาพในการเดินเรือในภูมิภาคที่มีความหมายสำคัญต่อการค้าของโลก  และยิ่งเป็นประเทศมหาอำนาจก็ต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นในทุกปฏิบัติการ ไม่มีประเทศใดมีสิทธิ์ใช้ความรุนแรงเพื่อปฏิบัติคำเรียกร้องอธิปไตยที่ไร้มูลความจริงของตนในทางเป็นจริง ในการประชุมนี้ รัฐมนตรีกลาโหมอินเดีย มาโนฮาร์  พาร์ริการ์ ได้ยืนยันว่า ความตึงเครียดในทะเลตะวันออกจะยังคงสร้างความวิกตกกังวลต่อไป อินเดียให้ความสำคัญต่อเสรีภาพในการเดินเรือและการบินที่สอดคล้องกับกฎหมายสากล โดยเฉพาะอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลของสหประชาชาติ
ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามกฎหมายสากล ร่วมมือแทนการเผชิญหน้า
ในการประชุมที่มีผู้แทนนับร้อยคนจากอาเซียน เอเชีย ยุโรป จีนและสหรัฐ นายกรัฐมนตรีไทย ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เรียกร้องให้ประเทศที่มีการพิพาทดินแดนในทะเลตะวันออกควรร่วมมือแทนการเผชิญหน้า ไทยสนับสนุนมาตรการสันติแทนการปล่อยให้เกิดการพิพาท ปฏิบัติตามกฎหมายสากล รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 พร้อมทั้งแสดงความเห็นว่า อาเซียนต้องสามัคคีและให้ความสำคัญต่อบทบาทของกฎหมายสากลในการแก้ไขปัญหาทะเลตะวันออก ไทยเชื่อมั่นว่า การปฏิบัติตามแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพจะเอื้อให้แก่แก้ไขปัญหาและสนับสนุนการเสร็จสิ้นการเจรจาเพื่อจัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีโดยเร็ว ประเทศที่มีการพิพาทด้านอธิปไตยต้องใช้ทุกโอกาสและทุกเวทีเพื่อแสดงความมุ่งมั่นทางการเมืองในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น เกน นากาตานีได้เรียกร้องให้ประเทศต่างๆปฏิบัติตามดีโอซี ให้ความเคารพการเดินเรืออย่างเสรีและแก้ไขข้อพิพาทผ่านมาตรการที่สันติและปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกัน รัฐมนตรีกลาโหมฝรั่งเศส ฌอง-อีฟ เลอ ดริออง ได้ยืนยันถึงผลการบังคับใช้อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 ที่ประกาศใช้ในประเทศต่างๆ พร้อมทั้งย้ำว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขข้อพิพาทในทะเลตะวันออกคือต้องจัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซี
การสนทนาแชงกรีล่าครั้งที่ 15 ได้เสร็จสิ้นลง โดยปัญหาทะเลตะวันออกยังเป็นเนื้อหาหลักที่ถูกหารือในฟอรั่มความมั่นคงสำคัญนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจเป็นพิเศษของประชาคมโลก แนวคิดร่วมมือหรือการต่อสู้ที่ต้องยึดโยงกับเจตนารมณ์ของความเสมอภาคและให้ความเคารพหลักการของกฎหมายสากลได้รับความสนใจอีกครั้ง นี่จะเป็นพื้นฐานเพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแก้ไขข้อพิพาท ความขัดแย้ง ลดความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะ แสวงหามาตรการแก้ไขให้สอดคล้องกับกฎหมายสากลและปฏิบัติการระหว่างประเทศเพื่อมีส่วนร่วมรักษาเสถียรภาพในภูมิภาคและโลก.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด