ประเทศต่างๆแสวงหามาตรการฟันฝ่าวิกฤตด้านสาธารณสุขระดับโลก

(VOVWORLD) - การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้ทำให้หลายประเทศตกเข้าสู่วิกฤตร้ายแรงด้านสาธารณสุข  โดยเฉพาะในประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา จนทำให้ทั่วโลกต้องร่วมมือกันเพื่อหาทางแก้ไขและลดความสูญเสียด้านชีวิต
ประเทศต่างๆแสวงหามาตรการฟันฝ่าวิกฤตด้านสาธารณสุขระดับโลก - ảnh 1สถานการณ์ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลในอินเดีย (AFP)
ตามการคาดการณ์ ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ประมาณ  12,000 รายต่อวันและจนถึงขณะนี้ จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิดในโลกอยู่ที่กว่า 3.4 ล้านรายซึ่งเท่ากับจำนวนประชากรในเมืองใหญ่ ๆ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเสียชีวิตประมาณ 7,000 ราย ในขณะที่รายงานสถิติขององค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือ ILO ที่ประกาศเมื่อปลายเดือนเมษายนปี 2021 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและสังคมสงเคราะห์ 136 ล้านคนมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในขณะปฏิบัติหน้าที่

เพิ่มแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุข

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในตลอดกว่า 1 ปีที่ผ่านมาได้ทำให้ระบบสาธารณสุขของหลายประเทศรองรับไม่ไหวจนตกเข้าสู่ภาวะผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลระดับรุนแรง ถึงแม้ทั่วโลกกำลังเดินหน้ากระบวนการฉีดวัคซีน แต่ระดับการเข้าถึงและความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน แม้กระทั่งประเทศร่ำรวยก็ตกเข้าสู่วิกฤตด้านสาธารณสุข

ที่อินเดีย สถานการณ์ที่ผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ต้องใช้เตียงร่วมกันและโรงพยาบาลหลายแห่งปฏิเสธรับผู้ป่วยเนื่องจากไม่มีเตียงหรือขาดแคลนเครื่องช่วยหายใจได้กลายเป็นเรื่องปกติ โครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์ที่อ่อนแอบวกกับจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหันได้ทำให้หน่วยงานสาธารณสุขของอินเดียไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ ส่วนที่บราซิลซึ่งเป็น 1 ใน 3 ประเทศของโลกที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากที่สุด ระบบสาธารณสุขของประเทศนี้ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาด โดยหลายสิบรัฐได้เกิดสถานการณ์ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลจนทำให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ต้องปรับใช้เตียงธรรมดาให้เป็นเตียงพิเศษเพื่อดูแลผู้ป่วยอาการหนัก ในโรงพยาบาลหลายแห่ง ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาในสภาพที่ไม่มียาชาใช้สำหรับใส่ท่อช่วยหายใจ เลขาธิการด้านสาธารณสุขแห่งชาติได้เผยว่า 1 ใน 5 ของเมืองต่างๆทั่วประเทศมีความเสี่ยงที่จะขาดแคลนออกซิเจน แพทย์หลายนายเผยว่า พวกเขาไม่เคยทำงานในสภาพที่ย่ำแย่เช่นนี้

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่เพียงแต่ในอินเดียและบราซิลเท่านั้น หากโรงพยาบาลในหลายประเทศก็ประสบอุปสรรคเช่นกันเนื่องจากปริมาณออกซิเจนสำรองไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วย การขาดแคลนออกซิเจนทางการแพทย์ในหลายประเทศถือเป็นคำเตือนเกี่ยวกับความสำคัญของการจัดสรรค์ออกซิเจนให้เพียงพอเพื่อใช้รักษาผู้ติดเชื้อ

 นอกจากนี้ สิ่งที่น่าวิตกกังวลมากที่สุดจากความกดดันและความเสี่ยงที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องเผชิญจากการแพร่ระบาดก็คือสภาพจิตใจในการทำงาน ซึ่งจากรายงานสถิติพบว่า 1 ใน 5 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วโลกมีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล

ประเทศต่างๆแสวงหามาตรการฟันฝ่าวิกฤตด้านสาธารณสุขระดับโลก - ảnh 2ที่โคลัมโบ ประเทศศรีลังกา (AFP)

ความพยายามร่วมมือเพื่อฟันฝ่าวิกฤต

แต่อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางวิกฤต โลกยังคงมองเห็นสัญญาณในเชิงบวกเมื่อประเทศชั้นนำหลายประเทศพร้อมที่จะแบ่งปันและสนับสนุนกันเพื่อฟันฝ่าวิกฤต โดยหลายสิบประเทศได้เร่งสนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์เพื่อช่วยอินเดียฟันฝ่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เครื่องผลิตออกซิเจนหลายร้อยเครื่อง หน้ากากช่วยหายใจและออกซิเจนเหลวจำนวนมากได้รับการส่งไปช่วยเหลืออินเดียเพื่อคลี่คลายวิกฤตในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา

นอกจากนี้ องค์การการค้าโลกหรือ WTO กำลังหารือเกี่ยวกับการยกเว้นสิทธิบัตรสำหรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพื่อส่งเสริมการจัดสรรวัคซีนให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา เมื่อเร็วๆนี้ เยอรมนีได้มีข้อคิดริเริ่มเปิดตัวศูนย์ระดับโลกแห่งใหม่โดยมีสำนักงานภาครัฐ องค์การและภาคเอกชนเข้าร่วมเพื่อใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลทั่วโลกเพื่อสนับสนุนการพยากรณ์และรับมือความเสี่ยงจากโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้น

ควบคู่กันนั้น บรรดานักวิทยาศาสตร์ในทั่วโลกก็กำลังหาทางเพื่อสร้างความหวังให้กับมนุษยชาติในการยับยั้งการแพร่ระบาด โดยเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม กลุ่มบริษัท Sanofi ของฝรั่งเศสและบริษัท GSK ของอังกฤษได้ประกาศว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่กำลังร่วมกันพัฒนาสามารถสร้างภูมิคุ้มกันในการทดลองครั้งแรก  เมื่อเร็วๆนี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์นานาชาติจากสถาบันสาธารณสุข Menzies ของมหาวิทยาลัย Griffith ประเทศออสเตรเลียได้เปิดเผยแนวทางการรักษาใหม่ที่สามารถทำการฆ่าเชื้อในปอดของผู้ป่วยได้ถึงร้อยละ 99.9 และอาจกลายเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการรักษาโรคโควิด-19

จนถึงขณะนี้ ความยากลำบากและความท้าทายยังรออยู่ข้างหน้า การต่อสู้กับโควิด-19 จะยังคงมีความยากลำบากและความท้าทายมากมายซึ่งต้องมีความร่วมมือของทุกประเทศ และมีแต่ความสามัคคี ความร่วมมือและการแบ่งปันเท่านั้นที่จะช่วยให้โลกสามารถฟันฝ่าวิกฤตนี้ไปได้.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด