ประเทศรัสเซียบนเส้นทางใหม่

(VOVWORLD) - ด้วยเสียงสนับสนุนกว่าร้อยละ 76 นาย วลาดีเมียร์ ปูติน ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซียเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนและความไว้วางใจของประชาชนรัสเซีย แต่ถึงอย่างไรก็ดี หน้าที่การนำประเทศรัสเซียในสมัยต่อไปของนาย วลาดีเมียร์ ปูติน ยังเต็มไปด้วยอุปสรรคท่ามกลางบรรยากาศที่นาย ปูติน ได้ประเมินว่า “มีอิทธิพลที่ต่อต้านรัสเซียจากหลายด้าน”
ประเทศรัสเซียบนเส้นทางใหม่ - ảnh 1นาย วลาดีเมียร์ ปูติน ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นอีกครั้งโดยได้รับเสียงสนับสนุนกว่าร้อยละ 76 (Variety) 

นาย วลาดีเมียร์ ปูติน ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นอีกครั้งโดยได้รับเสียงสนับสนุนกว่าร้อยละ 76 นี่คือผลงานสูงสุดในการชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีรัสเซียของนาย ปูติน ซึ่งการได้รับเสียงสนับสนุนในระดับสูงก็หมายความว่า ชาวรัสเซียมีความไว้วางใจในตัวนาย ปูตินที่จะนำประเทศรัสเซียฟันฝ่าความท้าทายด้านเศรษฐกิจและการต่างประเทศในเวลาที่จะถึง

รัสเซียภายหลัง 3 สมัยที่นาย วลาดีเมียร์ ปูติน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

นับตั้งแต่สมัยที่นาย วลาดีเมียร์ ปูตินได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีรัสเซียเมื่อปี 2000 จนถึงปัจจุบัน รัสเซียได้เสริมสร้างสถานะจนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจอย่างน่าประทับใจ นำความภาคภูมิใจมาสู่ประชาชนรัสเซียและธำรงความไว้วางใจของพวกเขา  นาย วลาดีเมียร์ ปูติน ได้ผนวกแหลมไครเมียร์เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซียเมื่อปี 2014 นำพารัสเซียฟันฝ่าอุปสรรคด้านการทูตจากมาตรการคว่ำบาตรของฝ่ายตะวันตก และปฏิบัติยุทธศาสตร์กวาดล้างกลุ่มผู้ก่อการร้ายในซีเรีย ซึ่งช่วยยกระดับสถานะ ความแข็งแกร่งด้านการทหารของรัสเซีย ฟื้นฟูอิทธิพลที่เข้มแข็งในภูมิภาคที่มีสถานะทางภูมิศาสตร์เชิงยุทธศาสตร์ เช่นตะวันออกกลางและเอเชียกลาง เป็นต้น

ในสมัยของนาย วลาดีเมียร์ ปูติน ประเทศรัสเซียได้กลับมาเล่นเกมส์ภูมิศาสตร์การเมือง และพัฒนาเศรษฐกิจ 2 ระดับที่มีการผสานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ซึ่งช่วยให้รัสเซียสามารถรับมือกับวิกฤตการเงินเมื่อปี 2008 และมาตรการคว่ำบาตรด้านเศรษฐกิจจากฝ่ายตะวันตก จีดีพีของรัสเซียได้เพิ่มขึ้น 2 เท่าในรอบ 10 ปี เงินเดือน เงินบำนาญและโครงสร้างพื้นฐานได้พัฒนาอย่างเข้มแข็ง

ประเทศรัสเซียบนเส้นทางใหม่ - ảnh 2นาย วลาดีเมียร์ ปูติน เยือนสถาบันเขีปนาวุธชิงยุทธศาสตร์ (RIA Novosti)

ความท้าทายยังมีอีกมาก

ถึงแม้บรรลุผลงานที่น่าประทับใจ แต่ประเทศรัสเซียยังคงต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆในด้านเศรษฐกิจและสังคมที่สะสมมานาน เศรษฐกิจมีการขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อปี 2017 หลังจากลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อปี 2016 ถึงกระนั้น การขยายตัวนี้ยังต่ำกว่าการขยายตัวเฉลี่ยของโลกคือร้อยละ 3 รัสเซียยังคงพึ่งพาการขายน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก นอกจากนี้ ชาวรัสเซียเกือบ 20 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมดกำลังมีฐานะต่ำกว่าระดับยากจน ในการแถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภารัสเซียเมื่อต้นเดือนมีนาคม ประธานาธิบดี วลาดีเมียร์ ปูติน ได้ยืนยันว่า ความร่ำรวยของประชาชนและรายได้ที่เหมาะสมของครอบครัวในรัสเซียก็คือปัจจัยพัฒนาหลัก  นี่คือจุดที่ประเทศรัสเซียต้องสร้างก้าวกระโดดชี้ขาด

เรื่องคอรัปชั่นก็เป็นอีกปัญหาที่รัฐบาลของประธานาธิบดี วลาดีเมียร์ ปูตินต้องมีมาตรการแก้ไขอย่างเด็ดขาด เนื่องจากองค์การความโปร่งใสนานาชาติได้ระบุรัสเซียอยู่ในบัญชีรายชื่อ 45 ประเทศที่มีดัชนีการคอรัปชั่นสูงที่สุด

ในขณะเดียวกัน ประเทศรัสเซียยังไม่มีบรรยากาศการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน โดยในช่วงที่เป็นประธานาธิบดี 2 สมัยแรก เศรษฐกิจรัสเซียมีการขยายตัวเนื่องจากอ้างอิงกับราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง แต่เมื่อราคาพลังงานตก เศรษฐกิจรัสเซียก็ตกอยู่ภาวะซบเซา ดังนั้นการสร้างความหลากหลายของเศรษฐกิจและลงทุนให้แก่เศรษฐกิจโดยอาศัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยเฉพาะ “เทคโนโลยีอัจฉริยะและการประดิษฐ์คิดค้น” คือแนวทางที่ประธานาธิบดี ปูติน ได้ระบุในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา โดยเรียกร้องให้สร้างบรรยากาศที่มีความคิดสร้างสรรค์ในทุกด้านให้แก่ประชาชน มิฉะนั้นรัสเซียจะ “สูญเสียโอกาสในอนาคต”

นอกจากนั้น แรงกดดันจากประชาคมโลกก็คือหนึ่งในปัญหาสำคัญที่นาย ปูติน ต้องเน้นแก้ไข ในสมัยที่ 4 ที่มีขึ้นในสภาวการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหรัฐ และประเทศต่างๆในยุโรปมีความตึงเครียดอย่างต่อเนื่อง รวมถึงช่วงก่อนการเลือกตั้งที่เกิดเหตุอดีตสายลับชาวรัสเซียถูกวางยาพิษในอังกฤษ ก่อนหน้านั้น ในสมัยที่ 3 ประธานาธิบดี วลาดีเมียร์ ปูติน ก็ต้องนำพารัสเซียฟันฝ่าการถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการผนวกแหลมไครเมียเป็นดินแดนของรัสเซีย การที่รัสเซียแทรกแซงการปะทะในซีเรียได้นำไปสู่การเกิดสงครามที่รัสเซีย-สหรัฐเป็นตัวแทนในสมรภูมิซีเรีย นอกจากนั้น ข้อสงสัยที่ว่ารัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อปี 2016 ก็ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างวอชิงตันกับมอสโคว์ตกเข้าสู่ระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามเย็น

รัสเซียก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงผ่านการสร้างสรรค์กองทัพที่ทันสมัย ผลักดันความสามารถในการป้องกันตนเองด้วยอาวุธที่ทันสมัย

ในสมัยที่ 4 ตั้งแต่ปี 2018-2024 นาย ปูตินจะเป็นผู้นำในการปฏิบัติสิ่งที่ได้กำหนดไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ด้วย 12 หน้าที่หลักเพื่อนำประเทศก้าวรุดหน้าไปบนเส้นทางการพัฒนาอย่างมั่นคง และผลงานในเวลาที่จะถึงคือคำตอบที่ถูกต้องที่สุดให้แก่การเลือกเฟ้นผู้นำประเทศของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งรัสเซียในวันนี้.  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด