ประเทศหุ้นส่วนที่บรรดานักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจก่อนในภาคพื้นเอเซีย
ตามข้อมูลการวิจัยและสำรวจขององค์การวิจัยการเงินและเศรษฐกิจระหว่าง
ประเทศหลายองค์การ
ในปี2012นี้อาเซียนยังคงเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วที่สุดหลัง
วิกฤตและคาดว่ามี6ประเทศคือ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย
สิงคโปร์และฟิลิปปีนส์จะมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ6ในอีก5ปีข้างหน้า
ส่วนเวียดนามนั้นถือเป็นหุ้นส่วนที่ควรให้ความสนใจก่อนในนโยบายต่างประเทศ
ปี2012ของหลายประเทศ.
ตามข้อมูลการวิจัยและสำรวจขององค์การวิจัยการเงินและเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศหลายองค์การ ในปี2012นี้อาเซียนยังคงเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วที่สุดหลัง วิกฤตและคาดว่ามี6ประเทศคือ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย สิงคโปร์และฟิลิปปีนส์จะมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ6ในอีก5ปีข้างหน้า ส่วนเวียดนามนั้นถือเป็นหุ้นส่วนที่ควรให้ความสนใจก่อนในนโยบายต่างประเทศ ปี2012ของหลายประเทศ.
จากรายงาน อันดับความน่าเชื่อถือด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ เอฟดีไอโลกปี2012ที่บริษัทที่ปรึกษาการบริหารนานาชาติ A.T. Kearney ประกาศเมื่อเร็วๆนี้นั้นปรากฎว่า ประเทศต่างๆในเอเซียซึ่งรวมทั้งภูมิภาคอาเซียนจะเป็นเป้าหมายลงทุนที่น่า สนใจที่สุดในปีนี้ ปัจจุบันถึงแม้อัตราการขยายตัวจะมีการชลอตัวช้าลงบ้าง แต่เวียดนามยังคงได้รับการประเมินว่าเป็นประเทศที่มีบรรยากาศการลงทุนที่ สะดวกเนื่องจากการเมืองมีเสถียรภาพ มีแหล่งแรงงานรุ่นใหม่จำนวนมากและค่าแรงต่ำ อีกทั้งมีศักยาภาพเพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างมีประสิทธิผล ส่วนตามข้อมูลขององค์การส่งเสริมการค้าญี่ปุ่นหรือ เจโตร นั้นจำนวนโครงการลงทุนของญี่ปุ่นในเวียดนามปี2011เพิ่มขึ้นร้อยละ82เมื่อ เทียบกับปี2010และคาดว่า
ในปีนี้ญี่ปุ่นยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ในเวียดนาม นาย โมโตโนริ ซูโน หัวหน้าสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นประจำเวียดนามหรือไจกา ได้ยืนยันว่า ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียง ใต้ เวียดนามเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญของญี่ปุ่นบนพื้นฐานความสัมพันธ์หุ้นส่วน ยุทธศาสตร์ โดยการพัฒนาของภูมิภาคนี้ก็จะมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาของญี่ปุ่นและเสถียรภาพ ของทั้งภูมิภาคและการพัฒนาของเวียดนามก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง.
ประเทศ อินเดีย ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่เศรษฐกิจที่เพิ่งโดดเด่นและกำลังพัฒนาอย่างเข้มแข็งนั้น ก็ให้ความสำคัญต่อเวียดนามในนโยบายด้านการต่างประเทศของตนโดยในช่วงหลายปีมา นี้ ความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เวียดนาม-อินเดียได้รับการเสริมสร้างและ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง มูลค่าการค้าต่างตอบแทนเพิ่มขึ้นทุกปีโดยในปี2011คิดเป็น 3.5พันล้านเหรียญสหรัฐและอินเดียได้กลายเป็น1ใน10หุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ของ เวียดนาม ปี2012เวียดนามและอินเดียได้รำลึกครบรอบ40ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต และ5ปีแห่งความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ คาดว่าในเดือนมกราคมนี้ จะมีการเปิดบริการเที่ยวบินตรงเวียดนาม-อินเดียเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ การแลกเปลี่ยนด้านการค้าระหว่างสองประเทศ ซึ่งนาย กรีซมา รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอินเดียได้เผยว่า ปี2012เป็นช่วงเวลาที่สำคัญเพื่อยกระดับความสัมพันธ์มิตรภาพเวียดนาม -อินเดียให้ขึ้นสู่ขั้นสูงใหม่ อินเดียให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความสัมพันธ์กับเวียดนาม โดยอยากขยายและยกระดับเนื้อหาความร่วมมือหุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับเวียดามผ่าน โครงการร่วมมือที่เป็นรูปธรรมต่างๆ การที่อินเดียได้รับรองเศรษฐกิจเชิงตลาดของเวียดนามก็เป็นการสะท้อนให้เห็น ถึงการยอมรับเวียดนามเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญของอินเดียและของโลก คาดว่ายอดมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศจะบรรลุ6-7พันล้านเหรียญสหรัฐใน ปี2015 ปัจจุบันมีสถานประกอบการอินเดียจำนวนมากได้ลงทุนในเวียดนามโดยเน้นในด้านการ ผลิตเหล็กกล้า กาแฟ ยางพารา การผลิตปุ๋ย เป็นต้น.
สำหรับฝ่ายรัสเซียซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เก่าแก่ของเวียดนามนั้น การส่งเสริมความสัมพันธ์กับเวียดนามยังคงเป็นแนวทางด้านการต่างประเทศที่รัส เซียให้ความสนใจในนโยบายที่มีต่อเอเซียและอาเซียน ซึ่งในการพบปะกับสื่อมวลชนในโอกาสปีใหม่ เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำเวียดนาม อับเดร กอฟตุน ได้กล่าวย้ำว่า รัสเซียปรารถนาที่จะกระชับความสัมพันธ์มิตรภาพและความร่วมมือในหลายด้านกับ เวียดนาม โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนต่อไป โดยการที่รัสเซียเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความเป็นไปได้ที่จะมีการ ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างรัสเซีย เบลารุส คาซักสถานและเวียดนามจะช่วยเอื้ออำนวยให้แก่การเพิ่มมูลค่าการค้าต่างตอบแทน ระหว่างสองประเทศในอนาคต รัสเซียและเวียดนามได้ลงนามข้อตกลงร่วมมือหลายฉบับและในปี2012ก็ จะปฏิบัติข้อตกลงต่างๆนั้นต่อไป ในสองปีที่ผ่านมาพวกเราได้ปฏิบัติโครงการร่วมมือเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าพลัง นิวเคลียร์แห่งแรกในเวียดามจนประสบความสำเร็จและเราจะผลักดันการขยายผล เบื้องต้นนี้ นอกจากนั้นจะทำการหารือในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการค้าเสรีดังกล่าว.
ขณะนี้ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกกำลังมีแนวโน้มย้ายจากตะวันตกมายังตะวันออก บวกกับการผลักดันกระบวนการสร้างประชาคมเศรษฐกิจในเอเซียผ่านระเบียบความร่วม มือของอาเซียน+3คือจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีตลอดจนการลงนามข้อตกลงด้านการลงทุนภายในกลุ่มและ ในภูมิภาคได้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงแนวโน้มการเพิ่มการลงทุนระหว่างกันจะมีการ ขยายตัวยิ่งขึ้น ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีงามกับหลายประเทศและหุ้นส่วนใหญ่ๆถือเป็น เงื่อนไขที่สะดวกเพื่อให้เวียดนามสามารถใช้โอกาสต่างๆให้เป็นประโยชน์เพื่อ การพัฒนาประเทศให้เจริญยิ่งขึ้น./.
Huyen –VOV5